ค้นหาบทความในเว็บ

วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2558

กศน.อำเภอบางสะพานจัดโครงการพัฒนาคู่มือ กศน.อำเภอบางสะพาน

เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2558 ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางสะพาน ได้จัด โครงการพัฒนาบุคลากรในการจัดทำคู่มือการทำงาน กศน.อำเภอบางสะพาน โดยมี นางศรีสง่า โภคสมบัติ ผู้อำนวยการ ให้เกียรติกล่าวให้โอวาท มี นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ครูผู้ช่วยกศน.อำเภอบางสะพาน นางสาวสุนิสา อิสโร ครูผู้ช่วยโรงเรียนวัดพะงุ้น นางสาวภัณฑิลา อยู่เครือ ครูกศน.ตำบลร่อนทอง

กิจกรรมการอบรม
การสอนโปรแกรม Excel เพื่อนำมาใช้ในงาน กศน
เช่น การทำ กศน.4 , การหาค่าร้อยละ

ข้อเสนอแนะ  ให้บุคลากรการนำงานที่ปฏิบัติในสำนักงาน งานในหน้าที่ประจำ เช่น แผนการสอน บันทึกหลังการสอน แผน-ผล การปฏิบัติงาน ประจำสัปดาห์ มารวบรวมไว้ในระบบออนไลน์ เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลของ กศน.ตำบล กศน.อำเภอ และ กศน.จังหวัดเข้าไว้ด้วยกัน สามารถนำข้อมูลมาใช้ได้สะดวก

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

1.โครงการพัฒนาบุคลากรในการจัดทำคู่มือการทำงาน กศน.อำเภอบางสะพาน  <<< สามารถคลิก
2.หนังสือเชิญวิทยากร
3.บันทึกข้อตกลง
4.ประกาศนียบัตร/เกียรติบัตร






วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2558

โครงการพัฒนาบุคลากรในการจัดทำคู่มือการทำงาน กศน.อำเภอบางสะพาน

โครงการพัฒนาบุคลากรในการจัดทำคู่มือการทำงาน กศน.อำเภอบางสะพาน

หลักการและเหตุผล

          การใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ในยุคปัจจุบันมีความสำคัญต่อทุกองค์การหรือทุกหน่วยงานเป็นอย่างยิ่ง เพราะสามารถทำให้การจัดการ จัดเก็บข้อมูลเป็นระบบยิ่งขึ้น  และสามารถนำข้อมูลไปได้อย่างสะดวกรวดเร็ด ลดเวลา ลดภาระ ลดการทำงานซ้ำซ้อนอันเกิดขึ้นจากระบบการจัดเก็บที่ไม่มีประสิทธิภาพ
          กศน.อำเภอบางสะพาน เห็นความสำคัญในปัญหาและวิธีคิดดังกล่าวจึงได้จัดโครงการนี้ขึ้น เพื่อสอดรับกับการประเมินคุณภาพสถานศึกษาจากภายนอกรอบสี่ โดย สมศ. โดยจัดพัฒนาบุคลากร กศน.ในหน่วยงาน ให้มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงาน กศน. และสามารถจัดทำคู่มือการทำงานของ กศน.ขึ้นมาได้ต่อไป

วัตถุประสงค์
     - เพื่อปรับปรุง กศน.4 ในส่วนที่เพิ่มภาระให้สามารถ ลดเวลา ลดการซ้ำซ้อนของข้อมูล
     - เพื่อทำความเข้าใจและเรียนรู้เครื่องมือ Excel งานทะเบียนในส่วนที่เป็นข้อมูลนักศึกษาที่จบไปแล้ว ให้บุคลากรทุกคนโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่สามารถค้นหาประวัติ ใบระเบียนแสดงผลการเรียนได้ง่าย สะดวกรวดเร็ว ลดเวลา เพิ่มประสิทธิภาพ
     - เพื่อทำความเข้าใจเครื่องมือและตัวเก็บข้อมูลตัวชี้วัดต่าง ๆ ในการประกันคุณภาพสถานศึกษาภายนอกรอบสี่ ที่จะนำการประเมินออนไลน์มาใช้
     - เพื่อจัดทำคู่มือการทำงาน กศน.อำเภอบางสะพาน ในทุกด้าน

เป้าหมาย
     เชิงปริมาณ
          บุคลากร กศน.อำเภอบางสะพาน

     เชิงคุณภาพ
          บุคลากร กศน.อำเภอบางสะพาน มีความรู้ ความเข้าใจ เพื่อจัดทำคู่มือการทำงาน กศน.อำเภอบางสะพาน ในทุกด้าน ได้

กิจกรรมหลัก
     - การใช้ Excel เพื่อกรอกข้อมูลนักศึกษาที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ (ระบบติดตามผู้เรียน)
     - เพื่อกรอกข้อมูลผู้เรียนที่จบไปแล้ว เพื่อความสะดวกให้การค้นหาเมื่อมีผู้มาติดต่อ
     - ฯลฯ
     - ชี้แจงและปฏิบัติการการประกันในตัวบ่งชี้ที่ 1.1 - 1.4
     - ชี้แจ'การสร้างร่องรอยตัวบ่งชี้ที่ 1.1 - 14
     - ชี้แจงการใช้คู่มือนักศึกษา กศน.อำเภอบางสะพาน
     - ชี้แจงเรื่องการใช้คู่มือการทำ กพช.สำหรับนักศึกษา
     - ชี้แจงเรื่องการนำข้อมูลนักศึกษาที่จบแล้วมาใส่ในโปรแกรม
     - ชี้แจงเรื่องการปรับเปลี่ยนเกณฑ์คะแนนประเมินคุณธรรม 
     - ชี้แจงเรื่องการเปลี่ยนแปลง รตรย.ในส่วนเวลาเรียนและประเมินคุณธรรม
     - ชี้แจงเขียนวิธีการดำเนินงานในงานที่รับผิดชอบ

งบประมาณ
     -

ผู้รับผิดชอบโครงการ
     นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล

เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
     นางสาวสุนิสา  อิสโร ครูผู้ช่วยโรงเรียนวัดพะงุ้น

โครงการที่เกี่ยวข้อง
     - โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อยกระดับการศึกษาด้วยกระบวนการเรียนรู้ด้านงานวิจัยสู่การประกันคุณภาพ 
     - โครงการพัฒนาบุคลากรเชิงปฏิบัติการจัดทำต้นฉบับแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษารายวิชาเลือกโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ


ตัวชี้วัดความสำเร็จ
     - บุคลากร กศน.มีการพัฒนาปรับปรุง กศน.4 ในส่วนที่เพิ่มภาระให้สามารถ ลดเวลา ลดการซ้ำซ้อนของข้อมูล
     - บุคลากร กศน.ความเข้าใจและเรียนรู้เครื่องมือ Excel งานทะเบียนในส่วนที่เป็นข้อมูลนักศึกษาที่จบไปแล้ว ให้บุคลากรทุกคนโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่สามารถค้นหาประวัติ ใบระเบียนแสดงผลการเรียนได้ง่าย สะดวกรวดเร็ว ลดเวลา เพิ่มประสิทธิภาพ
     - บุคลากร กศน. มีความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือและตัวเก็บข้อมูลตัวชี้วัดต่าง ๆ ในการประกันคุณภาพสถานศึกษาภายนอกรอบสี่ ที่จะนำการประเมินออนไลน์มาใช้
     - บุคลากร กศน. สามารถทำคู่มือการทำงาน กศน.อำเภอบางสะพานและนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การติดตามและประเมินผล
     -  แบบสอบถามความเข้าใจ
     -  การสังเกต
     -  Flow Chart การทำคู่มือของแต่ละงาน




กำหนดการ

1. ประชุม KM และให้โอวาท โดยนางศรีสง่า โภคสมบัติ ผู้อำนวยการ
2. การนำเสนอแนวคิดการทำงาน เรื่องเล่าจากการอบรม โดยนายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล
3. กิจกรรมการให้ความรู้ โดยครูปลา + ครูส้ม
     - การออกแบบ กศน. 4 เก็บข้อมูลพื้นฐานนักเรียน ใน GoogleDrive
     - การใช้ Excel เพื่อกรอกข้อมูลนักศึกษาที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ (ระบบติดตามผู้เรียน)
     - เพื่อกรอกข้อมูลผู้เรียนที่จบไปแล้ว เพื่อความสะดวกให้การค้นหาเมื่อมีผู้มาติดต่อ
     - ฯลฯ
     - ชี้แจงและปฏิบัติการการประกันในตัวบ่งชี้ที่ 1.1 - 1.4
     - ชี้แจงการสร้างร่องรอยตัวบ่งชี้ที่ 1.1 - 14
     - ชี้แจงการใช้คู่มือนักศึกษา กศน.อำเภอบางสะพาน
     - ชี้แจงเรื่องการใช้คู่มือการทำ กพช.สำหรับนักศึกษา 
     - ชี้แจงเรื่องการนำข้อมูลนักศึกษาที่จบแล้วมาใส่ในโปรแกรม
     - ชี้แจงเรื่องการปรับเปลี่ยนเกณฑ์คะแนนประเมินคุณธรรม (ร่วมกันประชุม และให้ทำตัวอย่าง) 
     - ชี้แจงเรื่องการเปลี่ยนแปลง รตรย.ในส่วนเวลาเรียนและประเมินคุณธรรม (ร่วมกันทำ ประชุมและใช้ตัวอย่าง)
     - ชี้แจงเขียนวิธีการดำเนินงานและโครงการในงานที่รับผิดชอบ

ข้อเสนอแนะ ผอ.เห็นความสำคัญของการนำบล็อกมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน จึงได้มอบหมายให้ข้าพเจ้าจัดให้มีการพัฒนางาน โดยจะเป็นการสอนบล็อกสัปดาห์ละครั้ง ครั้งละประมาณ 2 ชั่วโมง โดยนำงานที่ได้ปฏิบัติอยู่แล้ว นำข้อมูลต่างๆ ที่สำคัญ มาใส่ในบล็อกให้เป็นปัจจุบัน 
เช่น 
- การทำแผนรายเดือน  รายสัปดาห์ 
- การรายงานผลการปฏิบัติงานประจำวัน 
- คำสั่งการปฏิบัติงานรายบุคคล
- ข้อมูล กศน.ตำบล
- แผนจุลภาค
- บันทึกหลังการสอน
- แผนการสอน

แนวความคิดและประสบการณ์ทำงาน กศน.อำเภอบางสะพาน ตามกระบวนการ PDCA

แนวความคิดและประสบการณ์ทำงาน กศน.อำเภอบางสะพาน ตามกระบวนการ PDCA

โชคดีที่มาอยู่ จังหวัดประจวบ ฯ มี ผอ.อำเภอและ ผอ.จังหวัดที่มีความรู้ความสามารถมาก สามารถเป็นผู้จุดประการความคิดได้เยอะมาก
ได้พัฒนาแนวความคิด Up Level เยอะมาก เช่น

จินตนาการกับความรู้ท่านคิดว่าสิ่งไหนสำคัญกว่ากัน เพราะเหตุใด ท่านคิดว่าเพราะเหตุใดมือถือถึงไม่มีปุ่ม เกิดมาจากสิ่งใด ท่านคิดว่าเมื่อก่อนทำไมคนใส่รองเท้าต่างสีถึงเป็นคนบ้าแล้วทำไมสมัยนี้รนใส่รองเท้าต่างสีถึงเป็นแฟชั่น

การเตะบอล ทีมฟุตบอล ทุกคนมีตำแหน่งของตนเอง มีหน้าที่แต่ที่สำคัญต้องซ้อม จำเป็นหรือไม่ที่กองหน้าจะต้องทำประตูได้เสมอไป ทีมที่มีผู้เล่นเก่งจำเป็นหรือไม่ที่ต้องชนะเสมอไป แผนการเล่นสำคัญไหม ถ้ามีแผนการเล่นแล้ว ผู้เล่นไม่ได้ซ้อมไม่เข้าใจแผนจะชนะไหม ถ้าเราแพับ่อย ก็จะเป็นฤดูกาลที่ยากลำบาก ทีมอาจตกชั้น แล้วทีมเราก็จะโทษกันเองว่าเพราะคนนั้นคนนี้ทำให้ทีมไม่ประสบความสำเร็จ
การทำงานก็เหมือนกัน แม้เราไม่จำเป็นต้องไปชนะใคร แต่ถ้าเราไม่ซ้อมกันเลย ไม่มีแผนการทำงานที่ดี บางทีเราอาจมีจะฤดูกาลที่ยากลำบากเหมือนทีมฟุตบอลก็ได้ ดังนั้นวันนี่ที่เกิดขึ้นได้ก็เพราะทัศนคติที่ดีของผู้บริหาร ว่าเราต้องเข้าใจระบบการเล่นของทีมเนาแล้ว แผนของเราอาจจะไม่เหมือนทีมอื่น แต่เป็นแผนที่เหมาะกับทีมเรา ที่เกิดมาจากผลงานในฤดูกาลก่อน ๆ


1.แนวคิดในการทำคู่มือ
          เปรียบเสมือนเดินอยู่กลางป่า ไม่รู้จะไปทิศทางใด อาจจะไปถูกหรือไปผิด เดินได้เร็ว เดินได้ช้า แต่ถ้ามีแนวทางก็สามารถเดินไปถึงจุดหมายได้อย่างรวดเร็ว ปลอดภัย 
          เปรียบเสมือน คู่มือ ที่สามารถทำให้ทุกคนเดินไปตามทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถพัฒนาไปได้ตลอดโดยใช้กระบวนการ PDCA ถ้าพูดแล้วเครื่องมือเปรียบเสมือนตัว P ซึ่งได้มาจากตัว A นั้นคือการมองเห็นปัญหาจากการทำงาน ถ้าเรานำไปใช้แล้ว D ยังมองเห็นปัญหาอยู่ C เราก็สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ทันต่อปัญหาได้ A

2. การก้าวให้ทันเทคโนโลยี และก้าวข้ามขีดจำกัดของคำว่าจินตนาการกับความรู้

Ex สมัยก่อนประมาณ 20 ปีที่แล้วการใช้ ATM เป็นเรื่องที่เกินขีดจำกัดและความสามารถของใครหลายคน แต่ในปัจจุบันไม่มีใครใช้ ATM ไม่เป็น เหตุผล เพราะมันทำให้ชีวิตง่ายยิ่งขึ้น ดังนั้น เราต้องยอบรับเทคโนโลยีที่จะเข้ามามีบทบาท และพยายามทำความเข้าใจ ศึกษาให้พอที่จะนำมันมาช่วยในการทำงานให้ง่ายขึ้น บางอย่างทำสำเร็จรูปให้แล้ว เหมือนบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เพียงแค่เอาน้ำร้อนใส่ ก็ทานได้เลย วันนี้เรายังไม่มีน้ำแต่สักพักเราจะมีน้ำกัน ใครมีน้ำก่อนแล้วก็เทรับน้ำใหม่ก่อน

3. การมองปัญหาเป็นโอกาส โอกาสในการพัฒนาตนเอง

4. best practice 

เราทำงานหลายด้านก็จริงแต่จะมีไม่กี่ด้านที่เราถนัด และต้องนำออกมาเป็นจุดเด่น
มาสโล ความต้องการขั้นสุงสุด คือ การได้ใช้ความสารารถของตนเองให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
การจัดทำคำรับรองและแผน-ผล ในการปฏิบัติงาน ในแต่ละปี ไม่ควรเกิน 30 

การรับรู้ของมนุษย์ มี 4 อย่างที่สำคัญ คือ ?
ประสิทธิภาพของแต่ละบุคคล ไม่เหมือนกัน ให้เกียรติเป็นผู้นำ ผู้ตาม ถึงจะไม่ดีที่สุด ก็ไม่เป็นไร
เล่าเรื่องจากประสบการณ์ 
     - ชีวิตนี้สั้นนักใน 24 ชั่วโมง  
     - การบันทึกช่วยท่านได้(ประสบการณ์ ผอ.วีระ) 
- ชีวิตอินทรี(รองดิษกุล)
มนุษย์มีพฤติกรรมเลียนแบบ

วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2558

กศน.อำเภอบางสะพานร่วมถวายพวงมาลาเนื่องในวันปิยมหาราช 23 ตุลาคม 2558

เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2558 ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางสะพาน โดยนางศรีสง่า โภคสมบัติ มอบหมายให้ นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ครูผู้ช่วย นำคณะครูและบุคลากร กศน.เข้าร่วมวางพวงมาลาถวายสักการะพระบรมรูปราชการที่ 5 ณ ลานหน้าที่ว่าการอำเภอบางสะพาน เนื่องในวันปิยมหาราช โดยมีส่วนราชการในอำเภอบางสะพานร่วมพิธีกว่า 35 หน่วยงาน ร่วมถวายสักการะ



วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2558

กศน.อำเภอบางสะพาน ได้จัดประชุมคณะกรรมการธรรมศึกษา

เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2558 ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางสะพาน ได้จัดประชุมคณะกรรมการธรรมศึกษา ณ ศาลาการเปรียญ วัดเขาโบสถ์

ผู้เข้าร่วมประชุม
- ผู้บริหารและตัวแทนสถานศึกษา
- ตัวแทนฝ่ายสงฆ์
- บุคลากรจาก กศน.
- ตัวแทนจาก สำนักงาน กศน.จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

การประชุม

- แนะนำบุคลากรจาก กศน.
- วาระการประชุม
- ตัวแทนจาก สำนักงาน กศน.จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กล่าวถึงหน้าที่ภารกิจของ กศน.ในการดำเนินงานธรรมศึกษา

ปัญหา/อุปสรรค
- เนื่องจากเป็นการจัดครั้งแรกที่ กศน.เข้ามารับผิดชอบในส่วนประสานงาน ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน ทำให้คณะกรรมการส่วนใหญ่ยังไม่รู้
- ระบบรวบรวมข้อมูลบางแห่งยังไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน







วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2558

รายงานการประชุม ครั้งที่ 2 ปีงบประมาณ 2559 วันพุธ ที่ 21 ตุลาคม 2558

ระเบียบวาระการประชุม ครั้งที่ 2 ปีงบประมาณ 2559
วันพุธ ที่ 21 ตุลาคม 2558 เวลา 09.00 – 12.00 น.
-----------------------------------------

เรื่องที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
          1. การประชุมคณะกรรมการธรรมศึกษาระดับอำเภอ

เรื่องที่ 2 เรื่องพิจารณารับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว
          -


เรื่องที่ 3 เรื่องสืบเนื่องจากการประชุมครั้งที่แล้ว
          -
เรื่องที่ 4 เรื่องเสนอเพื่อรับทราบ

          4.1 งานทะเบียน พื้นฐาน                
          4.2 งานประกัน

เรื่องที่ 5 เรื่องเพื่อพิจารณา
          -

เรื่องที่ 6 เรื่องที่หน่วยราชการแจ้งให้ทราบ
          -

เรื่องที่ 7 เรื่องอื่น ๆ



                  

รายงานการประชุม ครั้งที่ 2 ปีงบประมาณ 2559
วันพุธ ที่ 21 ตุลาคม 2558 เวลา 09.00 – 12.00 น.
ณ  ห้องประชุม กศน.อำเภอบางสะพาน
-----------------------------------------

จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม ทั้งหมด 12 คน เข้าประชุม 12 คน ขาดประชุม - คน

ผู้เข้าประชุม
                     1. นางศรีสง่า    โภคสมบัติ             ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอบางสะพาน
                     2. นายปฐมพร  ธัมมาภิรัตตระกูล     ครูผู้ช่วย
                     3. นายมณี   ปัตเมฆ                      พนักงานพิมพ์ดีด ระดับ ส 3
                     4. นางสาวทัณฑิมา  สุขเกษม         ครูอาสาสมัคร
                     5. นางสาวอรุณรัตน์  จิตรมั่น           ครูอาสาสมัคร
                     6. นายกำจัฐ  กว้างขวาง                ครู กศน.ตำบลกำเนิดนพคุณ
                     7. ว่าที่ร้อยตรีหญิงเครือวัลย์  มากเต ครู กศน.ตำบลชัยเกษม
                     8. นางสาวมุทิตา  นันทจินดา          ครู กศน.เทศบาลกำเนิดนพคุณ
                     9. นางสาวงามเพ็ญ  เจริญชีพ         ครู กศน.ตำบลธงชัย
                   10. นางสุชาวดี  ใบภูทอง                 ครู กศน.ตำบลพงศ์ประศาสน์
                   11. นางภารณี    ก้านเหลือง             ครู กศน.ตำบลแม่รำพึง
                   12. นางสาวภัณฑิลา  อยู่เครือ           ครู กศน.ตำบลร่อนทอง

ผู้ขาดประชุม
                    -
เริ่มประชุมเวลา 09.00 น.

          นางศรีส่งา โภคสมบัติ ผู้อำนวยการ กศน. เป็นประธานในที่ประชุม เมื่อได้กล่าวเปิดการประชุมแล้ว ได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระดังต่อไปนี้

เรื่องที่ 1. เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
           1.1. ประธานแจ้ง เรื่องที่จะต้องเสนอให้ที่ประชุมทราบเกี่ยวกับ การประชุมคณะกรรมการธรรมศึกษาระดับอำเภอ
           ผู้รับผิดชอบ นางสาวมุฑิตา นันทจินดา ครูกศน.ตำบลเทศบาลตำบลกำเนิดนพคุณ

หน้าที่
               - จัดทำคำสั่งคณะกรรมการดำเนินงาน
               - จัดทำเอกสารปรพกอบการดำเนินงาน
               - ปฎิทิน
               - ระเบียบวาระการประชุม
               - แบบฟอร์มต่าง ๆ
          1.2. จัดสถานที่การประชุมคณะกรรมการธรรมศึกษา
               - ณ วัดเขาโบสถ์ วันที่ 21 ตุลาคม 2558 เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป
          1.3. ให้องค์กรนักศึกษามาช่วยในการบริการเครื่องดื่ม อาหารว่าง
          1.4. เริ่มประชุม วันที่ 22 ตุลาคม 2558 เวลา 14.00 น. ณ วัดเขาโบสถ์
          1.5. วิธีการสอนธรรมศึกษา 1. แจกเอกสารประกอบการเรียน 2. ครู กศน.สอน 3. พบกลุ่มพระ เป็นระยะ ๆ

ที่ประชุม รับทราบ

เรื่องที่ 2 รับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว
          -
เรื่องที่ 3 เรื่องสืบเนื่องจากการประชุมครั้งที่แล้ว
          -
เรื่องที่ 4 เรื่องเสนอเพื่อรับทราบ
          4.1 งานพื้นฐาน
               - กำหนดการส่ง GPA
               - ตรวจสอบความถูกต้องของคะแนนสอบซ่อม
               - การลงทะเบียนนักศึกษาเก่า นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนมาแล้ว 2 ภาคเรียนให้นักศึกษามาพบนายทะเบียน ดูเหตุผลความจำเป็นแล้วต้องทำสัญญาการเรียนรู้
               - การออกแบบเอกสารบันการประเมินเวลามาเรียน การประเมินคุณธรรม จริยธรรม เพื่อลดการซ้ำซ้อนของข้อมูล
               - การกรอกคะแนน กศน.4 ห้ามมีการลบ

มติในที่ประชุม  รับทราบ

          4.2 การส่ง กพช.นักศึกษา ครูที่ปรึกษา ต้องส่ง กพช.ภายใน 30 วันนับการนักศึกษาทำกิจกรรมเสร็จสิ้น
               - แนวทางการทำ 1. ขออนุมัติทำกพช. 2.ดำเนินการทำกิจกรรม 3. เสนอขอ กพช.

          4.3 งานพื้นฐาน ออกแบบ คู่มือการทำ กพช.สำหรับผู้เรียน ซึ่งนักศึกษาสามารถกรอกรายละเอียดในการทำกิจกรรมด้วยลายมือ ครูสามารถดาวโหลดเอกสารคู่มือได้ใน https://www.facebook.com/groups/300561920044700/

          4.4 การออกแบบกิจกรรมการจัดกระบวนการเรียนรู้ ครูผู้สอน ควรนำ กิจกรรมการสวดมนต์ ทำสมาธิ ใส่ในแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้และจัด ทุกครั้ง

          4.5 การทำแผนการสอนวิชาทักษะการเรียนรู้ ส่งวันที่ 14 พ.ย. 58 ได้ทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบเรียบร้อยแล้ว

          4.6 ปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ภาคเรียนที่ 2/2558 วันที่ 8 พ.ย. 58 มีการมอบวุฒิบัตรนักศึกษาจบในวันดังกล่าว

          4.7 การรับสมัครบักศึกษา เอกสารที่ใช้ในการรับสมัคร อย่างละ 2 ชุด รูปถ่าย 1" 2 รูป ผู้รับสมัคร สอบถาม ผู้สมัครว่าเคยสมัคร กศน.มาแล้วหรือไม่

          4.8 การสอนผู้ไม่รู้หนังสือ 1.ใบสมัคร  2. ถ้าจบแล้วขอใบจบด้วย ครูฑัณฑิมา สุขเกษม รับผิดชอบ

มติในที่ประชุม รับทราบ

          4.9 งานประกันคุณภาพสถานศึกษา
                - จัดอบรมพัฒนาบุคลากร เรื่องเกี่ยวกับการประกัน วันพุธ ที่ 28 พ.ย. 58 ณ ห้องประชุม กศน.อำเภอบางสะพาน เวลา 09.00 - 15.00 น.

เรื่องที่ 5 เรื่องเพื่อพิจารณา
          -

เรื่องที่ 6 เรื่องที่หน่วยราชการแจ้งให้ทราบ
          - 

เรื่องที่ 7 เรื่องอื่น ๆ ใบอนุญาตการสอน ต่อได้ ครั้งละ 2 ปี ได้ 3 ครั้ง รวมเป็นระยะเวลา 6 ปี ภายในระยะเวลานี้ ครูต้องพัฒนาตนเองเพื่อให้ได้ใบประกอบวิชาชีพ มา มิฉะนันอาจไม่ได้รับการต่อสัญญา หากมีข้อกฎหมาย กำหนด

               - การทำเว็บไซด์ ครูภัณฑิลา อยู่เครือ รับผิดชอบ

เลิกประชุมเวลา 12.00 น.
         
                                                          ……………………………..      ประธานในที่ประชุม
                                                          (นางศรีสง่า โภคสมบัติ)
            

                                                          ……………….……………..     เลขานุการ/ผู้บันทึก
                                                       (นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล)

ทะเบียนบ้าน บัตรประชาชน









วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ข้อสอบ นักวิชาการ นักจัดการ บรรณารักษ์ กศน. วันที่ 18 ตุลาคม 2558

- ครู หมายถึง ผู้สอน และ ส่งเสริม


- ศูนย์การเรียนชุมชน ไม่ใช่ สถานศึกษา

- สำนักงาน กศน. - สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

- วัตถุประสงค์ของการบริหารบ้านเมืองที่ดี - ประโยชน์สุขของประชาชน

- อุปมา-อุปมัย
โจทย์ ทะเล:คลื่น ?:?
ท้องฟ้า-ดวงดาว

- ชั้นความลับ ตอบ ลับ ลับมาก และลับที่สุด ตอบ (ลับมากที่สุด ไม่ใช่)

- กรณีการกระทำละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่ซึ่งไม่ได้สังกัดหน่วยงานของรัฐถือว่าหน่วยงานใดเป็นหน่วยงานของรัฐที่ต้องรับผิดชอบ.  ตอบ กระทรวงการคลัง

- การศึกษาตลอดชีวิต. ตอบ ใน. นอก. อัธ.
- พรบ.ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยบังคับใช้วันใด.  ตอบ 4 มี.ค. 2551

- สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีสมาชิกไม่เกินกี่คน. ตอบ 220 คน

- สถานีวิทยุเพื่อการศึกษาของกศน.  ตอบ ETV

- ก.พ.ร. ย่อมาจาก ตอบ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

- อนุมัติ เกิน 100 ล้าน ตอบ รัฐมนตรี

- การทำลายหนังสือของราชการที่ไม่ให้เปิดเผย ตอบ 20 ปี

- โทษทางวินัยร้ายแรง ตอบ ปลดออกไล่ออก 

- ประธานทำลายเอกสารลับทางราชการ ตอบ นายทะเบียนข้อมูลข่าวสารลับ

- ยั้บยั้งการลาออก ตอบ 90 วัน

- ขอ ข้อมูล  จปฐ.  ตอบ  พัฒนาชุมชน

- พระมหาชนก ตอบ ความเพียร

- ไม่ควรปล่อยให้โทรศัพท์สำนักงานดังเกินกี่ครั้ง ตอบ 3 ครั้ง (ไม่ควรให้สายเรียกเกิน 3 ครั้ง เพราะผู้โทรอาจจะคิดว่าโทรศัพท์ขัดข้อง)

- ทลูเกล้า - ใช้มอบของสิ่งเล็ก  น้อมเกล้า - ใช้มอบของสิ่งใหญ่ เช่น ช้าง รถยนต์ 


- ข้อใดไม่ใช่แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี
ก. พิพิธภัณฑ์เปลือกหอยภูเก็ต**
ข. พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด

ค. พิพิธภัณฑ์จิม ทอมสัน
ง. พิพิธภัณฑ์ของกรมศิลปากร


ไฟล์ที่ได้จากwordจะมีสกุลใด. ตอบ .doc


- การตรวจสอบประวัติและพฤติกรรมบุคคล..ตอบ คนที่รอรับการบรรจุแต่งตั้ง


ขั้นสุดท้ายมาสโลว์ ตอบ ต้องการใช้ความสามารถของตนเองให้เป็นประโยชน์มากที่สุด


ข้อใด คือ การสื่อสารแบบแนวนอน  ตอบ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อนรวมงานระดับเดียวกัน

วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2558

กศน.อำเภอบางสะพาน เข้าร่วมรับฟังการประชุม เสวนา หัวข้อ "ก้าวข้ามขีดจำกัด สู่สหัสวรรษแห่งการเรียนรู้"

เมื่อวันที่ 14 - 16 ตุลาคม 2558  ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางสะพาน โดยนางศรีสง่า โภคสมบัต ผู้อำนวยการ และ นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ครูผู้ช่วย เข้าร่วมรับฟังการประชุม เสวนา หัวข้อ "ก้าวข้ามขีดจำกัด สู่สหัสวรรษแห่งการเรียนรู้" จัดโดย สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ณ ศูนย์นิทรรศการและแสดงสินค้า ไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร

          พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวเปิดงานตอนหนึ่งว่า 

"การวัดและประเมินผลเป็นภารกิจสำคัญที่ทุกองค์กรต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและจริงจัง เพื่อให้ทราบผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานอย่างแท้จริง โดยต้องเป็นการประเมินจากองค์กรภายนอกที่มีมาตรฐานเพื่อให้ผลการประเมินเป็นที่ยอมรับและน่าเชื่อถือ ดังนั้น การประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษารอบสี่ (ปีงบประมาณ 2559-2563) จำเป็นต้องเดินหน้า แต่ขณะนี้อยู่ระหว่างปรับปรุงเกณฑ์และตัวบ่งชี้ เพื่อให้มีความเหมาะสม และไม่สร้างภาระให้แก่ครูอาจารย์มากเกินไป ทั้งนี้ การประเมินรอบสี่จะนำรูปแบบออนไลน์มาใช้ แต่หากสถานศึกษาใดยังไม่พร้อมก็ให้ใช้รูปแบบเดิมไปก่อน ขณะเดียวกันต้องพัฒนาเพื่อรองรับการประเมินรูปแบบออนไลน์ที่จะใช้เต็มรูปแบบในปีงบประมาณ 2561 ด้วย"

          ด้าน ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผอ.สมศ.กล่าวว่า 

"สมศ.ได้เตรียมข้อมูลต่างๆ เพื่อใช้ทบทวนเกณฑ์และตัวบ่งชี้ที่จะใช้ในการประเมินรอบสี่แล้ว รอเพียงคณะกรรมการจากกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เข้ามาร่วมพิจารณา ยืนยันว่าทันการประเมินรอบสี่ที่จะเริ่มในเดือน ม.ค.2559 ทั้งนี้ พล.อ.อ.ประจินได้มอบนโยบายว่าการประเมินรอบสี่ขอให้นำเกณฑ์และตัวบ่งชี้การประเมินรอบสามมาปรับใช้ เพราะสถานศึกษามีความรู้ และเข้าใจอยู่แล้ว จะได้ไม่เป็นภาระแก่ครูอาจารย์ แต่การประเมินต้องคำนึงถึงคุณภาพและมาตรฐานที่สูงขึ้น"




วันที่ 14 ตุลาคม 2558
13.00 - 14.30 


หัวข้อ การปฏิรูปการศึกษาให้ได้ผลต้องตั้งต้นจากผลการประเมิน 


ครูต้องรู้บทบาทหน้าที่ของตนเองว่า "สอนให้เด็กมีงานทำ หรือให้ครูแค่มีงานทำ"
เอกสารมาก จัดให้ได้เลยแต่ไม่มีคุณภาพ
- การประเมินผล สำคัญ แต่ต้องประเมินให้เที่ยงตรง
ข้อเสนอแนะ ต้องสรา้งเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลที่มีความเที่ยงตรง เชื่อถือได้

- เน้นการศึกษาวิจัยเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่แค่การสำรวจเบื้องต้น
ข้อเสนอแนะ ต้องสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิจัยเชิงพัฒนาในบุคลากรรับทราบ

- การประเมินที่ดีทำให้ทราบปัญหา อุปสรรค
ข้อเสนอแนะในการจัดโครงการ/กิจกรรมทุกโครงการควรมีข้อเสนอแนะ ที่เกิดจากปุญหา/อุปสรรคที่เกิดขึ้นไม่มากก็น้อยในการทำงาน อาจเป็นปัญหาเชิงประจักษ์ หรือข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนา


14.45- 16.30

การประเมินออนไลน์

- ควรมีเข้าใจในเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ
ข้อเสนอแนะ ต้องสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการใช้ระบบเทคโนโนยีสารสนเทศให้บุคลากรครูเข้าใจ 
Ex 1.มีใครใช้บัตรเอทีเอ็มกี่คนในห้องนี้
2.มีใครใช้บัตรเอทีเอ็มทำอย่างอื่นนอกเนหนือจากกดเงินบ้าง
3. มีใครใช้บัตรเอทีเอ็มทำธุกรรมอื่นบ้าง
20 ปีที่แล้วไม่มีคนกล้าใช้บัตรเอทีเอ็ม สมัยนี้ใครไม่ใช้บัตรเอทีเอ็ม แปลก

- รวบรวมข้อมูลในเชิงปฏิบัติที่สามารถนำมาเป็นข้อมูลได้โดยตรง
ข้อเสนอแนะ สร้างความรู้วคามเข้าใจแก่บุคลากรในการรวบรวมข้อมูลที่ปฏิบัติมาลงในแบบฟอร์มออนไลน์ที่สร้างไว้ เพื่อรวบรวมให้อยู่ในที่เดียวกัน สามารถนำข้อมูลมาใช้ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และเป็นข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้

- การกรอกข้อมูลในเว็บไซด์
ข้อเสนอแนะ ต้องสร้างความรู้ความเข้าใจในการกรอกข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ เช่น จัดโครงการพัฒนาบุคลากรในเรื่องนี้

- ลดภาระแก่ผู้ปฏิบัติในการรายงานผล
ข้อเสนอแนะ ต้องสร้างทัศนคติที่ดีในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อลดภาระงาน

- รายงาน sar อัตโนมัติ การกรอกแบบฟอร์มอีเลกทรอนิค
ข้อเสนอแนะ ต้องสร้างความรู้ ความเข้าใจถึงกระบวนการที่มาข้อมูลในรายงานการประเมินตนเอง ซึ่งบุคลากรและหัวหน้างานทุกคนต้องทราบ

- ต้องมีข้อมูลที่ถูกต้องเชื่อถือได้  โดยต้นสังกัดป็นผู้ตรวจสอบ
ข้อเสนอแนะ ต้องให้ความรู้ความเข้าใจในการให้ ข้อมูลที่รายงานต้องเชื่อถือได้ เป็นข้อมูลเดียว ตรวจสอบได้

ประโยชน์การประเมินออนไลน์
- ลดเวลา ลดกำลัง ลดงบประมาณ
- สามารถรายงานสถานภาพการศึกษาได้
การประเมินรอบสี่ เป็นการประเมินเพื่อพัฒนา สนับสนุน เปลี่ยนจากกระดาษเป็นระบบอีเลคทรอนิค

หัวข้อ มาตรฐานงานวิจัย : จุดอ่อนของอุดมศึกษาไทย 

มาตรฐานการวิจัยเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อคุณภาพของงานวิจัย 
ผู้วิจัยต้องคำนึงถึงและต้องปฎิบัติให้เป็นไปตามมาตรฐานขั้นต่ำหรือสูงกว่าที่กำหนดไว้ 
โดยการดำเนินการวิจัยควรมีการบูรณาการ คำนึงถึงกฎหมายและระเบียบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 
*ผู้วิจัยต้องมีคุณธรรม จริยธรรม มีจรรยาบรรณในการทำวิจัย 
รวมทั้งต้องคำนึงถึงการผลิตผลงานวิจัยที่นำไปสู่การเกิดองค์ความรู้ใหม่ เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการ 
ผลงานวิจัยมีการนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ให้กว้างขวาง เพื่อให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอันจะนำไปสู่การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ 

หัวข้อ ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในการประกันคุณภาพการศึกษา

การสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้เห็นถึงความแตกต่างของการประกันคุณภาพภายในและการประเมินคุณภาพภายนอกเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะถ้ามีความเข้าใจที่ถูกต้องแล้วจะต้องทราบว่า 
- การประกันคุณภาพภายในเป็นการประเมินตนเอง สำรวจและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ 
- การประเมินคุณภาพภายนอกเป็นเพียงกระจกสะท้อนจากมุมมองภายนอก ที่ช่วยตรวจสอบให้เห็นจุดที่ควรพัฒนามากขึ้น ประเด็นดังกล่าวนี้จะช่วยให้ลดความคลาดเคลื่อนในการประกันคุณภาพการศึกษาในภาพรวมได้ ตลอดจนเป็นการช่วยผลักดันและพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาให้กับสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพในที่สุด 


วันที่ 15 ตุลาคม 2558
16.30 - 17.30

สรุปการประเมินคุณภาพภายนอกและการรับรองมาตรฐานรอบสี่

การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ สมศ. มีนโยบายหลักสำคัญ 3 ข้อ ดังนี้ 
1. ลดภาระ 
ได้แก่ การลดตัวบ่งชี้ ลดปริมาณเอกสาร และลดจำนวนวันตรวจเยี่ยมสถานศึกษา 
2. สร้างสรรค์
ได้แก่ 
- การจัดกลุ่มสถานศึกษาให้สถานศึกษาและต้นสังกัดได้เห็นโอกาสในการพัฒนาตามบริบทของระดับคุณภาพ
- เปิดโอกาสให้สถานศึกษาได้เลือกรับการประเมินเพื่อพัฒนาและรับรองมาตรฐานในคราวเดียวกัน
- มีตัวบ่งชี้เลือก  มีเครื่องมือที่หลากหลายจำแนกตามประเภทสถานศึกษาและรับรองตามความสมัครใจ
3. กัลยาณมิตร 
คือการเพิ่มช่องทางในการตรวจสอบคุณภาพและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยมีสายด่วนประเมินรอบสี่ ศูนย์เครือข่าย QC1001 ช่วย 9 เป็นต้น 

แนวทางในการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 
1. ประเมินเพื่อพัฒนา
 คือ การประเมินตามข้อกำหนดของกฎหมายโดยใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ตรวจเยี่ยมตามความจำเป็น ไม่มีการตัดสินรับรอง/ไม่รับรอง และจัดผลการประเมินสถานศึกษาเป็น 5 กลุ่ม 
2. ประเมินเพื่อรับรองมาตรฐาน 
เป็นการประเมินเพื่อขอรับการรับรองตามความสมัครใจภายใน 2 ปี หลังจากประเมินเพื่อพัฒนา ตรวจเยี่ยมไม่เกิน 3 วัน และจัดการรับรองมาตรฐานเป็น 2 ระดับ คือ ระดับชาติ และระดับนานาชาติ 

ทั้งนี้ สมศ.จะดำเนินการประเมินรอบสี่ให้ต่อเนื่องจะเริ่มดำเนินการประเมินในเดือนมกราคม พ.ศ. 2559

วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2558

รายงานการประชุม ครั้งที่ 1 ปีงบประมาณ 2559 วันพุธ ที่ 7 ตุลาคม 2558

ระเบียบวาระการประชุม ครั้งที่ 1 ปีงบประมาณ 2559
วันพุธ ที่ 7 ตุลาคม 2558 เวลา 09.00 – 12.00 น.


เรื่องที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
          1. นโยบาย เลขาธิการ กศน.

เรื่องที่ 2 เรื่องพิจารณารับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว
          -

เรื่องที่ 3 เรื่องสืบเนื่องจากการประชุมครั้งที่แล้ว
          -

เรื่องที่ 4 เรื่องเสนอเพื่อรับทราบ
          4.1 งานบริหาร
                    - งานธุรการ
                    - งานแผน
                    - งานการเงินและบัญชี
                    - งานบุคลากร
                    - งานพัสดุ

          4.2 งานการศึกษาต่อเนื่อง

          4.3 งานประกัน

เรื่องที่ 5 เรื่องเพื่อพิจารณา
          5.1 งานทะเบียน พื้นฐาน

เรื่องที่ 6 เรื่องที่หน่วยราชการแจ้งให้ทราบ
          -

เรื่องที่ 7
เรื่องอื่น ๆ
          7.1 ความรู้จากการพัฒนาอบรมครูผู้ช่วย




รายงานการประชุม ครั้งที่ 1 ปีงบประมาณ 2559
วันพุธ ที่ 7 ตุลาคม 2558 เวลา 09.00 – 12.00 น.
ณ  ห้องประชุม กศน.อำเภอบางสะพาน
-----------------------------------------

จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม ทั้งหมด 12 คน เข้าประชุม 12 คน ขาดประชุม - คน

ผู้เข้าประชุม

                    1. นางศรีสง่า     โภคสมบัติ               ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอบางสะพาน
                    2. นายปฐมพร   ธัมมาภิรัตตระกูล      ครูผู้ช่วย
                    3. นายมณี    ปัตเมฆ                          พนักงานพิมพ์ดีด ระดับ ส 3
                    4. นางสาวทัณฑิมา  สุขเกษม           ครูอาสาสมัคร
                    5. นางสาวอรุณรัตน์  จิตรมั่น              ครูอาสาสมัคร
                    6. นายกำจัฐ   กว้างขวาง                   ครู กศน.ตำบลกำเนิดนพคุณ
                    7. ว่าที่ร้อยตรีหญิงเครือวัลย์  มากเต  ครู กศน.ตำบลชัยเกษม
                    8. นางสาวมุทิตา  นันทจินดา             ครู กศน.เทศบาลกำเนิดนพคุณ
                    9. นางสาวงามเพ็ญ  เจริญชีพ            ครู กศน.ตำบลธงชัย
                  10. นางสุชาวดี  ใบภูทอง                     ครู กศน.ตำบลพงศ์ประศาสน์
                  11. นางภารณี   ก้านเหลือง                  ครู กศน.ตำบลแม่รำพึง
                  12. นางสาวภัณฑิลา   อยู่เครือ             ครู กศน.ตำบลร่อนทอง

ผู้ขาดประชุม
          -

เริ่มประชุมเวลา 09.00 น.
นางศรีส่งา โภคสมบัติ ผู้อำนวยการ กศน. เป็นประธานในที่ประชุม เมื่อได้กล่าวเปิดการประชุมแล้ว ได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระดังต่อไปนี้

เรื่องที่ 1
เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
          ประธาน เรื่องที่จะต้องเสนอให้ที่ประชุมทราบเกี่ยวกับ
          1. นโยบาย เลขาธิการ กศน.

ที่ประชุม รับทราบ

เรื่องที่ 2 รับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว
          -

เรื่องที่ 3 เรื่องสืบเนื่องจากการประชุมครั้งที่แล้ว
          -

เรื่องที่ 4 เรื่องเสนอเพื่อรับทราบ

          4.1 งานบริหาร – อำนวยการ
                    - ธุรการ  การเตรียมแฟ้มจัดเก็บเอกสารดำเนินการ , ดำเนินการเสร็จสิ้น

                    - งานแผนและนโยบาย
                          1. เป้าหมายผู้รับบริการ ปีงบประมาณ 2559 ได้แก่ ผู้สูงอายุ เป็นหลัก ต้องวางแผน โครงการกับกลุ่มเป้าหมายนี้ เป็นสำคัญ
                          2. สถานศึกษาสีขาว ผอ. เป็นผู้ประเมิน ต้องเตรียมจัดโครงการรองรับในปีงบประมาณ 59 ด้วย จากที่เคยดำเนินการมาแล้วในปีงบประมาณ 58 เช่น โครงการคุณธรรม จริยธรรม โครงการที่ให้ความรู้เรื่องเพศศึกษา ยาเสพติด ดำเนินการต่อเนื่อง ต่อไป
                          3.เรื่องการเขียนแผนระดับตำบล(แผนจุลภาค) สำรวงความต้องการของประชาชนในพื้นที่โดยวิธีการที่หลากหลาย เช่น การร่วมประชุมกับผู้นำชุมชน ,อบต,จัดเวทีประชาคม โดยนำแผนดำเนินงานปีงบประมาณ 58 มาเป็นฐาน และเขียนแผนเพื่อของบประมาณ

                    - งานการเงินและบัญชี
                          1.ต้องศึกษาเรื่องการตรวจสอบภายใน ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
                          2.ทำทะเบียนคุมเรื่องการเบิกจ่ายเงิน ระดับตำบล กศน.ตำบลนำไปดำเนินการ เพื่อ ลดปัญหาเรื่อง การเบิก จ่าย ซ้ำซ้อน

                   - งานบุคลากร
                          1. การมาทำงานก่อนเวลา 8.15 และกลับหลังจากเวลา 16.45 น.
                          2. เวร-ยาม รักษาการณ์ ทำต่อเนื่องต่อไป โดยดูระเบียบของการรักษาเวรยามให้ชัดเจน

          4.2 งานการศึกษาต่อเนื่อง
                          1. มีกลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มสนใจ และกลุ่มอาชีพ ต้องมีหลักสูตรที่แน่นอน มีการวัดผลประเมินผล ออกวุฒิบัตร เน้นอาชีพที่ทำแล้วเกิดงาน เกิดรายได้กับกลุ่มเป้าหมาย มีทะเบียนคุมวุฒิบัตร

          4.3 งานประกันคุณภาพสถานศึกษา
                          1. คะแนน SAR ในตัวบ่งชี้ เป็นคะแนนที่ได้จากบุคลากรที่รับผิดชอบมาตรฐาน ตัวบ่งชี้นั้น ๆ
                          2. ศึกษาเครื่องมือในการประกันคุณภาพสถานศึกษา และเก็บร่องรอยเอกสารอย่างต่อเนื่องเพื่อการปรพกันคุณภาพ

          4.4 งานการศึกษาตามอัธยาศัย
                          1. ธรรมศึกษา วันสอบ 1 ธ.ค. 58 เริ่มเรียน ต.ค. 58 ประชุมคณะกรรมการธรรมศึกษาระดับอำเภอ วันที่ 22 พ.ย. 2558

          4.5 งานภาคีเครือข่าย
                          1. การประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา เพื่อขอความเห็นชอบในเรื่องต่างๆ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง จากที่เคยดำเนินการมาแล้วและจะดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
                          2. การคัดเลือก สรรหาคณะกรรมการสถานศึกษาชุดใหม่เพื่อแทนชุดเดิมซึ่งหมดวาระ

ที่ประชุม ที่ประชุมได้พิจารณาแล้ว มีมติรับทราบ

เรื่องที่ 5 เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา
          ประธาน เสนอให้เลขานุการ (นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล) ชี้แจงรายละเอียดเพื่อให้ที่ประชุมพิจารณา

เลขานุการ       ชี้แจงรายละเอียด ดังนี้
          งานทะเบียน พื้นฐาน
          5.1 การรับสมัครนักศึกษา
                          1. ผู้รับสมัครนักศึกษา ลงลายมือชื่อรับสมัครให้เรียบร้อยเพื่อตรวจสอบได้ง่าย
                          2. ผู้รับสมัครนักศึกษาตรวจสอบวุฒิคร่าว ๆ เช่น วันเดือนปีที่จบ
                          3. หากเอกสารผู้มาสมัครไม่ครบ ผู้รับสมัครนักศึกษาระบุด้วยว่าขาดหลักฐานอะไร เอามาให้เมื่อไร เบอร์โทรศัพท์ผู้สมัครต้องชัดเจน

          5.2 การทำเล่มประเมินคุณธรรมและเวลามาเรียน
                    ฝ่ายทะเบียนวัดผล ประเมินผล ได้ออกแบบ รตรย.เพื่อความสะดวก รวดเร็ว ง่ายขึ้น โดยนำปัญหาของครูมาเป็นฐานในการออกแบบ (ปรับเปลี่ยน แยกส่วนวันเวลาเรียน กับ การประเมินคุณธรรมออกมาเป็นเล่มต่างหาก)

          5.3 การจัดแฟ้มเอกสารรับสมัครของนักศึกษา ตาม กศน.ตำบล
                    เพื่อง่ายต่อการหาเอกสาร เช่น เอกสารไม่ครบ ขาดรูป เป็นต้น (ครู กศน.ตำบล ต้องคอยดูแลเอกสาร หลักฐาน ให้เรียบร้อย)

          5.4 บัตรนักศึกษา
                    (ส่วนนี้ควรทำให้นักศึกษา โดยเร็วที่สุด) ครูสามารถอำนวยความสะดวกในการทำรูปให้นักศึกษาได้ โดยถ่ายรูปแล้วนำไปอัดที่ร้าน ในราคาไม่เกิน 50 – 70 บาท

          5.5 จำนวนนักศึกษา
                    ครู 1 คน รับผิดชอบ ไม่เกิน 66 คน (ข้อเสนอะแนะของ สมศ. ,ผอ.กจ. ,รองเลขา)

          5.6 การปรับเปลี่ยนคะแนนประเมินคุณธรรม จริยธรรม
                    แก้ตรงตัวบ่งชี้ เพราะ ฟอร์มในคู่มือมีแต่คำว่าผ่านกับไม่ผ่าน (ไม่ผ่าน จะตีความว่าเท่ากับ 0 เลย ควรปรับแก้คะแนนเป็นสเกล 1 – 5 )

          5.7 คู่มือนักศึกษา กศน.อำเภอบางสะพาน
                     - ครูผู้ช่วยได้เอาไปเสนอเป็นงานวิจัย ในการพัฒนาครูผู้ช่วย ที่ผ่านมา (ผู้ตรวจชมว่าดี) หากใช้กันทั้งอำเภอ จะช่วยครูในเรื่อง ข้อมูลต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี เช่น ประวัตินักศึกษา ประเมินคุณธรรม, ประเมินสุขภาพกาย/จิต ร่องรอย มาตรฐาน 1.1 – 1.4 ,กพช. เป็นต้น
                    -  ครู กศน.ตำบล สามารถโหลดคู่มือไปใช้ประโยชน์ได้
           5.8 การแต่งกายของผู้เรียน
                    ครูต้องปลูกฝังตั้งแต่เนิ่น ๆ ให้เป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ดี  ยกตัวอย่าง โรงเรียนบางแห่งไม่ให้นักศึกษาที่แต่งตัวไม่เรียบร้อยเข้าโรงเรียนเขาเลย

          5.9 นักศึกษาที่จะจบ
                     ครูจะต้องดูแล ให้ความสำคัญมากกว่าปกติ ใครไม่สอบ N-NET ต้องไปสอบ E-Exam อย่างเดียวเท่านั้น
          5.10 การแก้ มส.
                    1. หากจะแก้คะแนน แก้ มส. เนื่องจากเหตุผลความจำเป็น ควรแก้ก่อนการสอบปลายภาคเรียน โดยให้นายทะเบียนรับรู้ด้วย (การแก้ มส.หลังจากสอบปลายภาค ไม่ควรทำ เพราะดูไม่โปร่งใส และครูต้องรู้แล้วว่าผู้เรียน มส.หรือไม่ตั้งแต่ 7 สัปดาห์แรกแล้ว)
                    2. ตอนลงคะแนนกลางภาค ครูต้องตรวจสอบคะแนนให้ดี ฝ่ายเจ้าหน้าที่ลงทะเบียน ให้ตรวจสอบแล้ว จะอ้างอีกไม่ได้

           5.11การพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพครูและบุคลากรในปีงบประมาณ 2559
                     ฝ่ายการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีแผนจะจัดอบรมครู เรื่อง งานทะเบียน เช่น การดู กพช. การลงทะเบียนเรียน ได้กี่หน่วยต่อเทอม การลงทะเบียนเรียนสำหรับนักศึกษาภาคเรียนสุดท้าย ลงได้กี่หน่วย การดูว่านักศึกษาเหลืออีกกี่หน่วยกิจ ซึ่งครูทุกคนต้องรู้
          5.12 การมอบใบประกาศนียบัตร
                     การพิจารณามอบประกาศแก่ 1.ครูที่นักศึกษามีคะแนนปลายเฉลี่ยดีที่สุด 2.ครูที่นักศึกษาที่ขาดสอบน้อยสุด คนละ 1 รางวัล

          5.13 การนำข้อมูลใส่ในโปรแกรมค้นหาวุฒิบัตร
                     ฝ่ายทะเบียน ได้พัฒนาโปรแกรมการค้นหาวุฒิแล้ว (จะสามารถลดเวลาการมาค้นหาจากแฟ้มได้มาก) แต่ยังขาดคนลงข้อมูลตรงนี้ ทำจะแต่งตั้งคำสั่งให้

ที่ประชุม มีมติเห็นชอบ

เรื่องที่ 6 เรื่องที่หน่วยงานราชการแจ้งให้ทราบ
          -

เรื่องที่ 7 เรื่อง อื่น ๆ (ตามแต่จะมีผู้เสนอ)
          -

เลิกประชุมเวลา 12.00 น.
         
                                                          ……………………………..      ประธานในที่ประชุม
                                                          (นางศรีสง่า โภคสมบัติ)
            

                                                          ……………….……………..     เลขานุการ/ผู้บันทึก
                                                       (นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล)

รายงานผลการอบรมหลักสูตรฝึกอบรมข้าราชการบรรจุใหม่ (e-Learning) โดย ศูนย์พัฒนาการเรียนรู้ทางไกล สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงาน ก.พ.

คะแนนการฝึกอบรมทางไกลหลักสูตรฝึกอบรมข้าราชการบรรจุใหม่ (e-Learning)


ชื่อ - สกุล : นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล รหัสประจำตัว : OCSC270172
ตำแหน่ง : ครูผู้ช่วย ปฏิบัติงาน
หน่วยงาน : สำนักงาน กศน. สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กระทรวงศึกษาธิการ
ข้อมูล ณ วันที่ 28 ธันวาคม 2557


หมวดที่ 1: ปลูกฝังปรัชญาการเป็นข้าราชการที่ดี จำนวนข้อ 60% คะแนน Pre-test คะแนน Post-test
ชุดวิชาที่ 1: การเป็นข้าราชการ 20 12 12 15
ชุดวิชาที่ 2: การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท 30 18 18 22
หมวดที่ 2: ระบบราชการและการบริหารภาครัฐแนวใหม่
ชุดวิชาที่ 1: ระบบราชการไทย 20 12 14 16
ชุดวิชาที่ 2: การบริหารงานภาครัฐแนวใหม่ 20 12 12 15
ชุดวิชาที่ 3: การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 12 7 5 9
หมวดที่ 3: ความรู้พื้นฐานสำหรับข้าราชการ
ชุดวิชาที่ 1: วินัยและจรรยาข้าราชการ 10 6 6 6
ชุดวิชาที่ 2: ระเบียบแบบแผนของทางราชการ 30 18 17 25
ชุดวิชาที่ 3: กฏหมายพื้นฐานสำหรับข้าราชการ 12 7 5 7
หมวดที่ 4: เสริมสร้างสมรรถนะหลักและทักษะที่จำเป็น
ชุดวิชาที่ 1: การพัฒนาการคิด 20 12 17 14
ชุดวิชาที่ 2: การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ 20 12 12 13
ชุดวิชาที่ 3: มนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน 10 6 5 6
ชุดวิชาที่ 4: สมรรถนะหลักสำหรับข้าราชการพลเรือน 10 6 4 8
ชุดวิชาที่ 5: การวางแผนปฏิบัติงานโครงการ และการดำเนินการตามแผน 15 9 12 10
-รวม- 229
สรุปผลการฝึกอบรม ผ่าน


ผู้บันทึกคะแนน........................................................................................................
* หมายเหตุ : คะแนน Post-test ที่ผู้รับการฝึกอบรมทำได้ในแต่ละชุดวิชา จะต้องไม่ต่ำว่า 60% ของคะแนนเต็มในแต่ละชุดวิชานั้น ๆ