ค้นหาบทความในเว็บ

วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2564

1 กันยายน 2564 ได้รับการสนับสนุนให้เข้าร่วมอบรมหลักสูตรวิจัยในชันเรียน ของสำนักงาน กศน.

เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2564 นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ข้าราชการครู กศน.อำเภอสิงหนคร ได้รับการสนับสนุน จากผู้อำนวยการสถานศึกษา ให้เข้าร่วมอบรมหลักสูตรวิจัยในชันเรียน ของสำนักงาน กศน.
08.30 น. ดร.กุลธิดา รัตนโกศล บรรยายการเขียนโครงร่างการวิจัย (Research Proposal) ความสำคัญของโครงร่างการวิจัย องค์ประกอบของโครงร่างการวิจัย 13 หัวข้อ
1. ชื่อเรื่อง เขียนให้ง่ายต่อการทำความเข้าใขแต่มีความเป็นสากล (เขียนให้คนอื่นอ่าน)
หลักการเขียนโครงร่างและรายงานการวิจัย
1.ความถูกต้อง
- เขียนรายงานตามข้อเท็จจริง
- ปราศจากความมีอคติ
- ไม่บิดเบือนข้อมูลที่พบ
2. ความกระทัดรัด
- ใช้ข้อความสั้น ๆ ได้ใจความตรงประเด็น
- ไม่ใช้คำฟุ่มเฟื่อย
- ไม่ใช้คำปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ
3.ความชัดเจน
- ใช้ภาษาง่าย ๆ
- ใช้ภาษาที่มีความหมายเดียว
- ไม่ใช้ภาษาที่ผสม (ภาษาไทย//ภาษาต่างประเทศ) ฯลฯ
4. ความสอดคล้อง ใช้คำไหนให้ใช้คำนั้นทั้งฉบับเพื่อป้องกันความเข้าใจสับสน (ผู้เรียน ต้องทั้งฉบับ ไม่ใช่ผู้เรียนบ้างนักศึกษาบ้าง)
  
1.ชื่อเรื่อง (สิ่งที่ศึกษา+กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษา+วิธีการศึกษา)
1. ครอบคลุมประเด็นปัญหาการวิจัย
2. ความสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ คำถามการวิจัยและสมมติฐานการวิจัย
3.บอกทิศทางการวิจัย
4.ชัดเจน กะทัดรัด สื่อความหมายได้ดี
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 7 หัวข้อ ดังภาพ

2.คำถามการวิจัย
การตั้งคำถามหลักหรือคำถามสำคัญที่ผู้วิจัยต้องการคำตอบในการวิจัยนั้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้วิจัย
- กำหนดวัตถุประสงค์
- ตั้งสมมติฐาน ฯลฯ

วัตถประสงค์การวิจัย
เขียนได้ 2 รูปแบบ 
- วัตถุประสงค์ทั่วไป
- วัตถุประสงค์เฉพาะ
วัตถุประสงค์ที่ดี
- ชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่คลุมเคลือ
- สัมพันธ์ สอดคล้องกับชื่อเรื่อง คำถามการวิจัยและสมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี)
- ระบุว่าต้องการศึกษาสิ่งใด กับใคร และอย่างไร
- นำไปสู่การออกแบบการวิจัยได้

5.เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1. ส่วนแสดงให้เห็นว่าทฤษฎี แนวคิด หลักการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่นำเสนอ นำไปสู่คำตอบปัญหาวิจัยอย่างไร
2. แสดงภาพรวมของเรื่องที่จะวิจัย
3. แสดงให้เห็นที่มาของแนวคิดของนักวิจัย ในการเลือกวิธีดำเนินการวิจัย
4. ส่วนที่แสดงการสังเคราะห์ผลการค้นคว้ทของนักวิจัยแล้วนำมาสรุเป็นกรอบความคิดการวิจัย

6.สมมติฐานงานวิจัย

7.กรอบแนวคิดการวิจัย ประมวลความคิดรวบยอด ได้มาจากการศึกษาทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
เป็นตัวชี้นำหรือแนวทางไปสู่การกำหนดวิธีการการศึกษา การสร้างเครื่องมือ การเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล

8. ขอบเขตการวิจัย ด้านประชากร กลุ่มตัวอย่าง ด้านเนื้อหา ด้านตัวแปร ด้านระยะเวลา
ตัวแปรอิสระ  ตัวสาเหตุ
ตัวแปรตาม ตัวที่ต้องขึ้นเนื่องจากตัวแปรอิสระเป็นเหตุขึ้นมา

9. นิยามศัพท์เฉพาะ มาจากคีเวริ์คในชื่อเรื่องการวิจัย เป็นศัพท์เฉพาะการวิจัยนี้เท่านั้น

10. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย ผลลัพธ์ที่ได้จากการวิจัย ใครเป็นผู้ได้รับประโยชน์บ้าง ไม่ใช่เอาวัตถุประสงค์มาเขียน  ผู้เรียนได้อะไร ครูผู้สอนได้อะไร กศน.อำเภอได้อะไร

12. แผนการดำเนินการวิจัย เขียนได้ 2 แบบ 1. เขียนเป็นความเรียง 2. เขียนแบบตาราง

13. การอ้างอิงสารสนเทศ บทที่ 1 บางส่วน บที่ 2 ทั้งหมด บทที่ 3 หากมีการอ้างสูตร (ถ้ามี)
เขียนให้ถูกต้งตามหลักเขียนรูปแบบเดียวกันตลอดทั้งเล่ม บรรณานุกรมแยกอ้างอิงภาาาไทยและภาษาอังกฤษ
ไม่ใส่เลขหน้าได้ นิยมด้วย

1 กันยายน 2564 เข้าร่วมโครงการนิเทศออนไลน์และการประกันคุณภาพภายนอก สำนักงานกศน.จังหวัดสงขลา

เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2564 นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ข้าราชการครู กศน.อำเภอสิงหนคร ได้เข้าร่วมโครงการนิเทศออนไลน์และการประกันคุณภาพภายนอก สำนักงานกศน.จังหวัดสงขลา ภายใต้สถานการณ์การระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประจำปีงบประมาณ 2564 โดยนางละออง ภู่กลาง ศึกษานิทศก์ชำนาญการพิเศษ สำนักงาน กศน.จังหวัดตรัง เป็นวิทยากร จัดโดยสำนักงาน กศน.จังหวัดสงขลา
การนิเทศการศึกษา กระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา 
จุดมุ่งหมายการนิเทศ การนิเทศมี 2 ลักษณะ 1. การนิเทศภายนอก 2.การนิเทศภายใน (นิเทศโดยบุคลากรหน่วยงานเดียวกัน พัฒนางานร่วมกัน ช่วยแก้ปัญฆา พัฒนางาน)
ขั้นตอนการนิเทศภายใน
- วางแผน
- ชี้แจงผู้เกี่ยวข้อง
- อบรมพัฒนาศักยภาพ
- จัดทำเครื่องมือนิเทศ

เทคนิคในการวิจัย
การบรรยาย
การสัมภาษณ์
การสาธิตการสอน
การเยี่ยมเยียน
การประชุมนิเทศ
การประชุมปฏิบัติการ
การอบรม
การศึกษาเอกสาร
การจัดนิทรรศการ

การนิเทศออนไลน์ การนำเทคโนโลยีมาใช้ระหว่างผู้นิเทศกับผู้รับการนิเทศ
เงื่อนไขการนิเทศออนไลน์
อุปกรณ์สื่อสารที่มีภาพ เสียง ระบบอินเทอร์เน็ต เป็นเครื่องมือในการนิเทศ
ผลดีกับผู้นิเทศ
สามารถเห็นภาพกระบวนการจัดกิจกรรมการสอน
สามารถขยายภาพสื่ออุปกรณ์ที่ต้องการได้
สามารถให้ข้อเสนอแนะกับครูด้วยการสื่อสารสองทาง
ผลที่เกิดกับผู้รับการนิเทศ
1. มีการเตรียมการเป็นระบบมากขึ้น
2. สามารถควบคุมสถานการณ์ที่อาจเป็นผลต่อการดำเนินการสอนในครั้งนั้นได้ ฯลฯ
ทิศทางการนิเทศออนไลน์
เตรียมความพร้อมแก่บุคลากรด้านการใช้สื่อเทคโนโลยี











วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2564

31 สิงหาคม 2564 เข้าร่วมตลาดนัดการเรียนรู้วังจันทรเเกษม EP 7 Education Innovation นวัตกรรมเพื่ออนาคตการศึกษาไทย

เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2564 นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ข้าราชการครู กศน.อำเภอสิงหนคร ได้รับการสนับสนุนจากผู้อำนวยการ ให้เข้าร่วมตลาดนัดการเรียนรู้วังจันทรเเกษม EP 7 Education Innovation นวัตกรรมเพื่ออนาคตการศึกษาไทย โดย ศ ดร สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ Education Innovation คือ นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษาและการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจ ประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย










31 สิงหาคม 2564 เข้าอบรมพัฒนาตนเองตามหลักเกณฑ์ ที่ ก.ค.ศ. กำหนด หลักสูตร การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนฯ ของสำนักงาน กศน.

เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2564 นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ข้าราชการครู กศน.อำเภอสิงหนคร ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารในเข้าอบรมพัฒนาตนเองตามหลักเกณฑ์ ที่ ก.ค.ศ. กำหนด หลักสูตร การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนฯ ของสำนักงาน กศน. จำนวนผู้เข้าอบรม 120 คน

08.30 น. ดร.ปาน กีมปี บรรยายเรื่องการทำวิจัยในชั้นเรียน การกำหนดหัวข้อวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย
วัตถุประสงค์การวิจัยต้องสอดคล้องกับชื่อเรื่อง
การดำเนินการวิจัย ประชากร กลุ่มตัวอย่าง
เครื่องมือการวิจัย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ (ดูความเหมาะสมกับกลุ่มตัวอย่างที่วิจัย)
ออกแบบนวัตกรรม เช่น เรื่องการกล้าแสดงออก - แบบฝึกเพื่อการแสดงออก มอบหมายหัวข้อให้เขาไปฝึกที่บ้าน ฝึกสมาธิ ครูต้องมีความสร้างสรรค์
การกำหนดหัวข้อการวิจัย + 3 อย่าง คือ 1.วิธีการวิจัย 2.ตัวแปร 3.ประชากร
ต้องมีคำหลักส่งผลให้เกิดการกระทำ
วิธีการสอนโดยใช้ Google Meet  ไม่ใช่  นวัตกรรม เป็นเพียงการเลือกรูปแบบให้เหมาะสมเฉย ๆ 
10.30 น. ดร.จรัสศรี หัวใจ บรรยายปัญหาการเรียนรู้ และประเภทเครื่องมือในการพัฒนาการเรียนรู้
13.00 น. ดร.ปาน กีมปี บรรยาย พฤติกรรมความรับผิดชอบ การส่งงาน แจกแจง ส่งงานตรงเวลา งานครบถ้วน งานถูกต้อง














วันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2564

30 สิงหาคม 2564 ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารในเข้าอบรมพัฒนาตนเองตามหลักเกณฑ์ ที่ ก.ค.ศ. กำหนด หลักสูตร การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนฯ ของสำนักงาน กศน.

เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2564 นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ข้าราชการครู กศน.อำเภอสิงหนคร ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารในเข้าอบรมพัฒนาตนเองตามหลักเกณฑ์ ที่ ก.ค.ศ. กำหนด หลักสูตร การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนฯ ของสำนักงาน กศน. จำนวนผู้เข้าอบรม 120 คน

8.30 น. ดร.ปาน กิมปี บรรยาย
วิจัย : แนวทางการปฏิบัติที่ดี
Strand : เกลียวเชือกพัฒนาการวิจัยของครู

30 สิงหาคม 2564 13.00 อภิปราย ตรวจสอบปัญหา สรุปปัญหาเพื่อนำไปสู่การวิจัยในชั้นเรียน ได้หัวข้อและวัตถุประสงค์การวิจัย
Classroom Action Researh : CAR การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน
31 สิงหาคม 2564 เครื่องมือวิจัย การวิเคราะห์ ดูข้อมูลพื้นฐาน ความถี่  Xบาร์
1 กันยายน 2564 แผนปฏิบัติการรายบุคคล
ส่งงาน 5 กันยายน 2564
คะแนนเต็ม 100 คะแนน ทดสอบ 30 คะแนน ผ่าน (70) ชิ้นงาน 70 คะแนน เวลาเรียนร้อยละ 80

ปัญหาเวลามาเรียนไม่ตรงกัน
เวลากลางวันไม่สามารถพบกลุ่มได้
นักศึกษาพื้นฐานไม่เท่ากันมีการปรับพื้นฐาน

ต้องหาปัญหาที่แท้จริง แก้ปัญหาหลัก กระทบปัญหาเล็ก ๆ ไปด้วย
การมองปัญหา ต้องมองปัญหาให้ออก หากก้าวแรกไม่ตรงเป้าจะทำวิจัยออกมาได้ยาก

คุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน กศน. ดูจากคะแนน N-NET ได้ สาระทักษะความรู้ ความรู้พื่้นฐาน การประกอบอาชีพ การทักษะดำเนินชีวิต การพัฒนาสังคม

N - NET คือ การสอบสรุปรวม เรียนเพื่อให้ความรู้คงอยู่ สามารถชี้คุณภาพได้


13.00 น. ดร.จรัสศรี หัวใจ บรรยาย เรื่อง ปัญหา การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน CAR มีข้อแตกต่างจากการวิจัยในระดับปริญญา ครู คือผู้ดำเนินการวิจัยในชั้นเรียน หาเครื่องมือหรือนวัตกรรมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ทำเมื่อไร ทำอย่างไร PAOR (ใช้เวลาไม่นานประเด็นปัญหาต้องไม่กว้าง) ไม่ใช่แค่ศึกษาเฉพาะความพึงพอใจของผู้เรียน จะไม่เกิดประโยชน์ ทำในช่วงวัดและประเมินผลในการสอน เพื่อพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เรียน (ในเกณฑ์การประเมิน วPA ระบุไว้ด้วย) แก้ปัญหาให้เสร็จสิ้นในภาคเรียนในแต่ละประเด็น โดยครูนำวิธีการแก้ปัญหา โดยคิดเอง ทดลองเอง เชิงแก้ไข ป้องกัน พัฒนา

การออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูต้องมีวิธีการออกแบบ เกิดจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครูด้วยกัน ออกแบบที่แตกต่างไปจากเดิม ๆ
การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ E-Learning ระบุเฉพาะเจาะจงได้เลยว่าใช้อะไร 
วัตถุประสงค์ ศึกษาผลการใช้ระบบ E-Leraning 
งานวิจัยในชั้นเรียน ระบุตัวแปรเฉพาะเจาะจงไปได้เลย เนื้อหาอะไร เรื่องอะไร
















ปัญหาผลการสอบ N - NET 
การมาเรียนไม่ตรงเวลา
ความรับผิดชอบ  - ติดตามนักศึกษา - ส่งเสริมคุณธรรม


การขอมีและขอเลื่อนวิทยฐานะ
การอบรมพัฒนา เป็นส่วนหนึ่งของ วPA
ประสบการณ์ในการทำวิจัย
กลุ่มบริหารงานบุคคลและนิติการ (กบ.) จะชี้แจงเกณฑ์ วPA อบรมหรือประชาสัมพันธ์ ในช่วงเดือนกันยายน

วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2564

28 สิงหาคม 2564 พัฒนาตนเองเข้ารับการอบรมออนไลน์เชิงปฏิบัติการ การเข้าใช้ Canva

เมือวันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม 2564 นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ข้าราชการครู กศน.อำเภอสิงหนคร ได้พัฒนาตนเองโดยใช้เวลาในวันหยุดราชการ เข้ารับการอบรมออนไลน์เชิงปฏิบัติการ การเข้าใช้ Canva ผ่านช่องทาง YouTube Live 

การสมัคร  Canva for Education








29 สิงหาคม 2564 พัฒนาตนเองเข้ารับการอบรมออนไลน์เชิงปฏิบัติการ การสร้างเว็บไซต์การเรียนการสอนด้วย Google Sites

เมือวันอาทิตย์ ที่ 29 สิงหาคม 2564 นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ข้าราชการครู กศน.อำเภอสิงหนคร ได้พัฒนาตนเองโดยใช้เวลาในวันหยุดราชการ เข้ารับการอบรมออนไลน์เชิงปฏิบัติการ การสร้างเว็บไซต์การเรียนการสอนด้วย Google Sites ผ่านช่องทาง YouTube Live 
การทำหัวเบรนเนอร์
เว็บไซด์ Freepic.com ใช้ powerpoint ในการทำ
การกำหนด powerpoint ความสูง 30.80 * กว้าง 53.77 ซม.
การสร้าง SaveZone แทรกรูปร่างสี่เหลี่ยม กำหนดความสูง 6.48 ซม.  
กด Ctrl+D เป็นการทำซ้ำ
การทำปุ่ม 
13.23 * 13.23 ซม. Save เป็นไฟล์ PNG
การหา Icon ใน เว็บไซด์ Flation
การทำอักษรวิ่ง
การหาโค้ดสี
การหาโค้ดฟอนต์
การเพิ่มอีโมจิ getemoji
การทำภาพหมุน
การใช้เลย์เอา การลบให้เหลือเฉพาะปุ่ม

การหาวีดีโอการสอน = Project. 14 ของ สสวท










27 สิงหาคม 2564 เวลา 09.00-16.30 น. ได้รับการสนับสนุนจากผู้อำนวยการ กศน.อำเภอสิงหนครให้เข้ารับการประเมินวิทยฐานะชำนาญการ

วันที่ 27 สิงหาคม 2564 เวลา 09.00-16.30 น. นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ข้าราชการครู กศน.ได้รับการสนับสนุนจากผู้อำนวยการ กศน.อำเภอสิงหนครให้เข้ารับการประเมินวิทยฐานะชำนาญการ ตามประกาศ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสิงหนคร เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการประเมิน ตรวจสอบและกลั่นกรองข้อมูลข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในการขอมีวิทยฐานะชำนาญการ ครั้งที่ 5 (ครั้งสุดท้าย) ประจำปีการศึกษา 2563 ณ ห้องประชุม 8 เหลี่ยม กศน.อำเภอสิงหนคร ในการนี้ได้รับคำแนะนำ ข้อติชมการปฏิบัติงานเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขจากคณะกรรมการเมินกลั่นกรองทั้ง 3 ท่าน คือ
1. นายสหชัย กลัดเกล้า ครูชำนาญการ กศน.อำเภอสิงหนคร ประธานกรรมการ
2. นางประจวบสุข ซุ้นสุวรรณ ครูชำนาญการ กศน.อำเภอสทิงพระ กรรมการ
3. นางอำมร แก้วศรี ครูชำนาญการ กศน.อำเภอสทิงพระ กรรมการ