ค้นหาบทความในเว็บ

วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2564

4 สิงหาคม 2564 ได้รับการสนับสนุนจากผู้อำนวยการ กศน.อำเภอสิงหนคร ได้เข้ารับการพัฒนาตนเองตามที่ ก.ค.ศ กำหนด อบรมออนไลน์ การพัฒนาศักยภาพครูในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ของ สำนักงาน กศน.จังหวัดยะลา

เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2564 นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ข้าราชการครู กศน.อำเภอสิงหนคร ขออนุญาตและได้รับการสนับสนุนจากผู้อำนวยการ กศน.อำเภอสิงหนคร ได้เข้ารับการพัฒนาตนเองตามที่ ก.ค.ศ กำหนด อบรมออนไลน์ การพัฒนาศักยภาพครูในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ของ สำนักงาน กศน.จังหวัดยะลา จำนวน 20 ชั่วโมง
เวลา 08.30 - 12.00 น. เรียนรู้แผน 3 โดยนางละออง ภู่กลาง ศึกษานิเทศชำนาญการพิเศษ สำนักงาน กศน. จังหวัดตรัง วิทยากรสร้างแรงบันดาลในจโดยเปิดคลิปวีดีโอบุคคล กศน.ที่ประสบความสำเร็จในชีวิตในผู้เข้ารับการอบรมดู ซึ่งครูสามารถนำมาประยุกต์ในการจัดการเรียนการสอนได้

แนวคิดและหลักการของหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ใช้ปรัชญา "คิดเป็น"
อาชีพครู คือ หม้อข้าวหม้อแกง ของเรา
ครูเป็นตัวแปรที่สำคัญในการจัดการศึกษาให้ประสบความสำเร็จ ครูดี ครูเก่ง ครูมีจิตวิญญาณความเป็นครู มีความแม่นยำในด้านวิชาการ จะส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน output outcome ผลผลิตของนักศึกษา กศน. 
การจัดกิจกรรมในกระบวนการ PDCA ทุกกิจกรรมจะทำให้งานเป็นระบบ มีคุณภาพ ไม่หลุด (หัวใจของการดำเนินงาน)
ทำแผนการสอน
วัดและประเมินผล
บันทึกหลังการสอน
วิจัยในชันเรียน
ติดตามผู้เรียน
innovation คือ คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ เพื่อใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ในทุก กศน.ตำบล ควรต้องมี innovation 







13.00 - 16.30 น. นางละออง ภู่กลาง วิทยากร บรรยายการสอนแบบ Active Learning มี 4 กลุ่ม 
    1. การจัดการเรียนแบบเน้นประสบการณ์เป็นฐาน ส่งเสริมการเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้เรียน เชืงนามธรรม เช่น การสาธิต  ฝึกปฏิบัติ การสอนอาชีพ 
    2. การสอนแบบโครงงาน สามารถจัดเป็นกลุ่ม หรือเดี่ยวก็ได้ กำหนดเกณฑ์อย่างกว้าง ผู้สอนเป็นที่ปรึกษาไม่ใช่ผู้ทำให้ มีกรรมการประเมิน
    3. การสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน สมมติปัญหาขึ้น และลงมือแก้ปัญหา
    4. สอนโดยเน้นกระบวนการคิด กระตุ้นให้ผู้เรียนคิด ลำดับความคิดอย่างต่อเนื่อง ให้เหตุผล ประเมิน แก้ปัญหาอย่างมีหลักการ

การสอนแบบใช้โครงงาน ตอบโจทย์เรื่องการประกันคุณภาพ หากไม่มีร่องรอย ไม่มีคะแนน
ประเภทโครงงาน 
1. ประเภทสำรวจข้อมูล ไม่มีตัวแปร เช่น ประชากร พันธุ์ไม้ ชุมชน สำรวจแหล่งเรียนรู้ ปัญหาในชุมชน
2. ประเภทค้นคว้าทดลอง กระทำกับตัวแปรอิสระ ทดลองเพื่อทดสอบสมมตืฐานตามกระบวนการวิทยาศาสตร์ เช่น กระถางต้นไม้จากเศษใบไม้แห้ง กับดักแมลงสาบ ยุง
3. ประเภทสิงประดิษฐ นำความรู้ หลักการ มาใช้ ปรับปรุง พัฒนา  หรือสร้างสิ่งใหม่ ให้ดีกว่าเดิม ไม่ใช่การคัดลอก เช่น ที่สอยผลไม้ เครื่องตีไข่ ดักจับแมลงวันทอง ขั้นตอน 1ออกแบบชิ้นงาน 2.สร้างและประกอบชิ้นงาน 3.ทดลองใช้ 4.รายงานผล
4. ประเภทศึกษาทฤษฎี
บทบาทของครูในการทำโครงงาน เป็นที่ปรึกษาโครงงาน ให้กำลังใจ 

วิจัยในชั้นเรียน การวิจัย เพื่อแก้ปัญหา