ค้นหาบทความในเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2564

1 กุมภาพันธ์ 2564 ได้ร่วมประชุมด้วยกระบวนการ PLC ณ ห้องประชุม กศน.อำเภอสิงหนคร

เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ข้าราชการครู ได้ร่วมประชุมด้วยกระบวนการ PLC ณ ห้องประชุม กศน.อำเภอสิงหนคร โดยได้ประชุมเรื่องการนิเทศการศึกษาต่อเนื่อง ซึ่งได้ดำเนินการนำแบบทดสอบออนไลน์เข้ามาใช้ในการนิเทศด้วย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดความซ้ำซ้อน และสร้างระบบการเก็บข้อมูล หลักฐานการนิเทศอย่างเป็นระบบ


วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2564

20 มกราคม 2564 ร่วมงานพิธีฌาปนกิจศพ ภาคีเครือข่าย ของ กศน.ตำบลหัวเขา ณ วัดเขาน้อย อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2564 นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ข้าราชการครู กศน.อำเภอสิงหนคร ร่วมงานพิธีฌาปนกิจศพ ภาคีเครือข่าย ของ กศน.ตำบลหัวเขา ณ วัดเขาน้อย อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา เพื่อร่วมไว้อาลัยกับครอบครัวภาคีเครือข่าย โดยในการนี้ ในวันที 23 มกราคม 2563ได้เป็นตัวแทน กศน.อำเภอสิงหนคร ทอดผ้าบังสุกุล ในงานพิธีพิธีฌาปนกิจศพ ด้วย
# ภาคีเครือข่าย



วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2564

27 มกราคม 2564 เข้าร่วมกิจรรมจิตอาสาเราทำความดีเพื่อชาติศาสนา พระมหากษัตริย์

เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2564 นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ข้าราชการครูและบุคลากร กศน.อำเภอสิงหนครได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการ ให้เข้าร่วมกิจรรมจิตอาสาเราทำความดีเพื่อชาติศาสนา พระมหากษัตริย์ ณ บริเวณหน้าตลาดสดอำเภอสิงหนคร เพื่อทำความสะอาดตลาดป้องกันโรคโควิด-19 ที่กำลังระบาดระลอกที่สอง




วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2564

25 มกราคม 2564 นิเทศโครงการการจัดการศึกษาต่อเนื่องการพัฒนาสินค้าและออกแบบบรรจุภัณฑ์สินค้า

เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2564 นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ข้าราชการครู กศน.อำเภอสิงหนครได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการ กศน.อำเภอสิงหนคร ให้นิเทศโครงการการจัดการศึกษาต่อเนื่องการพัฒนาสินค้าและออกแบบบรรจุภัณฑ์สินค้า ณ กศน.ตำบลบางเขียด โดยมีนางสาวเสาวนีย์ ใจโต ครูอาสาสมัคร กศน. เป็นคณะผู้นิเทศ






วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2564

16 มกราคม 2564 รายงานการเข้าร่วมชมนิทรรศการวันครู ซึ่งจัดขึ้นโดยคุรุสภา เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ครูเข้าร่วมนิทรรศการออนไลน์ เรียนรู้และถอดบทเรียน เพื่อนำความรู้ที่ได้รับจากการชมนิทรรศการไปใช้ประโยชน์ในสถานศึกษา

เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2564 นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ครู กศน.อำเภอสิงหนคร ได้เข้าร่วมชมนิทรรศการวันครู ซึ่งจัดขึ้นโดยคุรุสภา เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ครูเข้าร่วมนิทรรศการออนไลน์ เรียนรู้และถอดบทเรียน เพื่อนำความรู้ที่ได้รับจากการชมนิทรรศการไปใช้ประโยชน์ในสถานศึกษาไม่มากก็น้อย โดยมีหัวข้อนิทรรศการ ดังนี้ 1.หัวข้อ Mind Set กระบวนทัศน์ใหม่วิธีคิดใหม่ 2. New Pedagogy ศาสตร์การสอน การเรียนรู้ใหม่ องค์ความรู้ใหม่ 3. Didital Literacy การรู้เท่าทันดิจิทัล การรู้เท่าทันโลกยุคใหม่ไร้พรมแดน 4. Best Practice แนวปฏิบัติที่ดีที่สุด ต้นแบบที่ยอดเยี่ยม ซึ่งเมื่อเข้ารับชมแล้วและมีการทำแบบทดสอบหลังการรับชมจะได้รับเกียรติบัตรการเข้าร่วมรับชมนิทรรศการ ระยะเวลาเข้าร่วมนิทรรศการ 20 ชั่วโมง โดยเรียนรู้นอกเวลาราชการ








1.หัวข้อ Mind Set กระบวนทัศน์ใหม่วิธีคิดใหม่



เรื่องที่ 1 การจัดการเรียนรู้ด้วย STEM EDUCATION ด้านอาชีวศึกษา
คือ การจัดการเรียนรู้เชิงรุกด้วยการบูรณาการข้ามสาระวิชาหรือสมรรถนะข้ามสายงาน Transversal Competencies มาเป็นองค์ประกอบในการจัดการเรียนรู้แบบใช้ความคิดสร้างสรรค์เป็นฐาน CBL วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชูทิศ กรุงเทพมหานคร
STEM EDUCATION เป็นการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดทักษะการทำงานร่วมกัน การคิดวิเคราะห์แก้ปัญหาตามสถานการณ์ด้วยสมรรถนะข้ามสายงานที่ตรงกับการศึกษาใน

อาชีพใหม่ทักษะใหม่
แนวโน้มของโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง พัฒนาขึ้นด้วยนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ ทำให้เกิดอาชีพใหม่ๆ อาชีพเดิมก็ต้องการทักษะของบุคลากรที่สูงขึ้น ในแง่ของศักยภาพด้านความรู้ความสามารถแทบจะครบทุกด้าน ไม่ได้เจาะจงแค่ความถนัดเฉพาะทางของสายอาชีพ แต่กลับเป็นความรู้ที่หลากหลาย คำว่า “ครบทุกด้าน” ก็ไม่ได้หมายความว่า ต้องมีความรู้เต็ม 100% ในทุกด้าน แต่เป็นการแบ่งทักษะความรู้ให้อยู่ในระดับที่เฉลี่ยในแต่ละด้าน พอเพียงที่จะเอาตัวรอดในศตวรรษที่ 21 ทักษะพื้นฐานที่สถาบันการศึกษากำหนดไว้ จึงจำเป็นที่จะต้องบูรณาการควบรวมศาสตร์สำคัญเข้าไว้ด้วยกัน นั่นคือ ศาสตร์สาขาวิชา วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) ที่เมื่อก่อนนี้เป็นทักษะพื้นฐานที่ถูกแยกเป็นเอกเทศในหลักสูตร แล้วใครสนใจเรื่องไหนก็เจาะลึกลงไปที่ศาสตร์นั้นๆ ตามที่ถนัด แต่ในปัจจุบันนี้ การแข่งขันรอบด้านของในแง่แรงงานคุณภาพการศึกษา ศาสตร์ที่ว่ามาทั้ง 4 ต้องถูกนำมาควบรวมกันเป็นพื้นฐาน ผสานผ่านการนำเสนอในรูปแบบของการปฏิบัติ มากกว่าการท่องจำเนื้อหา หรือแค่นั่งฟังบรรยายทฤษฏีทางเดียว การปฏิบัติลงมือทำบทเรียนที่บรูณาการ ผสมผสานศาสตร์ทั้ง 4 นั้นเรียกว่า STEM (Science Technology Engineering and Mathematics)



ลักษณะของการเรียนการสอนแบบ STEM Education
ลักษณะการจัดการเรียนการสอน ตามรูปแบบของ STEM นั้น ประกอบไปด้วย

1. การเรียนการสอนแบบบรูณาการ (Integration) ผสานความรู้ศาสตร์สำคัญ ทั้ง 4 เข้าด้วยกัน ตามสัดส่วนความเข้มข้นของบทเรียน หรือบูรณาการร่วมกับศาสตร์อื่น ๆ เช่น สังคมศาสตร์ วิธีที่ง่ายที่สุดคือ การนำ Technology เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนของศาสตร์อื่น ๆ

2. การเชื่อมโยงกิจกรรมการเรียนการสอน STEM ทั้ง 4 ศาสตร์ เข้ากับการประกอบอาชีพ เนื่องจากเมื่อผู้เรียนต้องสำเร็จการศึกษาไปแล้ว ทักษะหนึ่งที่เมื่อก่อนไม่ได้สอน นั่นคือ การแก้ปัญหาจากสิ่งแวดล้อม และสถานการณ์อื่นๆ ที่เป็นตัวแปร และสร้างความท้าทาย การเรียนการสอนแบบดั้งเดิมหรือ Traditional นั้น จบที่การเรียนการสอนเชิงลึกของแต่ละวิชา ไม่ได้สอนถึงปัญหาที่เกิดจากการทำงานจริง ๆ แล้วเฝ้าบอกผู้เรียนก่อนจบการศึกษาให้ไปเผชิญปัญหาดังกล่าวเอาดาบหน้า ซึ่งทำให้คุณภาพแรงงานต้องอยู่ในภาวะชงัก หรือฝืด เพราะแรงงานใหม่ที่เข้าตลาดงาน ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้งานและสะสมประสบการณ์ จากการแก้ปัญหาที่มีเงื่อนไขหลากหลายจริงๆ ก็คือ ปีที่ 3 ของการทำงาน และจำนวนของผู้ชำนาญการสายตรงกลับเหลือเพียง 20-40% ต่อปีเท่านั้น กิจกรรมการเรียนการสอนแบบ STEM จึงควรเป็นการนำปัญหาที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์จริง จากการทำงานมารวมกัน เช่น การยกตัวอย่างเชิงคณิตศาสตร์ให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์คาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจ เพื่อนำไปบูรณาการกับวิชาการจัดการ หรือ Logistics เป็นต้น ทางสถาบันอาจจะมีการเก็บองค์ความรู้ใหม่ๆ ในตัวของผู้สอน ไปจนถึงการนำผู้ประกอบการจริง มาร่วมในการออกแบบหลักสูตรการสอนให้อยู่ในรูปของความร่วมมือทางวิชาการ (MOU, a Memorandum Of Understanding) จากภาคการศึกษา และสถานประกอบการ โดยมีเป้าหมายคือ การพัฒนาศักยภาพแรงงานของประเทศไทยให้มีคุณภาพ และลดเวลาในการสะสมประสบการณ์ จากเดิมที่อยู่ในปีที่ 3 ให้เหลือเพียง 0-1 ปี

3. เน้นทักษะในศตวรรษที่ 21 หรืออาชีพใหม่ๆ ที่ปรากฏขึ้นในโลกใบนี้ ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับวิถีของโลก (Global Awareness) ความรู้เกี่ยวกับการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ สำหรับความพร้อมในการเป็นผู้ประกอบการ (Financial, Economics, Business and Entrepreneurial Literacy) ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองโลก (Civic Literacy) ความรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) ความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Literacy) ทักษะดังกล่าวที่ว่ามาจะอยู่ในรูปแบบของเนื้อหาเชิงสหวิทยาการ (Interdisciplinary) ที่เน้นสอดแทรกเข้าไปในเนื้อหาของวิชาหลักที่จะช่วยผู้เรียนได้เตรียมความพร้อมสู่ตลาดแรงงาน ด้วยทักษะความรู้หลากหลาย

4. การสร้างปัญหาและความท้าทาย (Problem Based Learning) ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ STEM นั้นต้องมีการระบุปัญหาจากกิจกรรม โดยปัญหานั้นประกอบไปด้วย ระดับความยากที่เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากที่สอน แต่ไม่ออกนอกเนื้อหามากเกินไป ผู้สอนจำเป็นต้องออกแบบให้ดี เพื่อให้ผู้เรียนทำความเข้าใจกับปัญหาตรงหน้า หลังจากนั้น ต้องมีการกำหนดเงื่อนไขให้กับผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้รวบรวมข้อมูลผ่านสารสนเทศด้วยเทคโนโลยี และแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และในบางรายวิชา ก็จะมีการนำแนวคิดด้านวิศวกรรมศาสตร์มาช่วยเหลือ เพื่อให้ผู้เรียนแยกย่อยองค์ประกอบ จากแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการแก้ปัญหา และประเมินความเป็นไปได้ที่ได้ค้นคว้ามา เพื่อระบุข้อดีและข้อจำกัดของแนวทางการแก้ปัญหาที่กำหนด กิจกรรม Take Home Project เป็นการกำหนดการบ้านให้ผู้เรียนได้เข้าไปศึกษาค้นคว้าที่บ้านเองตามระยะเวลาที่กำหนด หลังจากนั้น ผู้เรียนจะทำการออกแบบวิธีแก้ปัญหา และวางแผนดำเนินการแก้ปัญหา (Solution Design and Development) ช่วงสุดท้ายของกิจกรรมคือ การให้ผู้เรียนได้ทดลอง ทดสอบ ประเมินผล และปรับปรุงการแก้ปัญหานั้นๆ แล้วนำเสนอผลการแก้ปัญหา หรือวิธีการแก้ปัญหา ซึ่งขั้นตอนที่ว่ามาทั้งหมดนั้น ไม่ต้องจำกัดแนวความคิด ให้อิสระในการใช้วิธีและแนวทาง จำกัดเพียงเรื่องของเวลาเท่านั้น

5. พัฒนาครูผู้สอนและให้ผู้เรียนแสดงความเห็นต่อกิจกรรม เป็นการทำ Reflection สะท้อนความคิดหรือ Feed Back ของผู้เรียนที่มีต่อ STEM โดยแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ให้ผู้เรียนแสดงความเข้าใจต่อเนื้อหารายวิชาทั้ง 4 ที่นำมาบูรณาการ และอีกส่วนคือ การให้ผู้เรียนเสนอแนะ เพื่อนำไปเป็นข้อปรับปรุงการออกแบบการเรียนการสอนในรูปแบบกิจกรรมนี้ให้ดีขึ้น

เรื่องที่ 2 ถอดบทเรียนการก้าวสู่ยุคดิจิทัลอย่างรีบเร่งจากวิกฤต COVID-19 โดย ฝ่ายมัธยมโรงเรียนเพลินพัฒนา
ปัจจัยสำคัญ 3 ด้านที่ช่วยรับมือกับ COVID-19 ในยุคดิจิทัล คือ
1. ด้านการสร้างทีมครูที่มีความคล่องตัว (Agile Team)
จากการเร่งรีบขับเคลื่อนด้วยเชื่อแบบเดิมๆว่าการสั่งการจากบนลงล่าง (Top Down) จะทำให้เราเดินทางได้เร็วขึ้น เป็นจากล่างชึ้นบน (Bottom Up) โดยทำงานแบบ ร่วมคิดร่วม ทำไปด้วยกัน
สิ่งที่เราได้เรียนรู้ คือ “การรับฟังกัน” (Listening Relationship) เป็น หัวใจของทีมที่ “ไว้วางใจกัน”(Trust)
2. ด้านกระบวนการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้
แม้จะมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่ดีอย่างไร ก็ต้องปรับให้รับกับสภาพห้องเรียนที่ไม่เคยเหมือนหรือซ้ำกันเลยในการสอนแต่ละครั้ง การพัฒนาครูด้วยการอบรมเพียงอย่างเดียวจึงไม่เพียงพอ ทีมครูจึงฝึกฝนและเรียนรู้จากสถานการณ์จริงไปด้วยกัน โดยการมีผู้เชี่ยวชาญมาช่วยสอนงาน (Coach) ทำให้ครูพัฒนาได้ถูกทางและเร็วขึ้น ด้วยกระบวนการศึกษาบทเรียนร่วมกัน (Lesson Study: LS) เพื่อทำให้ครูเข้าใจการเรียนรู้ ของนักเรียนและมีทักษะการแก้ไขปัญหา
สิ่งที่ได้เรียนรู้ คือ แนวทางการพัฒนาครูแบบ 70 : 20 : 10 ซึ่งหมายถึงสัดส่วนการเรียนรู้บนสถานการณ์จริง (on the job training: OJT) การสอนงาน แบบมีพี่เลี้ยง (Mentoring-Coaching) และ การอบรม (Training) ตามลำดับ
3. ด้านการไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
การศึกษาในปัจจุบันมุ่งพัฒนาอย่างเป็นองค์รวมเพราะการมุ่งพัฒนาด้านวิชาการไม่เพียงพอสำหรับการพานักเรียนสู่เป้าหมายในอนาคต การมองเห็นและแก้ปัญหาเฉพาะด้านวิชาการจึงไม่รองรับเป้าหมายการศึกษาที่จะ “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” เพราะนักเรียนแต่ละคนมีความต้องการที่แตกต่างกัน
สิ่งที่ได้เรียนรู้ คือ การช่วยเหลือนักเรียนให้หลุดจากปัญหา จำเป็นต้องร่วมกันวิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริงของปัญหา (Root Cause Analysis: RCA) เพื่อการวางแผนการช่วยเหลือนักเรียน (Intervention)

ในการถอดบทเรียนครั้งนี้ ทำให้ตระหนักได้ว่าการเรียนรู้เหล่านี้เกิดขึ้น เพราะเรามีวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งเสริมให้ทุกคนกล้าคิดกล้าทำ และยอมรับการเรียนรู้จากความผิดพลาด และฐานของการให้คุณค่าในความเป็นมนุษย์และเพราะเราไม่ได้ก้าวเดินไปตามลำพัง แต่เรามีเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญที่เมตตามาเป็นโค้ชและเป็นที่ปรึกษา และมีผู้ปกครองที่พร้อมจะร่วมมือกับคุณครูและสนับสนุนโรงเรียน






เรื่องที่ 3 การเรียนรู้ที่เชื่อมโลกการสอนยุคเก่าสู่โลกการสอนยุคใหม่ KRUSO Chain for Education
การเรียนรู้ที่เชื่อมโลกการสอนยุคเก่าสู่โลกการสอนยุคใหม่ KRUSO Chain for Education ครูผู้สอนสามารถเก็บความรู้ที่มีให้สูญหายไปตามกาลเวลา หัวใจของการเรียนการสอนการที่ครุมุ่งหวังให้ผู้เรียนได้เกิดกระบวนการเรียนรู้ และเชื่อมต่อการสอนยุคเก่าไปยังการศึกษายุคใหม่อย่างมีความสุข ในอนาคตการเรียนจะไม่จบที่ห้องเรียน นักเรียนและครูแต่ละคนสามารถจะทำการเรียนการสอนจากที่ไหนก็ได้ นักเรียนแต่ละคนสามารถมีอิสระในการเลือกเวลาเรียนและสถานที่ในการเรียน application ที่สามารถตอบโจทย์ ทำให้เมื่อเกิดสถานการณ์ขึ้น ได้ปรับรูปแบบการเรียนไปเป็นระบบออนไลน์ได้ทันที และได้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้การเรียนการสอนในระบบออนไลน์หรือ NEW-NORMAL นั้นกลายเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนและครูไปแล้ว และหากจะจัดการเรียนการสอนออนไลน์หรือใช้เครื่องมือ Digital platform มาช่วยให้ให้มีประสิทธิภาพเทียบใกล้เคียงกับการเรียนการสอนแบบปกติและดียิ่งกว่านั้น สามารถอ่านได้เพิ่มเติม www.krusocenter.com/exhibition64.html


การพัฒนาครูในด้านการจัดการเรียนการสอนยุคใหม่ ที่ประกอบไปด้วย ทักษะทางความรู้และทักษะทางอารมณ์ ในณุปแบบเฉพาะต่างๆตามลักษณะห้องเรียนและผู้เรียนแต่ละแบบ ซึ่งเรียกว่า KRUSO MODEL เกิดจากองประกอบดังต่อไปนี้

K Knowledge
องค์ความรู้ของการจัดการเรียนการสอนของครู เน้นการคัดสรรค์ครูที่มีความรู้เฉพาะทางที่ตอบโจทย์สำหรับผู้เรียนในปัจจุบัน Teachers as an APP for Students ครูต้องเป็น APPสำหรับนักเรียน

R Relation
ผู้เรียนต้องรับรู้เสมือนครูอยู่ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นห้องเรียนหรือออนไลน์ Proximity-like Feeling between Teachers and Students เมื่อสร้างรูปแบบการเรียนการสอนแบบนี้จะส่งผลในข้อที่ S

U Understanding
การเข้าใจในตัวผู้เรียน เข้าใจในบริบทของตัวผู้เรียน เข้าใจในการใช้ชีวิต การดำเนินชีวิตของผู้เรียน พื้นฐานการเรียนของนักเรียน เมื่อครูเข้าใจในตัวผู้เรียน ครูจะสอนจากด้านของนักเรียนไม่ใช่การสอนจากฝั่งครูด้านเดียว

S Savior
ห้องเรียนที่ดีคือห้องเรียนที่ไม่อึดอัด บรรยากาศในการเรียนนั้นจำเป็นอย่างมากในการจัดการเรียนการสอน การวางตัวของครุต้องผ่อนคลายแต่ไม่ปวกเปียก เข้มงวดแต่ไม่แข็งกร้าว เมื่อทำเช่นนี้แล้ว ห้องเรียนนั้นจะเป็นห้องเรียนที่ผู้เรียนและครูสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนไปด้วยกันได้อย่างราบรื่นO Opportunity
ห้องเรียนที่ดีคือห้องเรียนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้ตอบคถามและข้อสงสัยได้ ครุผู้สอนต้องมีความรู้ที่สามารถตอบผู้เรียนได้ทันที นั้นจะสอดคล้องกับหัวข้อ K

BRIEF คือ เทคนิคการจัดการเรียนการสอนซึ่งได้รับการดำเนินการตามแนวทาง New Pedagogy โดยมุ่งเน้นในด้านการจัดการเรียนการสอนยุคใหม่ และผสานทักษะทางความรู้เข้ากับทักษะทางอารมณ์ เมื่อกล่าวถึงการเรียนการสอนในวิชาภาษาอังกฤษ ปัญหาที่ครูผู้สอนมักจะพบก็คือ นักเรียนจำนวนมากคิดว่าภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศที่ซับซ้อน ทั้งในด้านการพูด การฟัง การอ่าน และการเขียน อีกทั้งยังยากต่อการทำความเข้าใจและนำมาใช้สื่อสารจริงในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ นักเรียนอีกจำนวนหนึ่งมองว่า ภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศที่น่าเบื่อและไม่ได้มีบทบาทมากนักในสังคมไทย เมื่อโตขึ้น นักเรียนอาจไม่จำเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร การเรียนต่อ หรือการทำงาน หากไม่สนใจเรียนหรือไม่ใช้ภาษาอังกฤษให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ก็คงไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด ความเข้าใจเชิงลบเหล่านี้จะเปลี่ยนไปด้วยการประยุกต์ใช้เทคนิคการเรียนการสอน BRIEF ซึ่งเป็นเทคนิคที่สั้น กระชับ ประยุกต์ใช้ได้ง่าย และมีประสิทธิภาพทั้งในห้องเรียนปกติและห้องเรียนออนไลน์ เทคนิคนี้ประกอบด้วยขั้นตอนย่อย 5 ขั้นตอน ได้แก่

B Belonging
การเปิดใจนักเรียนให้รู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของห้องเรียน

R Revolution
การปฏิวัติความเชื่อหรือความเข้าใจของนักเรียนที่มีต่อภาษาอังกฤษ

I Inspiration

การสร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียนสนใจและกระตือรือร้นในการเรียนภาษาอังกฤษ

E Encouragement
การส่งเสริม สนับสนุน และให้กำลังใจนักเรียน เพื่อสร้างเสริมศักยภาพในการพัฒนาตนเอง

F Familiarity
เป็นส่วนช่วยเสริม แท้จริงแล้ว นักเรียนมีความคุ้นเคยกับภาษาอังกฤษอยู่ระดับหนึ่งแล้ว


เรื่องที่ 4 ผู้นำในตัวฉันที่สุจิปุลิ



ภาวะผู้นำในตัวฉัน หมายถึง การที่นักเรียนได้นำกรอบความคิดและหลักการของการเป็นผู้มีอุปนิสัยของผู้มีประสิทธิผล โดยใช้หลักการ 7 อุปนิสัยของผู้มีประสิทธิผล โดยมีแนวคิดตามรายละเอียดแต่ละอุปนิสัย ดังนี้

อุปนิสัยที่ 1 บีโปรแอ็กทีฟ (Be Proactive)

ฉันเป็นคนรับผิดชอบ ใช้ความคิดสร้างสรรค์ เลือกการกระทำ ทัศนคติและอารมณ์ ฉันไม่กล่าวโทษผู้อื่นเมื่อทำผิดพลาด ทำสิ่งที่ถูกต้องด้วยตัวเอง ถึงแม้ว่าจะไม่มีใครเห็นสิ่งที่ฉันทำก็ตาม

อุปนิสัยที่ 2 เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ (Begin with the end in mind)

ฉันวางแผนล่วงหน้าและกำหนดเป้าหมายชัดเจน ฉันทำสิ่งที่มีคุณค่าและสร้างความแตกต่าง ฉันเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของห้องเรียนและมีส่วนสนับสนุนพันธกิจและวิสัยทัศน์ของโรงเรียน และตั้งมั่นที่จะเป็นพลเมืองคุณภาพของสังคม

อุปนิสัยที่ 3 ทำสิ่งที่สำคัญก่อน (Put first things first)

ฉันใช้เวลาทำสิ่งที่สำคัญสูงสุด และปฏิเสธสิ่งที่ไม่สำคัญ ฉันจัดลำดับความสำคัญของสิ่งที่ต้องทำ จัดตารางเวลา และทำตามแผนที่กำหนด ฉันเป็นคนมีระเบียบวินัย

อุปนิสัยที่ 4 คิดแบบชนะ-ชนะ (Think win win)

ฉันปรับสมดุลระหว่างความกล้าที่จะทำสิ่งที่ฉันต้องการให้ได้ กับความใส่ใจต่อผู้อื่นในสิ่งที่เขาต้องการ ฉันหาทางออกแบบชนะ – ชนะเสมอเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้น ฉันเลือกฝากบัญชีออมใจ (Emotional Bank Account)

อุปนิสัยที่ 5 เข้าใจผู้อื่นก่อน แล้วจึงให้ผู้อื่นเข้าใจเรา (Seek first to understand then to be understood)

ฉันรับฟังความคิดและความรู้สึกของผู้อื่น ฉันพยายามเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ด้วยกรอบความคิดของเขา ฉันฟังโดยไม่ขัดจังหวะผู้พูด และฟังด้วยหู ตา รวมทั้งใจ ฉันกล้าพูดในสิ่งที่ฉันคิด

อุปนิสัยที่ 6 ผนึกพลังประสานความต่าง (Synergize)

ฉันเห็นความสำคัญของจุดแข็งของผู้อื่นและเรียนรู้จากเขา ฉันเข้ากับผู้อื่นได้ดีแม้กระทั่งคนที่แตกต่างจากฉัน ฉันทำงานกลุ่มได้ดีและมองหาความคิดใหม่ๆ จากผู้อื่น เพราะรู้ว่าการทำงานร่วมกันสร้างทางเลือกใหม่ที่ดีกว่าการที่ใครคนหนึ่งจะหาได้เพียงลำพัง ฉันมองหาทางเลือกที่สาม

อุปนิสัยที่ 7 ลับเลื่อยให้คมอยู่เสมอ (Sharpen the saw)

ฉันดูแลสุขภาพด้วยการกินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอและพักผ่อนให้เพียงพอ (กายภาพ) ฉันเรียนรู้วิธีการใหม่ๆ จากที่อื่น ไม่ใช่จากที่โรงเรียนเท่านั้น (สติปัญญา) ฉันใช้เวลาทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัวและเพื่อนฝูง (สังคมและอารมณ์) ฉันแบ่งเวลาให้กับการช่วยเหลือผู้อื่น (จิตวิญญาณ) ฉันสร้างสมดุลให้สี่มิติที่สำคัญของตัวฉัน

โดยทั้ง 7 อุปนิสัย จะถูกพัฒนาผ่านตัวนักเรียนแต่ละคน และเป็นแบบของการพัฒนาเพื่อความก้าวหน้า โดยที่ 3 อุปนิสัยแรก โปรแอ็กทีฟ เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ และทำสิ่งที่สำคัญก่อนเป็นหลักการที่ช่วยให้บุคคลพึ่งตนเองได้มากขึ้น ซึ่งเรียกว่าชัยชนะส่วนตน ซึ่งมีแก่นสำคัญ ได้แก่ ทักษะการบริหารเวลา ทักษะการวางแผน ทักษะการตั้งเป้าหมาย และทักษะพื้นฐานเรื่องการจัดการให้เป็นระบบระเบียบ

อุปนิสัยที่ 4 5 และ 6 ซึ่งได้แก่ คิดแบบชนะ-ชนะ เข้าใจผู้อื่นก่อนแล้วจึงให้ผู้อื่นเข้าใจเรา และผนึกพลังประสานความต่าง จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะช่วยให้บุคคลพึ่งพาซึ่งกันและกันมากขึ้น เป็นแนวทางพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาความขัดแย้ง ทักษะในการฟัง ทักษะเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ และทักษะการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม

อุปนิสัยที่ 7 คือ ลับเลื่อยให้คมอยู่เสมอ เป็นการรวบรวมอุปนิสัยอื่นๆ เข้าด้วยกันตามหลักการเติมพลังชีวิต ทั้ง 4 มิติ คือ ด้านกายภาพ สังคมและอารมณ์ สติปัญญา และจิตวิญญาณ


เรื่องที่ 5 เน้นการส่งเสริมและพัฒนาครูด้านกระบวนการทางความคิดโดยเน้นให้ความสําคัญแก่ผู้เรียน
โดย กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา




การส่งเสริมและพัฒนาครูโดยเน้นกระบวนการทางความคิดมุ่งเน้นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนเป็นสําคัญ ในปี 2562 พบว่า “คุณภาพการศึกษาของประเทศไทยยังคงมีความเหลื่อมลํ้าด้านความรู้ ระหว่างผู้เรียนในเมืองกับผู้เรียนในชนบทที่ต่างกันถึง 2 ปีการศึกษา”


2. New Pedagogy ศาสตร์การสอน การเรียนรู้ใหม่ องค์ความรู้ใหม่
















เรื่องที่ 1 "50 ไอเดียการสอนต้นแบบที่สร้างสรรค์"



การพัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อส่งเสริม DOE จึงถือว่าเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะสามารถส่งเสริมความเข้าใจแนวทางการจัดการเรียนการสอนตาม โดยดิจิทัลแพลตฟอร์มดังกล่าวเป็นต้นแบบสาธิตให้ครูได้เห็นตัวอย่างการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้เกิด DOE ช่วยให้ครูผ้สอนเกิดแรงบันดาลใจ เข้าใจ และเข้าถึงแนวคิดดังกล่าว นอกจากนี้ ยังเป็นช่องทางการติดตามการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของคนไทย 4.0 อีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งจะได้ผลตอบรับโดยตรงจากผู้เรียนแบบ real time จากระบบออนไลน์

ในโอกาสนี้ คุณครูหรือผู้สอนท่านใดสนใจรับชมไอเดียการสอนหรือต้องการร่วมแชร์ไอเดียการสอนของตนเองสามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://inskru.com/nomination?fbclid=IwAR1QYhRxeOFr6RvUhB26xGcq03haS8Uhwzux1p1H0k8vtM2EHpQevGDoxJY

เรื่องที่ 2 เว็บลิงค์ (Web Link) รวมสื่อดิจิทัลและนวัตกรรมการจัด การเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน




เว็บลิงค์นี้จัดทำขึ้น เพื่อเชื่อมโยงสื่อดิจิทัลเกี่ยวกับนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการนำมาตรฐานการศึกษาของชาติสู่การปฏิบัติ ในการพัฒนาผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษา (DOE) อีกทั้งเพื่อให้ครู ผู้บริหารการศึกษา ศึกษานิเทศก์ พ่อแม่ผู้ปกครอง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ใช้เป็นแนวทาง ในการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน ส่งเสริมให้คนไทยเกิดผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ ตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561 คือ

1. เป็นผู้เรียนรู้ เพื่อสร้างงานและคุณภาพชีวิตที่ดี

2. ผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อสังคมที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

3. พลเมืองที่เข้มแข็ง เพื่อสันติสุข
โดยเว็บลิงค์นี้ได้จำแนกสื่อที่รวบรวมตามระดับการศึกษา ได้แก่ ปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย/อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา ท่านที่สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.onec.go.th/index.php/page/view/Outstand/4228


เรื่องที่ 3 แสงประทีปส่องทาง แสงสว่างแห่งพิบูลประชาสรรค์



ปัจจุบันโลกมีความเจริญก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดด สืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม แห่งยุคศตวรรษที่ 21 ส่งผลให้การศึกษาต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว พลิกผัน และคาดไม่ถึง เยาวชนยุคใหม่จึงต้องมีทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งในการเรียนรู้และปรับตัว ครูผู้สอนจึงมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความแตกต่างของผู้เรียนและสภาวการณ์ทางสังคม

ทั้งนี้ ครูผู้สอน จึงต้องช่วยเตรียมความพร้อมของเยาวชนให้เป็นผู้รู้จักคิด เรียนรู้ ทำงาน แก้ปัญหา สามารถสื่อสาร และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ ตลอดจนการปลูกฝังทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้และปรับตัว ผ่านกลวิธีการสอน การสร้างเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการคิดอย่างสร้างสรรค์ การผลิตสื่อประกอบการเรียนการสอน และการเลือกใช้สารสนเทศและเทคโนโลยี นอกจากนี้ครูผู้สอนต้องเปี่ยมไปด้วยคุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้และเป็นผู้นำทางวิชาการ

จากที่กล่าวมาย่อมเห็นว่า ครูผู้สอนเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในระบบการศึกษา และเป็นปัจจัยสำคัญ ที่จะทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้ผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ของการสอนที่ตั้งไว้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนสุนันทา จึงศึกษาและเก็บข้อมูลภายใต้หัวข้อ “แสงประทีปส่องทาง แสงสว่างแห่งพิบูลประชาสรรค์” จากครูชุรินทร ก้อนแก้ว โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ เพื่อนำเสนอภาระงานและบทบาทหน้าที่ของครู คุณลักษณะและมาตรฐานวิชาชีพครู ความเป็นครูวิชาชีพ การจัดการความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพครู ในด้านเนื้อหาวิชาที่สอน กลวิธีการสอน การสร้างเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ และการคิดสร้างสรรค์ กระบวนการแสวงหา และการเลือกใช้สารสนเทศ การสร้างความก้าวหน้าในวิชาชีพครู การพัฒนาวิชาชีพครูอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน ซึ่งผู้ศึกษาเห็นว่าการศึกษาในหัวข้อข้างต้น จะเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยต่อเติมช่องว่างในการพัฒนาต่อยอดความเป็นครูวิชาชีพของคณะผู้ศึกษา ตลอดจนช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจถึงความสำคัญระหว่างบทบาทหน้าที่ความเป็นครูกับการศึกษาไทย ให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ตลอดจนปลูกฝังทัศนคติที่ช่วยส่งเสริมและพัฒนาความเป็นครูด้านกระบวนการทางความคิด โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางอีกด้วย

3. Didital Literacy การรู้เท่าทันดิจิทัล การรู้เท่าทันโลกยุคใหม่ไร้พรมแดน

เรื่องที่ 1 พลังครูวิถีใหม่ ฉลาดรู้เท่าทันดิจิทัล Digital literacy of Matthayom Watnairong School

โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการ โดยเริ่มจากให้ครูและบุคลากรของโรงเรียนเข้าร่วมการอบรมการใช้งาน เพื่อสร้างความเข้าใจการใช้เทคโนโลยีให้มากยิ่งขึ้นและนำไปพัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้แก่นักเรียนของโรงเรียน โดยโรงเรียนนำเทคโนโลยีมาใช้แต่ละส่วน ดังนี้



การใช้ (Use)

1. นักเรียน
- การจัดการเรียนการสอนออนไลน์
- การปรับพื้นฐานออนไลน์
- การสอบผ่านระบบออนไลน์
- การส่งข้อมูลประชาสัมพันธ์ผ่านระบบออนไลน์ เช่น การเลือกชุมนุมออนไลน์ โฮมรูม การประชุมระดับชั้น แนะแนวการศึกษาต่อ ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นต้น

2. บุคลากรภายในโรงเรียน

ผู้บริหาร
- มีการนิเทศติดตามผ่านระบบออนไลน์
- การลงนามหนังสือออนไลน์

ครูและบุคลากรทางการศึกษา
- การประชาสัมพันธ์ผ่านระบบออนไลน์
- การอบรมผ่านระบบออนไลน์ทั้งครูไทยและครูต่างชาติ
- การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาผ่านระบบออนไลน์ เช่น การเลื่อนวิทยฐานะ เป็นต้น
- การลาออนไลน์
- การส่งคำสั่ง หนังสือราชการออนไลน์
- การมาปฏิบัติราชการ
- การสื่อสารระหว่างหน่วยงานภายในโรงเรียน
- การขออนุญาตไปราชการ
- การแจ้งซ่อมของฝ่ายอาคารออนไลน์
- การประชุมออนไลน์

3. ผู้ปกครอง
- การประชุมผู้ปกครองออนไลน์
- การติดตามดูแลนักเรียน
- การประชาสัมพันธ์ผ่านทางออนไลน์

4. ชุมชน
- การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย เช่น เพจโรงเรียน เฟซบุ๊ค เว็บไซต์โรงเรียน
- อบรมการใช้เทคโลยีให้แก่บุคคลภายนอก

การเข้าใจ (Understand)

โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง ได้มีการประชุมผู้ปกครอง เพื่อสร้างความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีและตระหนักถึงการใช้โซเชียลมีเดีย โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วม ดังนี้
- ประชุมผู้ปกครองออนไลน์
- การให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้สื่อโซเชียล
- ระบบ SDQ การทำแบบออนไลน์
- การสแกนบัตรนักเรียนเข้า - ออกโรงเรียน

การสร้าง (Create)


โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง ได้นำ Google App มาใช้เป็นเทคโนโลยีหลักในการบริหารงานภายในโรงเรียนและการจัดการเรียนการสอน โดยนำมาพัฒนาเพื่อใช้ในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. ด้านการจัดการเรียนการสอน
- การจัดการเรียนการสอน Online ด้วย Google Classroom
- การจัดทำกำหนดการสอน Online ด้วย Google Doc
- การติดตามและนิเทศการเรียนการสอน Online ด้วย Google Form และ Google Classroom
- ตารางสอน Online ด้วย Google Sheet
- การสอบ Pre-test, Post-Test Online กิจกรรมสอนปรับ
- พื้นฐานและงาน Open House ด้วยGoogle doc , Google Form

2. ด้านการบริหารวิชาการ
- การรับสมัครนักเรียนออนไลน์
- การกรอกแบบฟอร์มมอบตัวออนไลน์
- การลงทะเบียนเลือกวิชาเสรีเพิ่มเติมออนไลน์
- แบบตอบรับการเข้าร่วมประชุมผู้ปกครองออนไลน์
- การลงทะเบียนเลือกชุมนุมออนไลน์

3. ด้านการบริหารกิจการนักเรียน
- การตัดคะแนนพฤติกรรมนักเรียน
- การเช็คชื่อเข้าร่วมกิจกรรมหน้าเสาธงผ่านระบบ E-Student
- ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
- งานสภานักเรียน
- โรงเรียนสุจริต (Best Practice รูปแบบการส่งเสริมกิจกรรมยอดคนดีศรีนายโรง)

4. ด้านการบริหารงานบุคคล
- การลาออนไลน์
- การรายงานการไปราชการออนไลน์
- รายงานการประเมินตนเอง (SAR)
- การรายงานการมาปฏิบัติงาน (Time attendance Report)
- การประเมินครูผู้ช่วยโดย G-suite
- การตรวจสอบอัตรากำลังออนไลน์

5. ด้านการเงิน
- การชำระเงินผ่านระบบออนไลน์

6. ด้านการบริหารอาคารสถานที่
- แบบคัดกรองตนเองโรงเรียนมัธยมวัดนายโรงเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นมาตรการดูแลและป้องกันเชื้อไวรัส Covid-19
- การแจ้งซ่อม
- งานโสตทัศนศึกษาและ ICT

7. ด้านการบริหารทั่วไปและงานธุรการ
- งานประชาสัมพันธ์
- งานสารสนเทศโรงเรียน
- แบบประเมินความพึงพอใจโดยใช้ระบบออนไลน์
- E-Office

- หนังสือสั่งการ (คำสั่งโรงเรียน)

เข้าถึง (Access)


ในปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จากยุค Analog ไปสู่ยุค Digital และยุค Robotic จึงทำให้เทคโนโลยีดิจิทัลมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตและการทำงาน ตัวอย่างเว็บไซต์และการเข้าถึง (Access) เทคโนโลยีดิจิทัล ที่มีประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมวัดนายโรง ที่ตระหนักและพยายามให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างจริงจัง
- DLTV
- PhET
- IXL
- Khan Academy
- Kahoot
- Hour of code

4. Best Practice แนวปฏิบัติที่ดีที่สุด ต้นแบบที่ยอดเยี่ยม
เรื่องที่ 1 รางวัลนวัตกรรม PLC
การยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาแบบองค์รวม หรือ T-SIP: Thailand School Improvement Program





องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
การพัฒนาเครือข่ายโรงเรียนต้นแบบเพื่อยกระดับคุณภาพงานวิชาการ
ผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
ลักษณะเด่น
- ขับเคลื่อนจากความพร้อมและแรงจูงใจของฝ่ายบริหารเป็นลำดับแรกและเดินกลยุทธ์ไปที่ตัวแทนประเภทขนาดสถานศึกษาทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นขนาดตัวแทนของโรงเรียนในสังกัดอบจ.ขอนแก่น
- เปลี่ยนแปลงจากอุปสรรคในห้องเรียนสู่การปรับเปลี่ยนโยบายของโรงเรียน เพื่อมุ่งให้ครูทำงานร่วมกันได้โดยเรื่องเวลาไม่ใช่อุปสรรค
- เน้นเป้าหมาย 3 ด้านคือ ครูมืออาชีพ นักเรียนมีศักยภาพ โรงเรียนคุณภาพ ผ่านการออกแบบห้องเรียนร่วมกันที่ใช้แนวปฏิบัติที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้อย่างสูง

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 จังหวัดสุรินทร์
การพัฒนาเครือข่ายโรงเรียนต้นแบบเพื่อยกระดับคุณภาพงานวิชาการ
โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพผ่านการพัฒนาบทเรียน

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 33
ลักษณะเด่น
- ขับเคลื่อนจากภูมิศาสตร์พื้นที่และกำหนดโหนดเป้าหมายตามภูมิศาสตร์
- ใช้สมดุลของการพัฒนาคุณภาพห้องเรียนควบคู่กับการพัฒนาความก้าวหน้าทางวิชาชีพ ของครูแบบคู่ขนานภายในสังกัด
- ลบภาพลักษณ์ความทรงจำของครูต่อการนิเทศก์แบบเดิม สู่การให้ศึกษานิเทศก์เป็นเพื่อนคู่คิดในการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา โดยการจัดสรรตารางศึกษานิเทศก์ลงสนับสนุนอย่างเต็มกำลัง

โรงเรียนบ้านยางขาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2
เครือข่ายการบริหารจัดการศึกษา เพื่อการพัฒนาผู้เรียนผ่านกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
ลักษณะเด่น
- ขับเคลื่อนเครือข่ายตามกระบวนการ PLC ทั้งระดับกลุ่มผู้บริหารจากกลุ่มโรงเรียนที่เข้าร่วมและระดับกลุ่มครูผู้สอนเพื่อให้เกิดโครงสร้างการทำงานที่สอดคล้องและเดินไปด้วยกัน
- การออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้หน้าเดียวที่สามารถบอกถึงลำดับขั้นการจัดการเรียนรู้จริงในชั้นเรียน ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างครูผู้สอนและครูร่วมสังเกตการณ์สอน จนสามารถเก็บข้อมูลได้ตรงเป้าหมายการพัฒนาและสามารถให้ข้อมูลย้อนกลับหลังการสอนได้อย่างเป็นรูปธรรม
- การออกแบบการจัดการเรียนรู้ ด้านวิทยาการคำนวณที่แสดงออกถึงความสามารถของผู้เรียนเป็นหลักโดยเริ่มจากระดับความง่ายของเนื้อหาไปจนถึงความซับซ้อนของเนื้อหาที่เพิ่มขึ้นและนักเรียนสามารถติดตามครูได้อย่างชัดเจนโดยผู้เรียนได้ร่วมกันอภิปรายและทำงานอย่างทั่วถึง

โรงเรียนบ้านท่าข้าม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6
Task Based Learning เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่การเป็นนวัตกร
ลักษณะเด่น
- ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานเป็นฐาน (Task based Learning: TBL) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงออกแบบของนักเรียนผ่านการปฏิบัติจริง อาทิเช่น กิจกรรมส้มตำ กิจกรรมแพนเค้ก กิจกรรมมอนสเตอร์ตัวใหม่ กิจกรรมบัวลอยสมการ เป็นต้น
- การทำงานร่วมกันระหว่างโรงเรียน มหาวิทยาลัย และชุมชน สามารถทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันระหว่างโรงเรียนกับสังคมภายนอก จนทำให้ครูเกิดความคิดหลากหลายในการออกแบบสถานะการณ์จริงมาสู่การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน

โรงเรียนเทพอุดมวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 จังหวัดสุรินทร์
การยกระดับคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 อย่างยั่งยืน
ด้วยการจัดการเรียนรู้ที่ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงร่วมกับการสอนแบบโครงงานฐานวิจัยโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพผ่านระบบสารสนเทศและเทคโนโลยี


ลักษณะเด่น

นำร่องในทุกกลุ่มสาระวิชา โดยประยุกต์เอาแนวคิดด้านเศรษฐกิจพอเพียงและแนวปฏิบัติที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้อย่างสูงมาประกอบการออกแบบการจัดการเรียนรู้ภายในห้องเรียน
ผู้บริหารและคณะครูทำงานร่วมกันโดยใช้ IDPRS Model – (Inspiration, Determination, Practice, Result, Share) ผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
การส่งต่อการพัฒนาทักษะผู้เรียนด้วยแนวปฏิบัติที่นำมาใช้ร่วมกันระหว่างกลุ่มสาระ เป็นจุดเปลี่ยนของการเรียนรู้ร่วมกันของคณะครูต่อการพัฒนาแนวทางการสอนสำหรับระดับมัธยมศึกษา

โรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 10 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1
การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานบูรณาการกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านการคิดและนวัตกรรมและการทำงานเป็นทีม
ของนักเรียนโ
รงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 10
ลักษณะเด่น
นำร่องใน 3 กลุ่มวิชาหลัก ได้แก่ ปฐมวัย ภาษา วิทย์-คณิต โดยใช้แนวคิดด้านเศรษฐกิจพอเพียงผ่านการเรียนรู้ด้วยโครงงานในช่วงลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้
ผู้บริหารใช้วงจรของ PLC ให้ครูมาร่วมออกแบบการเรียนรู้ร่วมกัน ที่ดึงเอาแก่นของหลักเศรษฐกิจพอเพียง มาสู่การออกแบบกิจกรรมโครงงานและการประเมินได้อย่างสอดคล้อง
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนจากโครงงานครั้งนี้ เป็นจุดเริ่มให้กลุ่มครูพัฒนาตนเองเพิ่มเติมเกี่ยวกับศาสตร์การจัดการเรียนรู้สำหรับประถมศึกษา


เครือข่ายโรงเรียนปางมะผ้าพิทยาสรรพ์ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34
การพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ยั่งยืนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามศาสตร์พระราชา
ผ่านกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของโรงเรียนจังหวัดแม่ฮ่องสอน


ลักษณะเด่น

ขับเคลื่อนเครือข่ายตามกระบวนการ PLC ระดับกลุ่มโรงเรียนโดยได้ศึกษาทฤษฎีเชิงระบบและได้ประยุกต์ใช้ทฤษฎีเชิงระบบการแก้ปัญหาแบบองค์รวมตามศาสตร์พระราชา
มีระบบบริหารจัดการทีมด้วยรูปแบบ TEAK MODEL และมีกระบวนการนิเทศ กำกับติดตามผ่าน KANYA MODEL เพื่อมุ่งเป้าหมายให้เกิดความสำเร็จต่อผู้เรียนแบบ STAR
ครูสมาชิกร่วมกันพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผล และการบันทึกหลังสอนเพื่อการพัฒนาผู้เรียน จนเกิดหลักฐานเชิงประจักษ์ที่สามารถสรุปข้อมูลผ่านงานวิจัยในชั้นเรียนได้
เน้นที่การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัวนักเรียน อาทิเช่น การใช้ฉลากผลิตภัณฑ์ขวดน้ำดื่ม มาคำนวณหาส่วนประกอบต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเกิดความต้องการใฝ่เรียนรู้จริงและสามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ต่อยอดกับการใช้ชีวิตประจำวันได้


เรื่องที่ 2

การพัฒนาทักษะการให้เหตุผลอย่างไม่เป็นทางการ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผ่านการจัดการเรียนรู้โดยใช้ประเด็นทางสังคม ที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์เป็นฐาน

ผู้วิจัย : นายอัศวิน ธะนะปัด
โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์
จังหวัดเชียงราย





การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชาชีววิทยา เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสุรวิทยาคาร จังหวัดสุรินทร์
โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E)

ผู้วิจัย : นายพิรุณ ไพสนิท
โรงเรียนสุรวิทยาคาร
จังหวัดสุรินทร์



ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอน แบบศูนย์การเรียนร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ
ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมการทำงานกลุ่มวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานอาชีพ
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 (ปวช.2) วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชูทิศ

ผู้วิจัย : ว่าที่ ร้อยตรีจิรายุทธิ์ อ่อนศรี
วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชูทิศ
กรุงเทพมหานคร



ผลการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับชุดการสอน
แบบศูนย์การเรียนที่มีต่อผลลัพธ์ การเรียนรู้ (Learning outcomes)
ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

ผู้วิจัย : นางสาวศิริพร ชอบสะอาด
โรงเรียนบ้านสวน (จั่นอนุสรณ์)
จังหวัดชลบุรี



ความสัมพันธ์เชิงเส้นของปัจจัยด้านบุคคลกับนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู
ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้วิจัย : นายธีรพงษ์ แสงสิทธิ์
โรงเรียนห้วยชันวิทยา
จังหวัดขอนแก่น





เรื่องที่ 3
ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดกาญจนบุรี

ชื่อนวัตกรรม : ภูมิปัญญาเบ็ดเสร็จ (Multiple Development Machine with Biofeedback)
โรงเรียนสาธิตสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ จังหวัดนนทบุรี

ชื่อนวัตกรรม : SPIM LEARNING MODEL
โรงเรียนวัดแม่เตย จังหวัดสงขลา

ชื่อนวัตกรรม : ทำความดีด้วยหัวใจ บวรร่วมใจ เพื่อ MEATOEY
โรงเรียนจันทร์ประดิษฐารามวิทยาคม กรุงเทพมหานคร
วิชาการคู่คุณธรรม
โรงเรียนจันทร์ประดิษฐารามวิทยาคม กรุงเทพมหานคร
โรงเรียนศรีสองรักษ์วิทยา จังหวัดเลย

ชื่อนวัตกรรม : การจัดการศึกษาเพื่ออาชีพ "นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์" โดยใช้รูปแบบ SRISONGRAK MODEL
โรงเรียนเนินกุ่มวิทยา จังหวัดพิษณุโลก

ชื่อนวัตกรรม : NOENKUM MODEL “ฟักข้าวผลิตภัณฑ์มหัศจรรย์”( Gac Health Care Products)
โรงเรียนบ้านปลาดาว จังหวัดเชียงใหม่

ชื่อนวัตกรรม : Makerspace แหล่งเรียนรู้พื้นที่สร้างสรรค์นักสร้างนวัตกรรมแห่งบ้านปลาดาว
โรงเรียนเทศบาลประตูลี้ จังหวัดลำพูน

ชื่อนวัตกรรม : การส่งเสริมทักษะภาษาอังกฤษด้วยกิจกรรม English Clinic: I can read เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
โรงเรียนมอ.วิทยานุสรณ์ จังหวัดสงขลา

ชื่อนวัตกรรม : กิจกรรมเสริมทักษะ PSUWIT WORLD CLASS LEARNER เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่ศตวรรษที่ 21
โรงเรียนทุ่งหว้าวรวิทย์ จังหวัดสตูล

ชื่อนวัตกรรม : การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม “อุทยานธรณีสตูล (Satun Geopark)
โรงเรียนหนองพอกวิทยาลัย จังหวัดร้อยเอ็ด

ชื่อนวัตกรรม : บ้านหลังเรียนนาฏมวยไทย ศูนย์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่ยั่งยืน
โรงเรียนหนองสูงสามัคคีวิทยา จังหวัดมุกดาหาร

ชื่อนวัตกรรม : การพัฒนาหลักสูตร ฝ้ายงามครามสวย โดยใช้ “BAIMON MODEL”

เรื่องที่ 4
รางวัลคุรุสภา 9 รางวัล


เรียนรู้และตอบคำถามปาฐกถา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเสวนา "การปาฐกถาหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ครั้งที่ 4 เรื่อง “พลังครูไทยวิถีใหม่" รอบที่ 3


วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2564

18 มกราคม 2564 เข้าร่วมโครงการพัฒนาบุคลากรครูด้านการใช้เทคโนโลยีการจัดการเรียนการสอน

เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2564 นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ข้าราชการครู กศน.อำเภอสิงหนครและคณะบุคลากร เข้าร่วมโครงการพัฒนาบุคลากรครูด้านการใช้เทคโนโลยีการจัดการเรียนการสอน ณ ห้องประชุมสำนักงาน กศน.อำเภอสิงหนคร เรียนรู้เรื่องการใช้งาน VROOM







20 มกราคม 2564 เข้าร่วมโครงการพัฒนาบุคลากรครูด้านการใช้เทคโนโลยีการจัดการเรียนการสอน

เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2564 นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ข้าราชการครู กศน.อำเภอสิงหนครและคณะบุคลากร เข้าร่วมโครงการพัฒนาบุคลากรครูด้านการใช้เทคโนโลยีการจัดการเรียนการสอน ณ ห้องประชุมสำนักงาน กศน.อำเภอสิงหนคร เรียนรู้เรื่องการใช้งาน Microsoft Office การใช้ PowerPoint





19 มกราคม 2564 ได้รับมอบหมายจากสำนักงาน กศน.จังหวัดสงขลาให้เป็นวิทยากรให้ความรู้ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ ศูนย์ดิจิทัลชุมชน หลักสูตร การใช้งานโปรแกรมสำนักงานเพื่อสร้างโอกาสการมีงานทำ

วันที่ 19 มกราคม 2564 นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ข้าราชการครู กศน.อำเภอสิงหนคร ได้รับมอบหมายจากสำนักงาน กศน.จังหวัดสงขลาให้เป็นวิทยากร ครู ก ให้ความรู้ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ ศูนย์ดิจิทัลชุมชน หลักสูตร การใช้งานโปรแกรมสำนักงานเพื่อสร้างโอกาสการมีงานทำ ณ โรงแรม ที อาร์ ร๊อค ฮิลล์ โฮเทล อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยมี นายณัฐพงษ์ นวลมาก ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ การอบรมใช้ Microsoft office 

ขอบคุณท่านรองผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัดสงขลา รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.และผู้อำนวยการ กศน.อำเภอสิงหนคร ที่ให้โอกาสในครั้งนี้
ระยะเวลาในการอบรม 6 ชั่วโมง


สามารถดาวน์โหลดไฟล์ได้เป็นวิทยาทานเพื่อนำไปปรับปรุงประยุกต์ใช้ได้
โดยคำนึงถึงเรื่องการให้เครดิตผู้พัฒนาเป็นสำคัญด้วย