ค้นหาบทความในเว็บ

วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2559

กศน.อำเภอบางสะพาน ร่วมประชุมชี้แจงยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงานสำนักงาน กศน.ประจำปีงบประมาณ 2560

เมื่อวันที่ 26 - 30 ตุลาคม 2559 ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางสะพาน โดยนายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ครู รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ กศน.อำเภอบางสะพาน ร่วมประชุมชี้แจงยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงานสำนักงาน กศน.ประจำปีงบประมาณ 2560 ณ โรงแรมมุกดาหารแกนด์ จังหวัดมุกดาหาร เพื่อรับทราบนโยบาย เพื่อนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติอย่างงเป็นเอกภาพ 

ข้อคิดที่ได้จากการประชุม
ถ้าท่านรัก กศน. กศน.ก็รักท่าน
ทำงานด้วยกระบวนการ PDCA
คิดให้ง่าย ทำให้ได้ ถูกต้องตามหลักการ หลักเกณฑ์ มีหลักฐาน


ท่านเลขาธิการ กศน. มอบนโยบายในที่ประชุมวันนี้ ( 28 ต.ค.59 ) ว่า
ปีงบประมาณ 2560 นี้
1. ขอความร่วมมือครู กศน. บันทึกข้อมูลในระบบ DMIS ให้เป็นปัจจุบัน จะมีผู้ดูแลติดตามการบันทึกข้อมูลเป็นรายตำบล หากไม่บันทึกให้เป็นปัจจุบันจะตักเตือน 3 ครั้ง


2. จะพัฒนาบุคลากร โดยการทดสอบสมรรถนะของครู 2 สมรรถนะ คือ
1) สมรรถนะหลัก ได้แก่ การจัดกระบวนการเรียนรู้ / การเป็นวิทยากรกระบวนการ / การเป็นนักจัดการความรู้และอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้
2) สมรรถนะสายงาน ได้แก่ ทักษะการสอนในวิชาหลัก ( วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ )
ถ้าผลการทดสอบสมรรถนะของครูไม่ได้ตามเกณฑ์ ให้เข้ารับการอบรมพัฒนาเข้ม เพื่อพัฒนาการสอนของครูให้มีคุณภาพ
🍀🍇นโบายการพัฒนาครู กศน.🍇🍀
สำนักแต่งตั้งคณะกรรมการออกแบบทดสอบสมรรถนะครูแบบสอบเพื่อตรวจสอบความรู้และสมรรถนะครูอาจะใช้สอบหน้าจอ (แต่ละคนจะได้ข้อสอบคนละชุด ลอกกันไม่ได้)
1.ด้านสมรรถนะหลัก ครูทุกคนต้องเป็นวิทยากรกระบวนการ(Facilitator) ได้ คือ การเอื้ออำนวยให้เกิดการเรียนรู้ สามารถจัดการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้
2. สมรรถนะประจำสาย ครูต้องมีความรู้ในรายวิชาหลัก ไทย E คณิต วิทย์
ซึ่งทั้ง 2 สมรรถนะนั้นต้องอาศัย
     -  จิตวิทยาผู้ใหญ่
     -  เทคนิคการพบกลุ่ม
     -  มนุษยสัมพันธ์ การประสานงาน
     -  การจัดการความรู้
     -  การพูด
ดังนั้น ครูต้องรอบรู้ ทำงานเป็น และพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง
แนวทางการทำงาน กศน.ประจำปีงบประมาณ 2560
1. ยึดประชาชนที่มีอายุระหว่าง 15-59 ปีเป็นฐาน โดยให้เน้นสภาพของพื้นที่เป็นหลักและความต้องการเป็นรอง
2.ใช้ฐานข้อมูลตำบลกำกับติดตาม โดยสำนักจะแต่งตั้งผู้รับผิดชอบกำกับติดตามรายตำบล
3. ต้องรู้สภาพปัญหาแต่ละระดับ
ปัญหาระดับบุคคล เช่น
     -  ไม่รู้หนังสือ
     -  ไม่จบการศึกษาภาคบังคับ
     -  อ่านหนังสือน้อย
     -  ฐานะยากจน
     -  ขาดทักษะชีวิต
ปัญหาระดับชุมชน เช่น
     -  ครอบครัวแตกแยก
     -  ยาเสพติด
     -  ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ปัญหาระดับประเทศ เช่น
     -  คุณภาพการศึกษาต่ำ
     -  คุณภาพชีวิตต่ำ
     -  เศรษฐกิจฐานรากอ่อนแอ
     -  ขาดความสามัคคี
     -  แย่งชิงทรัพยากร
     -  สังคมเสื่อมโทรม
ทุกปัญหาใช้การศึกษาเป็นตัวนำ ยึด หลักปรัชญาคิดเป็น
กิจกรรมพิเศษ
1. กศน.ตำบลทุกแห่ง จะต้องสร้างเมือง(ชุมชน)แห่งการเรียนรู้ โดยการจัดการประชุมหรือเวทีประชาคม เพื่อSWOTชุมชน วิเคระห์ชุมชนให้รู้ปัญหา อุปสรรค จุดเด่น จุดด้อย ความรู้ต่างๆ ในชุมชน แนวทางการแก้ไขปัญหา หรือความรู้ต่างๆที่ประชาชนควรรู้ตามสถานการณ์ แล้วทำเป็นหนังสือพิมพ์ฝาผนัง)(ข่าวสารน่ารู้ของชุมชน)
2. โรงเรียนประถมที่ประกาศยุบเลิก ให้ กศน.ตำบลประสานกีบชุมชนและเขตพื้นที่เพื่อขอใช้เป๋น กศน.ตำบล หรือศูนย์การเรียนชุมชน
3. ใช้เทคโนโลยีในการจัดกระบวนการเรียนรู้ การส่งงาน การติดต่อสื่อสารระหว่างครูกับผู้เรียนบ
4. การตรวจเลือดนักศึกษา (การวัดความรู้นศ.) ว่าใครอ่านไม่ออก เขียนไม่คล่อง ใครเก่ง ใครเด่นเรื่องใด แต่ละคนมีความรู้ในระดับใด
5. การส่งเสริมการอ่าน โดยใช้บ้านหนังสือชุมชน หสม. เป็นแหล่งเรียนรู้
6. การจัดการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่เกษตรทฤษฎีใหม่แบบปลอดสารเคมี
ซึ่งแต่ละกิจกรรมจะมีสั่งการมาอีกครั้งหนึ่ง
7.ให้กศน.อำเภอจัดตั้งชมรมอาสายุวดกาชาดอย่างน้อย 1 ชมรม ๆ ละ ไม่น้อยกว่า 30 คน
👍🏾
"นำ กด จด ถ่าย"
💕นำ คือ ให้ชาวบ้านนำพาในการหาข้อมูล หรือมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลต่างๆ ไม่ใช่ครูคิดเอง
💚กด คือ การกดGPS. หรือการปักหมุดชุมชนหรือขอบเตของชุมที่ต้องการจัดทำข้อมูล
❤️จด คือ การบันทึกข้อมูลที่ได้จากการมีส่วนร่วมของชุมชน
💙ถ่าย คือ การคืนข้อมูลกลับให้ชุมชน เพื่อให้ชุมชนได้เรียนรู้ วิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อย ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ปัญหา ร่วมกัน
ซึ่งจุดประสงค์หลัก ไม่ใช่ กศน.ต้องการข้อมูล แต่เป็นยุทธศาสตร์ให้ประชาชนเรียนรู้และแก้ปัญหาของชุมชน นั่นคือ การสร้างเมือง(ชุมชน)แห่งการเรียนรู้ นั่นเอง






ร่างคำสั่งเรื่อง การมอบหมายครูอาสาให้ปฏิบัติงานในหนาที่ ประจำปี งบประมาณ ๒๕๕.....

ร่างคำสั่ง ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอําเภอบางสะพาน ที่ /๒๕๕.....
เรื่อง การมอบหมายครูอาสาสมัคร กศน.ให้ปฏิบัติงานในหน้าที่หัวหน้างาน ประจำปี งบประมาณ ๒๕๕.....

-----------------------------------------

ดวย ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอําเภอบางสะพาน มีตำแหน่งครูอาสาสมัคร กศน. จำนวน 2 คนและมีบทบาทหน้าที่ในคำสั่งที่ผ่านมาไม่ชัดเจน เพื่อให้การดําเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอําเภอบางสะพาน เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจคําสั่งสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ 489/2551 เรื่องมอบอํานาจให้ ผู้อํานวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอําเภอ / เขต ปฏิบัติ ราชการแทนปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ขอ 1 การปกครองบังคับบัญชา พนักงานราชการ ลูกจางที่ปฏิบัติงาน ในสถานศึกษาตาม ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีวาดวยพนักงานราชการ พ.ศ.2547 และระเบียบ กระทรวงการคลังวาดวย ลูกจางประจําของส่วนราชการ พ.ศ. 2537 และการมอบหมายการปฏิบัติงาน ราชการของขาราชการและบุคลากรของสถานศึกษา จึงขอแต่งตั้งครูอาสาสมัคร กศน.รับผิดชอบงานในหนาที่ ดังตอไปนี้


นางสาวอรุณรัตน์ จิตรมั่น ตำแหน่ง  หัวหน้างานการศึกษาต่อเนื่อง
หน้าที่ 
1. ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับงานการศึกษาต่อเนื่องและควบคุม ติดตามการทำงานของคณะทำงานที่ตนเองได้มอบหมายและรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ
2. ศึกษาหาความรู้ รวมถึงข้อมูลการเบิกจ่ายเกี่ยวกับงานการศึกษาต่อเนื่อง
3. รวบรวมหลักสูตรในงานการศึกษาต่อเนื่อง
4. นิเทศติดตามการจัดการศึกษาต่อเนื่อง
5. ควบคุมทะเบียนวุฒิบัตรการจัดการศึกษาต่อเนื่อง
6. ควบคุมข้อมูลสารสนเทศงานการศึกษาต่อเนื่อง

นางสาวทัณฑิมา สุขเกษม ตำแหน่ง  หัวหน้างานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
หน้าที่ 
1. ดำเนินการงานจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็นระบบ ช่วยคิดและหาวิธีแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และควบคุม ติดตามการทำงานของคณะทำงานที่ตนเองได้มอบหมายและรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ
2. ศึกษาหาความรู้ รวมถึงข้อมูลการเบิกจ่ายเกี่ยวกับงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. ควบคุมภายในและประกันความเสี่ยงในงานพื้นฐาน
3. งานทะเบียนวัดผลประเมินผล
4. ส่งเสริมผู้ไม่รู้หนังสือและการเรียนรู้หนังสือ

ใหผูที่ไดรับการแตงตั้งตามคําสั่งนี้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความตั้งใจ มีความวิริยะอุตสาหะ ตระหนักรูในบทบาทหนาที่ของตน ปฏิบัติงานใหเกิดความเรียบรอย ถูกตองตามระเบียบของทางราชการ มุงเนน ผลประโยชนของทางราชการเป็นหลัก มิก่อใหเกิดความเสียหายแก่ทางราชการ

ทั้งนี้ตั้งแตบัดนี้เปนตนไป

สั่ง ณ วันที่        เดือน               พ.ศ. ๒๕๕.....


(นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล)
ครู รักษาการในตำแหน่ง
ผูอํานวยการศูนย การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอําเภอบางสะพาน

วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2559

หัวข้อประชุม 1 พ.ย. 59

การดำเนินงานให้เป็นไปตามกระบวนการ PDCA
การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
แนวคิดคิดให้ง่าย ทำให้ได้ มีผลงานหลักฐานชัด
หลักเกณฑ์ หลักการ และหลักฐาน
การตรวจสอบวุฒิ
การจัดกิจกรรมในศูนย์ กศน.ตำบล ทั้ง 4 ศูนย์ (แนะนำให้ทำแผนการลงตำบล ทำตามแผนและรายงาน)

จำนวนนักศึกษาของแต่ละ กศน.ตำบล
คลิป D.I.Y




ท่านเลขาธิการ กศน. มอบนโยบายในที่ประชุมวันนี้ ( 28 ต.ค.59 ) ว่า
ปีงบประมาณ 2560 นี้
1. ขอความร่วมมือครู กศน. บันทึกข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน จะมีผู้ดูแลติดตามการบันทึกข้อมูลเป็นรายตำบล หากไม่บันทึกให้เป็นปัจจุบันจะตักเตือน 3 ครั้ง
2. จะพัฒนาบุคลากร โดยการทดสอบสมรรถนะของครู 2 สมรรถนะ คือ
1) สมรรถนะหลัก ได้แก่ การจัดกระบวนการเรียนรู้ / การเป็นวิทยากรกระบวนการ / การเป็นนักจัดการความรู้และอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้
2) สมรรถนะสายงาน ได้แก่ ทักษะการสอนในวิชาหลัก ( วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ )
ถ้าผลการทดสอบสมรรถนะของครูไม่ได้ตามเกณฑ์ ให้เข้ารับการอบรมพัฒนาเข้ม เพื่อพัฒนาการสอนของครูให้มีคุณภาพ

🍀🍇นโบายการพัฒนาครู กศน.🍇🍀
สำนักแต่งตั้งคณะกรรมการออกแบบทดสอบสมรรถนะครูแบบสอบเพื่อตรวจสอบความรู้และสมรรถนะครูอาจะใช้สอบหน้าจอ (แต่ละคนจะได้ข้อสอบคนละชุด ลอกกันไม่ได้)
1.ด้านสมรรถนะหลัก ครูทุกคนต้องเป็นวิทยากรกระบวนการ(Facilitator) ได้ คือ การเอื้ออำนวยให้เกิดการเรียนรู้ สามารถจัดการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้
2. สมรรถนะประจำสาย ครูต้องมีความรู้ในารายวิชาหลัก ไทย E คณิต วิทย์
ซึ่งทั้ง 2 สมรรถนะนั้นต้องอาศัย
-จิตวิทยาผู้ใหญ่
-เทคนิคการพบกลึ่ม
-มนุษยสัมพันธ์ การประสานงาน
-การจัดการความรู้
-การพูด
ดังนั้น ครูต้องรอบรู้ ทำงานเป็น และพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง
แนวทางการทำงาน กศน.ประจำปีงบประมาณ 2560
1. ยึดประชาชนที่มีอายุระหว่าง 15-59 ปีเป็นฐาน โดยให้เน้นสภาพของพื้นที่เป็นหลักและความต้องการเป็นรอง
2.ใช้ฐานข้อมูลตำบลกำกับติดตาม โดยสำนักจะแต่งตั้งผู้รับผิดชอบกำกับติดตามรายตำบล
3. ต้องรู้สภาพปัญหาแต่ละระดับ
ปัญหาระดับบุคคล เช่น
-ไม่รู้หนังสือ
-ไม่จบการศึกษาภาคบังคับ
-อ่านหนังสือน้อย
-ฐานะยากจน
-ขาดทักษะชีวิต
ปัญหาระดับชุมชน เช่น
-ครอบครัวแตกแยก
-ยาเสพติด
-ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ปัญหานะดีบประเทศ เช่น
-คุณภาพการศึกษาต่ำ
-คุณภาพชีวิตต่ำ
-เศรษฐกิจฐานรากอ่อนแอ
-ขาดความสามัคคี
-แย่งชิงทรัพยากร
-สังคมเสื่อมโทรม
ทุกปัญหาใช้การศึกษาเป็นตัวนำ ยึดหลักปรัชญาคิดเป็น
กิจกรรมพิเศษ
1. กศน.ตำบลทุกแห่ง จะต้องสร้างเมือง(ชุมชน)แห่งการเรียนรู้ โดยการจัดการประชุมหรือเวทีประชาคม เพื่อSWOTชุมชน วิเคระห์ชุมชนให้รู้ปัญหา อุปสรรค จุดเด่น จุดด้อย ความรู้ต่างๆ ในชุมชน แนวทางการแก้ไขปัญหา หรือความรู้ต่างๆที่ประชาชนควรรู้ตามสถานการณ์ แล้วทำเป็นหนังสือพิมพ์ฝาผนัง)(ข่าวสารน่ารู้ของชุมชน)
2. โรงเรียนประถมที่ประกาศยุบเลิก ให้ กศน.ตำบลประสานกีบชุมชนและเขตพื้นที่เพื่อขอใช้เป๋น กศน.ตำบล หรือศูนย์การเรียนชุมชน
3. ใช้เทคโนโลยีในการจัดกระบวนการเรียนรู้ การส่งงาน การติดต่อสื่อสารระหว่างครูกับผู้เรียนบ
4. การตรวจเลือดนักศึกษา (การวัดความรู้นศ.) ว่าใครอ่านไม่ออก เขียนไม่คล่อง ใครเก่ง ใครเด่นเรื่องใด แต่ละคนมีความรู้ในระดับใด
5. การส่งเสริมการอ่าน โดยใช้บ้านหนังสือชุมชน หสม. เป็นแหล่งเรียนรู้
6. การจัดการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่เกษตรทฤษฎีใหม่แบบปลอดสารเคมี
ซึ่งแต่ละกิจกรรมจะมีสั่งการมาอีกครั้งหนึ่ง
7.ให้กศน.อำเภอจัดตั้งชมรมอาสายุวดกาชาดอย่างน้อย 1 ชมรม ๆ ละ ไม่น้อยกว่า 30 คน
👍🏾


"นำ กด จด ถ่าย"
💕นำ คือ ให้ชาวบ้านนำพาในการหาข้อมูล หรือมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลต่างๆ ไม่ใช่ครูคิดเอง
💚กด คือ การกดGPS. หรือการปักหมุดชุมชนหรือขอบเตของชุมที่ต้องการจัดทำข้อมูล
❤️จด คือ การบันทึกข้อมูลที่ได้จากการมีส่วนร่วมของชุมชน
💙ถ่าย คือ การคืนข้อมูลกลับให้ชุมชน เพื่อให้ชุมชนได้เรียนรู้ วิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อย ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ปัญหา ร่วมกัน
ซึ่งจุดประสงค์หลัก ไม่ใช่ กศน.ต้องการข้อมูล แต่เป็นยุทธศาสตร์ให้ประชาชนเรียนรู้และแก้ปัญหาของชุมชน นั่นคือ การสร้างเมือง(ชุมชน)แห่งการเรียนรู้ นั่นเอง

วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ตัวอย่างการสอนการเรียนรู้แบบ DIY

ตัวอย่างการสอนการเรียนรู้แบบ DIY

แผนการเรียนการสอนโดยใช้ ONIE MODEL

ขั้นตอนการถ่ายทำแบบ DIY
1.เขียนสคลิปตามแผนการสอน
เตรียมแผนการสอน/เตรียมเอกสาร/นำนักศึกษาเข้าสู่บทเรียนโโยการเล่าเนื้อหาที่จะสอน/ทำแบบฝึกหัดก่อนเรียน/สอนตามกระบวนการ ONIE ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้/ทำแบบฝึกหัดหลังเรียน/สรุปองค์ความรู้ให้นักศึกษาอีกครั้ง

2.เตรียมสื่อ อุปกรณ์ เช่น โปรเจกเตอร์ กระดานไวท์บอร์ด/ปากกา/แบบฝึกหัด/ใบความรู้/(ตามแผนการสอนที่เตรียมมา)
3. ความยาวประมาณ 10 นาที(ให้ครบกระบวนการ ONIE)
อาจจะมีการซ้อมก่อนการถ่ายทำ 
 
เป้าหมาย
มีครูผู้สอน/ผู้เรียนและผู้ถ่ายทำ
แผนการเรียนการสอนโดยใช้ ONIE MODEL


หัวเรื่อง
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
เนื้อหา
วิธีการเรียนรู้
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
การวัดและประเมินผล
การทำไข่เค็มแบบ DIY
สามารถทำไข่เค็มแบบ DIY
สามารถนำตัวอย่างการสอนไปประยุกต์ใช้ได้
การทำ
การทดลองตามกระบวนการวิทยาศาสตร์
ขั้นที่ 1 กำหนดสภาพปัญหา ความต้องการ
1.ครู/พูดคุยกับนักศึกษา สอบถามเกี่ยวกับประสบการณ์ในการดำรงชีวิตประจำวันที่เกี่ยวข้องกับเกลือ /ประโยชน์/ชื่อทางวิทยาศาสตร์/ความรู้จากประสบการณ์เดิม
2. ครู อธิบายให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลจากเว็บไซด์และใบความรู้
ขั้นที่ 2 แสวงหาข้อมูลและการจัดการเรียนรู้
ครูผู้สอนนำเข้าสู่บทเรียน
จัดกระบวนการเรียนรู้ตามขั้นตอนที่เตรียมไว้
 
ขั้นที่ 3 การปฏิบัติและนำไปประยุกต์ใช้
นักศึกษาทุกคนรับชมการสาธิตและนำไปประยุกต์/ต่อยอด การทดลองเพืร่อให้เกิดการเรียนรุ้เพิ่ม
ขั้นที่ 4 การประเมินผล
ครูและนักศึกษาร่วมสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากผลการเรียนรู้ร่วมกันของนักศึกษา
นักศึกษาสรุปความรู้ท่าได้รับและบันทึกการเรียนรู้และทำแบบประเมินหลังการสอน
ใบความรู้
สื่อจากอินเตอร์
วัสดุ/อุปกรณ์การสอน
การสังเกตพฤติกรรม
ข้อติชม
ความรู้จากการได้รับชม
แบบประเมินหลังการรับชม

เพื่อน ๆ รู้จักคำว่า D.I.Y กันไหมม ? มาดูกันดีกว่าว่ามันหมายความว่าอะไร

D.I.Y  ย่อมาจาก Do it yourself ซึ่งมีความหมายว่า ทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเอง เช่น ข้าวของเครื่องใช้ สิ่งประดิษฐ์ต่างๆ

ทำไมเราต้องมานั่งประดิษฐ์ของด้วยตัวเองด้วยละ?

การประดิษฐ์สิ่งของด้วยตัวเองนั่น มีข้อดีมากมายหลายอย่างเลย มาลองดูข้อดีกันดีกว่า

1. อย่างแรกเลยเราได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ แทนที่จะปล่อยเวลาว่างๆ สู้เอามาทำของใช้เองกันดีว่า ^O^

2. เวลาที่เราทำอะไรซักอย่างด้วยตนเอง หากมันสำเร็จเราก็คงจะเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง ขึ้นมาบ้างแหละ

3. การจะประดิษฐ์สิ่งต่างๆขึ้นมาเราต้องก็ต้องคิดๆๆ เลยฝึกให้เราเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์

4. หากมีใครคนหนึ่งได้รับของขวัญที่เราได้ทำเองนั้น เชื่อได้เลย ของขวัญนั้นต้องมีคุณค่าทางจิตใจมากๆ อีกทั้งยังแสดงให้ผู้รับเห็นอีกว่าเราต้องการให้จากใจจริงๆ >//<


5. สมัยนี้โลกมันร้อนมาก ซึ่งขยะต่างๆนี่แหละที่เป็นปัญหาทำให้เกิดโลกร้อน แต่บางชิ้นเราก็สามรถนำมาประยุกต์ใช้ประดิษฐ์ได้นะ มาช่วยกันลดโลกร้อนกันดีกว่า

6. บางชิ้นงานเราทำออกมาได้สวย ก็นำไปขายได้ เป็นรายได้เสริมอีกทางน้า (:

เห็นหรือยังละ D.I.Y มีประโยชน์มากมาย มัวรอช้าอะไรหล่ะ หยิบอุปกรณ์มาทำกันดีกว่า ^^"
ขอบคุณข้อมูลจาก http://diybytwo407.blogspot.com/2013/02/diy.html

วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2559

แผนการปฎิบัติงานประจำสัปดาห์ 24 - 30 ตุลาคม 2559

แผนการปฎิบัติงานประจำสัปดาห์

วันที่
การปฎิบัติงาน

วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม 59
หยุดชดเชยวันปิยะมหาราช

วันอังคารที่ 25 ตุลาคม 59
ปฏิบัติงานในสำนักงาน

วันพุธที่ 26 ตุลาคม 59
ปฏิบัติงานในสำนักงาน

วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม 59
ประชุมประจำเดือนตุลาคม ณ สำนักงาน กศน.จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม 59  
    
ปฏิบัติงานในสำนักงาน
วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม 59


วันอาทิยต์ที่ 30 ตุลาคม 59


นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ร่วมแสดงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและถวายความไว้อาลัยแด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทร์มหาภูมิพลอดุลยเดช

เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2559 ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางสะพาน โดยนายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ครู ได้นำริ้บบิ้นดำจำนวน 200 ชิ้นที่บุคลากร กศน.อำเภอบางสะพานทำไว้ มาให้แก่ประชาชนที่มาร่วมแสดงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและถวายความไว้อาลัยแด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทร์มหาภูมิพลอดุลยเดช ณ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดประจวบคีรีขันธ์







วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2559

กศน.อำเภอบางสะพาน จัดโครงการพัฒนาบุคลากรด้านการจัดทำแผนปฎิบัติงานตามคำรับรองและศึกษาดูงานฯ

เมื่อวันที่ 17 - 19 ตุลาคม 2559 ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางสะพาน โดยนายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ครู ค.ศ.1 ได้นำบุคลากร กศน.อำเภอบางสะพาน จัดโครงการพัฒนาบุคลากรด้านการจัดทำแผนปฎิบัติงานตามคำรับรองและศึกษาดูงานฯ ณ กศน.อำเภอบ้านตาขุน ณ จังหวัดสุราษฎ์ธานี

ความรู้ที่ได้จากการศึกษาดูงาน กศน.อำเภอบ้านตาขุน
การทำงานใด ๆ ก็แล้วแต่ต้องตั้งเป้าหมายไว้
การทำงานเป็นทีม

ความรู้จากการที่ได้ศึกษาดูงาน กศน.อำเภอไชยาและ กศน.อำเภอละแม
ได้เรียนรู้วิธีการย้อมผ้า

สิ่งที่ได้จากการจากการนำบุคลากร กศน.อำเภอบางสะพาน มาพัฒนาบุคลากร 
ได้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ คือ
บุคลากร ครู กศน.มีแผนปฏิบัติการตามคำรับรอง ที่สามรรถนำไปใช้ได้จริง โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่า ร้อยละ 100 ของบุคลากร กศน. รู้และเข้าใจการทำแผนปฏิบัติการตามคำรับรอง มีแผน และดำเนินการได้ตามแผนที่วางไว้ ตามกระบวนการ PDCA






วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559

แผนการปฎิบัติงานประจำสัปดาห์ 17 - 23 ตุลาคม 2559

แผนการปฎิบัติงานประจำสัปดาห์

วันที่
การปฎิบัติงาน

วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม 59
กศน.อำเภอบางสะพาน จัดโครงการพัฒนาบุคลากร ณ อำเภอบางสะพาน

วันอังคารที่ 18 ตุลาคม 59
กศน.อำเภอบางสะพาน จัดโครงการพัฒนาบุคลากร ณ อำเภอบางสะพาน

วันพุธที่ 19 ตุลาคม 59
กศน.อำเภอบางสะพาน จัดโครงการพัฒนาบุคลากร ณ อำเภอบางสะพาน

วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม 59
ประชุมประจำเดือนตุลาคม ณ สำนักงาน กศน.จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม 59  
    
ปฏิบัติงานในสำนักงาน
วันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม 59


วันอาทิยต์ที่ 23 ตุลาคม 59


วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ร่างคำสั่ง ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอําเภอบางสะพาน ที่ /๒๕๕..... เรื่อง การมอบหมายงานใหบุคลากรปฎิบัติงานในหนาที่ ประจำปี งบประมาณ ๒๕๕.....

คำสั่ง ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอําเภอบางสะพาน ที่ /๒๕๕.....
เรื่อง การมอบหมายงานใหบุคลากรปฎิบัติงานในหนาที่ ประจำปี งบประมาณ ๒๕๕.....

-----------------------------------------

ดวย ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอําเภอบางสะพาน ไดมีบุคลากรย้ายสลับเพื่อมาปฏิบัติงานในจังหวัดเดียวกัน และ มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างบุคลากรใหม จึงขอยกเลิกคําสั่งศูนยการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อําเภอบางสะพาน ที่ ………/๒๕๕.... เรื่องคําสั่งแตงตั้งการมอบหมายงานใหบุคลากรปฎิบัติงานในหนาที่ ประจําปี งบประมาณ.........ลงวันที่ 19 กันยายน 2556 นั้น เพื่อใหการดําเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอําเภอบางสะพาน เปนไปตามวัตถุประสงค และมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจคําสั่งสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ 489/2551 เรื่องมอบอํานาจให ผูอํานวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอําเภอ / เขต ปฏิบัติ ราชการแทนปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ขอ 1 การปกครองบังคับบัญชา พนักงานราชการ ลูกจางที่ปฏิบัติงาน ในสถานศึกษาตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีวาดวยพนักงานราชการ พ.ศ.2547 และระเบียบ กระทรวงการคลังวาดวยลูกจางประจําของส่วนราชการ พ.ศ. 2537 และการมอบหมายการปฏิบัติงาน ราชการของขาราชการและบุคลากรของสถานศึกษา จึงขอแต่งตั้งบุคลากรรับผิดชอบงานในหนาที่ ดังตอไปนี้

นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล
ตําแหนง ครู ทําหนาที่รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ กศน.อำเภอบางสะพาน
หน้าที่หลัก กำหนดนโยบาย ควบคุม กำกับดูแลงานทั่วไป บุคลากร งบประมาณ ให้มีประสิทธิภาพ และถูกต้องตามระเบียบราชการ
งานควบคุมภายในและประกันความเสี่ยงในการบริหาร/การประกันภายใน
งานนิเทศติดตามการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
งานสวัสดิการ
งานแผน
งานประกันคุณภาพสถานศึกษา
การประเมินตนเองของสถานศึกษา
งานรวบรวมข้อมูลสำคัญของ กศน. เช่น คำสั่ง ประกาศ ข้อสอบ

นายมณี ปัตเมฆ
หน้าที่หลัก ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบพัสดุ
งานพัสดุ
งานห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี (ตามคำสั่งเดิม)
งานควบคุมภายในและประกันความเสี่ยงในงานพัสดุ
งานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
งานนิเทศติดตามการจัดการศึกษาต่อเนื่อง
งานอาคารสถานที่และยานพาหนะ

นางสาวสุปรวีร์ ศรีเลี่ยน
หน้าที่หลัก รับ-ส่งหนังสือราชการ งานเทคโนโลยี สารสนเทศ
งานธุรการ
งานควบคุมภายในและประกันความเสี่ยงในงานธุรการ
งานประชาสัมพันธ์
งานทะเบียน (ในส่วนที่ได้รับมอบหมาย)
งาน EIS และงานข้อมูลในระบบ
งานศูนยบริการใหคําปรึกษาและการแนะแนว การจัดการศึกษารายบุคคล

นางสาวอรุณรัตน์ จิตรมั่น
หน้าที่หลัก งานการเงิน/ควบคุมการดำเนินงานการจัดการศึกษาต่อเนื่อง
หัวหน้างานการศึกษาต่อเนื่อง
งานการเงิน
งานควบคุมภายในและประกันความเสี่ยงในงานการเงิน
งานนิเทศติดตามการจัดการศึกษาต่อเนื่อง
งานควบคุมทะเบียนวุฒิบัตรการจัดการศึกษาต่อเนื่อง
งานควบคุมข้อมูลสารสนเทศงานการศึกษาต่อเนื่อง

นางสาววัชราภรณ์ หอมชื่น
หน้าที่หลัก วางแผน กำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงานประจำปีงบประมาณ สรุปแผนการดำเนินงาน สรุปการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ การประเมินตนเองของสถานศึกษา
งานแผน
งานบัญชี
งานประชาสัมพันธ์เว็บไซด์ กศน.อำเภอ
งานออกแบบสื่อ/ปก
งานภารกิจพิเศษ(งานยุวกาชาด)

นางสาวทัณฑิมา สุขเกษม
หน้าที่หลัก ดำเนินการงานจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็นระบบ
หัวหน้างานการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
งานควบคุมภายในและประกันความเสี่ยงในงานพื้นฐาน
งานนิเทศติดตามการจัดการศึกษาต่อเนื่อง
งานทะเบียนวัดผลประเมินผล
งาน กพช.
งานการจัดการสอบปลายภาค
งานส่งเสริมผู้ไม่รู้หนังสือและการเรียนรู้หนังสือ
งานภารกิจพิเศษ

นางสาวงามเพ็ญ เจริญชีพ
หน้าที่หลัก งานที่เกี่ยวข้องกับบุคลากร วันลา ทะเบียน เวร/ยาม คุมหนังสือ/สือของ กศน.ตำบล
งานบุคลากร
งาน N-NET
งานควบคุมเวรยาม-วันลา
งานในส่วนที่เกี่ยวกับข้อมูลบุคลากร

นายเอกสิทธิ์ คงเรือง
หน้าที่หลัก ดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
งานเทียบระดับการศึกษา
งานทวิศึกษา
งานสถานที่
งานภารกิจพิเศษที่ได้รับมอบหมาย(งานธรรมศึกษา)

นางสุชาวดี ใบภูทอง
หน้าที่หลัก ประชุมร่วมกับภาคีเครือข่าย นำเสนอภารกิจหลักของ กศน. จัดประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา องค์กรนักศึกษา จัดกิจกรรม กศน.ตำบลให้เป็น ประสานงานคณะกรรมการสถานศึกษา จัดประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา
งานเลขานุการคณะกรรมการสถานศึกษา 
งานสนับสนุนการดำเนินการของภาคีเครือข่ายและขอความร่วมมือในการทำงานกับภาคีเครือข่าย
งานภารกิจพิเศษที่ได้รับมอบหมาย
งานคู่มือนักศึกษา
งานงานภารกิจพิเศษที่ได้รับมอบหมาย

นางภารณี ก้านเหลือง
หน้าที่หลัก ดูแล ระบบข้อมูลทะเบียนนักศึกษาให้ถูกต้อง โปร่งใส รวดเร็ว และตรวจสอบได้  ให้ข้อมูล IT ที่เป็นปัจจุบันเพื่อให้ครูสามารถนำข้อมูลไปใช้ได้
งานตรวจสอบวุฒิการศึกษา
งาน GPA/ข้อมูลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

นายกำจัฐ กว้างขวาง
หน้าที่หลัก ดำเนินการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง ดูแลอาคารสถานที่ และงานภารกิจพิเศษต่าง ๆ
งานอาคารสถานที่และยานพาหนะ
งานเทียบโอนความรู้และประสบการณ์(ตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลการเทียบโอนเพื่อความถูกต้อง/โปร่งใส)

ครูทุกคน มีหน้าที่ในดำเนินงาน ดังนี้
งานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ตามบทบาทหน้าที่ครูและหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้างานการศึกษาขั้นพื้นฐาน)
งานเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ (สำหรับนักศึกษาในความดูแลของตนเอง โดยผ่านการกลั่นกรองจากคณะกรรมการเทียบโอน)
งานประกันคุณภาพสถานศึกษาตามมาตรฐานและตัวบ่งชี้ที่ได้รับมอบหมาย (ดำเนินงานให้เป็นไปตามมาตรฐาน ตัวบ่งชี้ รวมทั้งให้ความรู้แก่ครูทุกคนว่าให้ครูทุกคนดำเนินการอย่างไรให้เป็นไปตามมาตรฐานนั้น ๆ)
งานข้อมูล DMIS
ประชุมร่วมกับภาคีเครือข่าย คณะกรรมการ กศน.ตำบล องค์กรนักศึกษา กศน.ตำบล

ครูอาสาสมัคร กศน. มีหน้าที่ ดังนี้
ส่งเสริมสนับสนุนการจัดศึกษาต่อเนื่องในตำบลที่ได้รับผิดชอบ
ส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับผู้ไม่รู้หนังสือ

ครู กศน.ตำบล มีหน้าที่ ดังนี้

งานศูนย์ส่งเสริมศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต
งานศูนย์ส่งเสริมศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาขิงเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่
งานศูนย์ส่งเสริมประชาธิปไตยประจำตำบล
งานศูนย์ส่งเสริมศูนย์ดิจิทัลประจำตำบล
(จัดกิจกรรมเพื่อรอบรับการใช้ กศน.ตำบล เป็นฐาน ทั้ง 4 ศูนย์)

งานนิเทศภายใน ติดตามและประเมินผล

- นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล
- นางสาวอรุณรัตน์ จิตรมั่น
- นางสาวทัณฑิมา สุขเกษม
- นายมณี ปัตเมฆ
- ครูทุกคน
หน้าที่ นิเทศ ติดตามผล เพื่อพัฒนางาน/โครงการ กศน. และสรุปผลการนิเทศ เพื่อรวบรวมในสรุปผลการดำเนินงาน
รับผิดชอบงาน
งานการศึกษาตามอัธยาศัย
งานจัดพัฒนาแหลงเรียนรูและภูมิปญญาทองถิ่น
งานส่งเสริมการอ่าน
ชุมชนรักการอ่าน

นางสาวนันทิดา ตราทอง
หน้าที่หลัก จัด กิจกรรมของห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” เพื่อสรุป รายงาน
ปฏิบัติงานงานในบทบาท หน้าที่ ตามสัญญาจ้างและงานบรรณสัญจร และประสานงานร่วมกับครูในพื้นที่เพื่อร่วมกันจัดกิจกรรม
งานส่งเสริมการอ่านร่วมกับครู กศน ทุกคน
งานชุมชนรักการอ่าน
งานข้อมูลบรรณสัญจร

งานภารกิจพิเศษ  (ครูที่ได้รับมอบหมายงานภารกิจพิเศษต้องดำเนินการ)
งานปองกันและแกไขปญหายาเสพติด/โรคเอดส
งานสงเสริมกิจกรรมประชาธิปไตย 
งานสถานศึกษาสีขาว
งานข้อมูล ศสปชต.
งานข้อมูลหมู่บ้านตามรอยพระยุคลบาท
งานข้อมูลกำจัดลูกน้ำยุงลาย
งานข้อมูลการจัดโครงการตามพระราชดำริ
งานข้อมูลลดอุบัติเหตุช่วงเทศกาลสำคัญ
งานข้อมูลลูกเสือ/ยุวกาชาด
งานประชุมระดับตำบล/อำเภอ
งานข้อมูลการแก้ปัญหาในวัยรุ่น/แม่วัยใส
งานอื่น ๆ ตามนโยบายและจุดเน้นในปีงบประมาณ

ใหผูที่ไดรับการแตงตั้งตามคําสั่งนี้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความตั้งใจ มีความวิริยะอุตสาหะ ตระหนักรูในบทบาทหนาที่ของตน ปฏิบัติงานใหเกิดความเรียบรอย ถูกตองตามระเบียบของทางราชการ มุงเนน ผลประโยชนของทางราชการเป็นหลัก มิก่อใหเกิดความเสียหายแก่ทางราชการ

ทั้งนี้ตั้งแตบัดนี้เปนตนไป

สั่ง ณ วันที่        เดือน               พ.ศ. ๒๕๕.....


(นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล)
ครู รักษาการในตำแหน่ง
ผูอํานวยการศูนย การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอําเภอบางสะพาน

วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2559

แผนการปฎิบัติงานประจำสัปดาห์ 10 - 16 ตุลาคม 2559

แผนการปฎิบัติงานประจำสัปดาห์

วันที่
การปฎิบัติงาน

วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม 59
ปฏิบัติงานในสำนักงาน

วันอังคารที่ 11 ตุลาคม 59
ปฏิบัติงานในสำนักงาน  

วันพุธที่ 12 ตุลาคม 59
ปฏิบัติงานในสำนักงาน

วันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม 59
ประชุมประจำเดือนตุลาคม ณ สำนักงาน กศน.จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม 59  
    
ปฏิบัติงานในสำนักงาน
วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม 59


วันอาทิยต์ที่ 16 ตุลาคม 59


วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2559

เอกสารประกอบการอบรมการทำแผนการปฏิบัติงานตามคำรับรอง

เอกสารประกอบการอบรมการทำแผนการปฏิบัติงานตามคำรับรอง

อธิบายถึงการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2559 ที่ผ่านมา สิ่งที่จะดำเนินการในปีงบประมาณ 2560

สิ่งที่คาดหวัง แผนการปฏิบัติงานตามคำรับรองระดับตำบลที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
(กิจกรรมที่สามารถจัดในห้วงเวลาเดียวกันได้ควรจัดในห้วงเดียวกัน)

กิจกรรมที่ 1
ให้ครูเขียน SWOT ในตำบลตนเอง จุดอ่อน/จุดแข็ง/โอกาส/อุปสรรค 
สิ่งที่คาดหวัง ครูรู้ถึงจุดแข็งและโอกาสในบริบทตำบลของตนเอง และสามารถนำมาเป็นโครงการให้เป็นรูปธรรมได้ และสามารถต่อยอดโครงการในพื้นที่ได้เรื่อย ๆ

กิจกรรมที่ 2
ให้ครูแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน นำตัวอย่างโครงการจัดการศึกษาต่อเนื่องที่ได้ดำเนินการได้ผลดีในปีงบประมาณ 2559 มาวิพากษ์ในกลุ่ม
สิ่งที่คาดหวัง ครูได้แสดงให้เห็นว่าโครงการที่จัดในปีงบประมาณที่ผ่านมาที่สามารถเป็นแบบอย่างได้อย่างไร ดำเนินการแล้วเกิดผลอย่างไร และควรที่จะทำอย่างไรกับโครงการนั้นต่อไป

กิจกรรมที่ 3
ให้ครูเขียนโครงการ/กิจกรรมและนำเสนอว่าจะดำเนินการจัดการศึกษาต่อเนื่องในปีงบประมาณ 2560 โดยนำแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2559 เป็นฐาน เป็นโครงการ 1. 2. 3. 4. ฯลฯ พร้อมให้เหตุผลในการจัดโครงการ/กิจกรรมนี้ (อาจจะสอดคล้องกับ SWOT) 
สิ่งที่คาดหวัง ครูสามารถคิด วิเคราะห์ ได้ว่าควรจัดโครงการใดในห้วงเวลาใด มี แผนการปฏิบัติงานตามคำรับรองระดับตำบลที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง และต้องการให้บุคลากรทุกคนสามารถพัฒนาระบบงานของตนเอง รู้จักการแก้ไขปัญหาในการทำงาน

สิ่งที่ต้องเตรียม
notebook
แผนปฏิบัติการ 2559
กระดาษฟรุบ
ปากกาไวท์บอร์ด
โปรเจกเตอร์
ตัวอย่าง

ที่
ชื่องาน/โครงการ/กิจกรรม
เป้าหมาย
จำนวน(คน)
พื้นที่ดำเนินการ
งบประมาณ
(บาท)
ห้วงระยะเวลา
ดำเนินงาน
หมายเหตุ
หมู่ที่
ชื่อบ้าน
1
กิจกรรมพัฒนาสังคมและชุมชน
โครงการกำจัดขยะ,แปรรูปขยะ
โครงการสร้างป่า สร้างรายได้
โครงการ
โครงการกำจัดวัชพืชในชุมชน
โครงการตามขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม เช่น ลอยกระทง สงกรานต์







กิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต
โครงการส่งเสริมกิจกรรมในผู้สูงอายุ
- ดูแลผู้สูงอายุ
โครงการป้องกันภัยพิบัติ
โครงการกำจัดขยะ
โครงการ







กิจกรรมส่งเสริมอาชีพ
หลักสูตรช่างพื้นฐาร,ต่อยอดอาชีพเดิม
โครงการการทำกระทง
โครงการผูกผ้า
โครงการทำอาหารไก่พันธ์ไข่







กิจกรรมเทคโนโลยีที่เหมาะสม
การทำยากำจัดวัชพืชชีวภาพ
การปลูกพืชไร้ดิน
การปลูกมะนาวจากใบ
การเลี้ยงไก่โดยใช้ท่อพีวีซี
การกำจัดปลวกโดยใช้
การทำป๋ยธรรมชาติจากมูลไก่
การทำก๊าชชีวมวลจากมูลไก่







กิจกรรมเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท







กิจกรรมส่งเสริมศูนย์ดิจิทัลประจำตำบล
โครงการเรียนรู้การตลาดโดยใช้ Facebook
โครงการเรียนรู้ IT ในผู้สูงอายุ







กิจกรรมหมู่บ้านตามรอยพระยุคลบาท
โครงการศึกษาดูงานโครงการในพระราชดำริ ณ ........







กิจกรรมเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- การเลี้ยงไก่พันธ์ไข่
- การทำบัญชี - ครัวเรือน
- การทำปุ๋ยจากมูลไก่
























































ตัวอย่าง การร่างโครงการโดยคำนึงถึงการใช้บริบทของพื้นที่ ความต้องการของประชาชนและความสอดคล้องของโครงการที่จัดที่สามารถต่อยอดได้ในห้วงเวลาเดียวกัน
ชื่องาน/โครงการ
วัตถุประสงค์
กิจกรรมหลัก
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
เป้าหมาย (คน)
งบประมาณ (บาท)
ประเภท
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวน
เป้าหมาย
งบดำเนินงาน
งบ
รายจ่ายอื่น
โครงการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การส่งเสริมการเลี้ยงไก่พันธ์ุไข่

- ส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่รู้จักการเลี้ยงไก่พันธํืไข่เพื่อบริโภคและจำหน่าย
- ส่งเสริมประชาชนในการลดต้นทุนในการผลิต ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การทำโรงเรือน การเลี้ยงไก่พันธ์ไข่
การตลาด
การฝึกปฏิบัติ การดูไก่ การให้อาหาร
- ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- ประชาชนสามารถการทำโรงเรือน การเลี้ยงไก่พันธ์ไข่ได้
- ประชาชนสามารถวางแผนการตลาดได้
ประชาชนทั่วไป



โครงการอาชีพ 
- การทำอาหารสัตว์
- ช่างไม้พื้นฐาน
- ส่งเสริมประชาชนในพื้นที่ให้รู้จักการนำวัสดุในท้องถิ่นมาทำอาหารสัตว์เพื่อลดต้นทุนการผลิต
- อบรมให้ความรู้ว่ามีวัสดุใดบ่้างในพื้นที่ที่สามารถมาทำอาหารสัตว์ได้
- ลงมือปฏิบัติ

ประชาชนทั่วไป



โครงการเรียนรู้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
- การทำปุ๋ยธรรมชาติจากมูลสัตว์
- การเลี้ยงไก่โดยใช้ท่อพีวีซี

- ส่งเสริมประชาชนในพื้นที่ให้รู้จักการนำวัสดุในท้องถิ่นมาทำปุ๋ยมูลสัตว์เพื่อลดต้นทุนการผลิต และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
- อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของมูลสัตว์และขั้นตอนการทำปุ๋ยมูลสัตว์

ประชาชนทั่วไป



ศูนย์ดิจิทัลประจำตำบล
การส่งเสริมการตลาดโดยใช้ Facebook
ส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักสื่อดิจิทัล สามารถนำมาเป็นเครื่องมือในการวางแผนการตลาดได้



ประชาชนทั่วไป












































ตัวอย่าง การร่างโครงการโดยคำนึงถึงการใช้บริบทของพื้นที่ ความต้องการของประชาชนและความสอดคล้องของโครงการที่จัดที่สามารถต่อยอดได้ในห้วงเวลาเดียวกัน
ชื่องาน/โครงการ
วัตถุประสงค์
กิจกรรมหลัก
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
เป้าหมาย (คน)
งบประมาณ (บาท)
ประเภท
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวน
เป้าหมาย
งบดำเนินงาน
งบ
รายจ่ายอื่น
โครงการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 
- การปลูกพืชเกษตรธรรมชาติ
- การปลูกข้าวในล้อยาง
ส่งเสริมในประชาชนในพื้นที่ในพื้นที่ของตนในการทำการเกษตรแบบผสมผสานเพื่อบริโภคในครัวเรือนและจำหน่าย






โครงการอาชีพ 
การปลูกมะนาวในยางรถยนต์
ส่งเสริมให้ประชาชนใช้วัสดุเหลือใช้ในพื้นที่
ส่งเสริมการปลูกมะนาวให้ลูกดกเพื่อจำหน่ายเป็นอาชีพได้
อบรมการใช้ยางรถยนต์มาใช้เป็นที่ปลูกมะนาวและวิธีการทำให้มะนาวมีลูกดก





กิจกรรมเทคโนโลยีที่เหมาะสม
-โครงการทำยากำจัดวัชพืชชีวภาพ
-โครงการการทำสปริงเกอร์โดยขวดพลาสติก
- การปลูกพืชหลายชนิดโดยใช้น้ำน้อย
- การปลูกมะนาวโดยใช้ใบเพื่อเพิ่มผลผลิต
- การปลูกข้าวในล้อยาง
ส่งเสริมประชาชนให้ใช้วัสดุในพื้นที่มาทำยากำจัดวัชพืชเพื่อลดต้นทุนและไม่ทำให้ดินเสีย






การส่งเสริมการตลาดโดยใช้ Facebook
การส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักการขายสินค้าออนไลน์








































































หลักสูตร สามารถดูหลักสูตรในอินเตอร์เน็ตและนำมาทำเป็นหลักสูตรสถานศึกษา โดยผ่านการเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษา
http://yongmaye65.blogspot.com/2013/02/blog-post_3542.html
http://xn--12cau2crv4ekg0hjvo15a.com/?lang=th
http://home.kapook.com/view149577.html
http://puechkaset.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C/
https://www.youtube.com/watch?v=DORG4FgCLck
การจัดโครงการควรคำนึงถึงห้วงเวลาในการจัด การจัดโครงการหนึ่งอาจสามารถนำมาขยายผลอีกโครงการหนึ่งในห้วงเวลาเดียวกันได้ โดยเน้นตามบริบทพื้นที่และความต้องการของประชาชนในชุมชนเป็นหลัก โดยนำกระบวนการ PDCA มาใช้
- สำรวจ
- ขออนุมัติ
- ดำเนินการ
- สรุป
ขั้นตอนสำรวจ สำรวจพื้นที่ บริบท และความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ที่มาจาก การประชุมหมู่บ้าน เวที่ชาวบ้าน การลงพื้นที่สำรวจ การเข้าถึงชุมชน จุดเน้น แบบสำรวจความต้องการของประชาชน
ขั้นตอนขออนุมัติโครงการ ร่วมประชุมคณะทำงาน นำเสนอวิธีการดำเนินการ ติดต่อวิทยากร(ถ้ามี) แต่งตั้งคำสั่งคณะทำงาน ขอนุมัติโครงการ ซื้อวัสดุในการอบรม ออกแบบประเมินความพึงพอใจ แบบนิเทศติดตาม
ขั้นตอนการดำเนินการ จัดโครงการโดยวิทยากรหรือครูผู้สอน ติดตามผล/นิเทศ เป็นระะยะ หลักฐาน แบบประเมินติดตามการนิเทศ ผลการสอนของวิทยากรหรือครูผู้สอน แบบประเมินความพึงพอใจ ทำเอกสารส่งเบิก
ขั้นตอนการสรุป นำแบบประเมินความพึงพอใจมาสรุปในแต่ละด้าน แบบประเมินผลการเรียน แบบนิเทศติดตาม แบบสำรวจความต้องการ คำสั่งคณะทำงาน เอกสารส่งเบิก มาจัดทำเป็นรูปเล่ม นำข้อเสนอแนะ มาปรับปรุง หากโครงการได้รับผลดีหรือสามารถต่อยอดเป็นแนวทางโครงการอื่นได้ให้ขออนุมัติเพื่อดำเนินการต่อไป ในห้วงเวลานั้น โดยคำนึงถึงกระบวนการ PDCA เป็นหลัก