ค้นหาบทความในเว็บ

วันศุกร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2557

โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสอนเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพครูกศน.

เมื่อวันที่ 29 - 31 ตุลาคม 2557  ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอบางสะพาน  นำบุคลากรเข้าร่วม โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสอนเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพครูกศน. โดยมี นางศรีสง่า โภคสมบัติ ผอ.กศน.อำเภอบางสะพาน นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล  ครู กศน.ตำบล ครูอาสา และครูศรช.เข้าร่วม เพื่อพัฒนาเทคนิคการสอนแก่ผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ความรู้ที่ได้รับ
- การถอดกระบวนการสอนจาดกวีดีโอเพื่อศึกษาวิธีการจัดการสอน โดยใช้การสอนวิธีต่างๆเพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้ที่หลากหลายจากวิธีการสอนหลาหหลายรูปแบบ
- การนำเสนอ power point การจัดกระบวนการเรียนรู้โดยวิธีการสอนแบบต่างๆ
 ระยะเวลาในการอบรม 20 ชั่วโมง




วันพุธที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2557

โครงการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพครู กศน. ปีงบประมาณ 2557

เมื่อวันที่ 27 - 29 ตุลาคม 2557  ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางสะพาน โดย นางศรีสง่า โภคสมบัติ ผู้อำนวยการ นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ครูผู้ช่วย นำบุคลากร เข้าร่วม "โครงการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพครู กศน.  ปีงบประมาณ 2557"  ณ เรือนชบารีสอร์ท จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยได้รับความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้/กิจกรรม แก่ผู้เรียนให้เกิดกระบวนการคิดเป็น เช่น

- การใช้บัตรคำทายชื่อ
- การแบ่งกลุ่มระดมสมอง
- การทำ Mind Map
- การสอนโดยวิธีการต่าง การสาธิต การบรรยาย การนำเข้าสู่บทเรียน การเสวนา การโต้วาที
- การเล่นเกมเพื่อแก้ปัญหา
- กิจกรรมกลุ่ม walk Rally
- กิจกรรมละลายพฤติกรรม เป็นต้น

ระยะเวลาอบรม 20 ชั่วโมง

 



วันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาแต่ละมาตรฐาน การประกันคุณภาพสถานศึกษา 2557



                     คำสั่ง  ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางสะพาน
                                                      ที่      / ๒๕๕๗
เรื่อง  แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาแต่ละมาตรฐาน
การประกันคุณภาพสถานศึกษา 2557                          ........................................................................................................
                    
          ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางสะพาน  มีบทบาทหน้าที่จัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้การบริหารงานของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางสะพาน เป็นไปด้วยความเรียบร้อย รวดเร็ว ถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น 
          ฉะนั้น  อาศัยคำสั่งสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ  ที่  ๔๘๙ / ๒๕๕๑  ลงวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๑  เรื่อง  มอบอำนาจให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ/เขต  ปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ข้อ ๑ การปกครองบังคับบัญชา พนักงานราชการ ลูกจ้างที่ปฏิบัติในสถานศึกษาตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ ๒๕๔๗ และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยลูกจ้างประจำของส่วนราชการ  พ.ศ.  ๒๕๓๗ การมอบหมายการปฏิบัติงานราชการของข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษา  จึงขอแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาแต่ละมาตรฐานการประกันคุณภาพสถานศึกษา 2557                          ดังต่อไปนี้
๑.      มาตรฐานที่    คุณภาพผู้เรียน/ผู้รับบริการ
ตัวบ่งชี้ที่ ๑.๑   ผู้เรียนมีสุขภาพและสุขภาพจิตที่ดี
-   นางสาวมุทิตา  นันทจินดา
-   ครู กศน.ทุกคน       
   
ตัวบ่งชี้ที่ ๑.๒  ผู้เรียนมีคุณธรรม  จริยธรรม  และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
-   ว่าที่ร้อยตรีเครือวัลย์   มากเต
-   ครู กศน.ทุกคน

ตัวบ่งชี้ที่ ๑.๓  ผู้เรียนมีความใฝ่รู้  และเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
          -   นางสุชาวดี  ใบภูทอง 
-   ครู กศน.ทุกคน

ตัวบ่งชี้ที่ ๑.๔   ผู้เรียนคิดเป็นทำเป็น
-   นางภารณี  ก้านเหลือง 
-   ครู กศน.ทุกคน


ตัวบ่งชี้ที่ ๑.๕   ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
-   นางภารณี  ก้านเหลือง
-   นายปฐมพร  ธัมมาภิรัตตระกูล  
-   ครู กศน.ทุกคน

ตัวบ่งชี้ที่ ๑.๖   ผลสัมฤทธิ์ทางเรียนของผู้เรียนการศึกษาต่อเนื่อง
          -   นางสาวอรุณรัตน์  จิตรมั่น     
-   ครู กศน.ทุกคน

ตัวบ่งชี้ที่ ๑.๗   ผู้เรียนมีงานทำหรือมีรายได้เสริม  มีทักษะในการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
-   นางสาวอรุณรัตน์  จิตรมั่น     
-   ครู กศน.ทุกคน

ตัวบ่งชี่ที่ ๑.๘   งานประชาสัมพันธ์ มีหน้าที่ ประชาสัมพันธ์การจัดโครงการ กิจกรรมต่างๆของ กศน.อำเภอบางสะพาน รวบรวมข้อมูลการประชาสัมพันธ์เพื่อนำมาประเมินตนเอง
-   นางนันทิดา  ตราทอง
-   ครู กศน.ทุกคน

๒.     มาตรฐานที่ ๒ คุณภาพการจัดการศึกษา/การให้บริการ
ตัวบ่งชี้ที่ ๒.๑   คุณภาพหลักสูตร  
-   นางสาวงามเพ็ญ  เจริญชีพ
-   ครู กศน.ทุกคน

ตัวบ่งชี้ที่ ๒.๒   คุณภาพครู
-   นางสาวงามเพ็ญ  เจริญชีพ
-   ครู กศน.ทุกคน

ตัวบ่งชี้ที่ ๒.๓  คุณภาพการจัดการเรียนการสอนของครูและผู้สอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
-   นางสาวงามเพ็ญ  เจริญชีพ
-   ครู กศน.ทุกคน

ตัวบ่งชี้ที่ ๒.๔  คุณภาพผู้สอน/วิทยากรต่อเนื่อง
-   นางสาวทัณฑิมา  สุขเกษม
-   ครู กศน.ทุกคน

ตัวบ่งชี้ที่ ๒.๕   คุณภาพที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนและผู้รับบริการ
-   นางสาวทัณฑิมา  สุขเกษม
-   ครู กศน.ทุกคน



ตัวบ่งชี้ที่ ๒.๖   คุณภาพการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย
-   นางสาวมุทิตา  นันทจินดา
-   ครู กศน.ทุกคน
-   นางสุชาวดี  ใบภูทอง
 
ตัวบ่งชี้ที่ ๒.๗   การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
-   นางสาวมุทิตา  นันทจินดา
-   ครู กศน.ทุกคน
-   นางสุชาวดี  ใบภูทอง

๓.     มาตรฐานที่ ๓  การบิหารการศึกษา
ตัวบ่งชี้ที่ ๓.๑   คุณภาพการบริหารสถานศึกษา
-   ผู้อำนวยการ กศน.บางสะพาน
-   นายปฐมพร  ธัมมาภิรัตตระกูล
   
ตัวบ่งชี้ที่ ๓.๒   ระบบฐานข้อมูลเพื่อการจัดการ
-   ผู้อำนวยการ กศน.บางสะพาน
-   นายปฐมพร  ธัมมาภิรัตตระกูล

ตัวบ่งชี้ที่ ๓.๓   ผลการบริหารความเสี่ยง
-   ผู้อำนวยการ กศน.บางสะพาน
-   นายปฐมพร  ธัมมาภิรัตตระกูล

ตัวบ่งชี้ที่ ๓.๔   ผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษา
-   ผู้อำนวยการ กศน.บางสะพาน
-   นายปฐมพร  ธัมมาภิรัตตระกูล

ตัวบ่งชี้ที่ ๓.๕   ผลการปฏิบัติตามบทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษา
-   ผู้อำนวยการ กศน.บางสะพาน
-   นายปฐมพร  ธัมมาภิรัตตระกูล

๔.     มาตรฐานที่ ๔  การประกันคุณภาพการศึกษา
ตัวบ่งชี้ที่ ๔.๑   การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
-   นายปฐมพร  ธัมมาภิรัตตระกูล
-   ครู กศน.ทุกคน
   
ตัวบ่งชี้ที่ ๔.๒   การประกันคุณภาพสถานศึกษาโดยต้นสังกัด
-   นายปฐมพร  ธัมมาภิรัตตระกูล
-   ครู กศน.ทุกคน



๕.     มาตรฐานที่ ๕  อัตลักษณ์ของสถานศึกษา
ตัวบ่งชี้ที่ ๕.๑   ผลการพัฒนาให้บรรลุเป้าหมายตามปรัชญา  พันธกิจ และวัตถุประสงค์การจัดตั้งสถานศึกษา
-   นางสาวสุปรวีณ์   ศรีเลี่ยน
-   ครู กศน.ทุกคน
   
ตัวบ่งชี้ที่ ๕.๒   ผลการพัฒนาตามจุดเน้นและจุดเด่นที่สะท้อนเอกลักษณ์ของสถานศึกษา
-   นายกำจัฐ  กว้างขวาง
-   ครู กศน.ทุกคน

๖.     มาตรฐานที่ ๖  มาตรฐานส่งเสริม
ตัวบ่งชี้ที่ ๖.๑   ผลการส่งเสริมพัฒนาสถานศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐาน รักษามาตรฐานและพัฒนาสู่ความยั่งยืน เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายทางการศึกษาธิการ
-   นางสาวปาฤษา  อัตถาวะระ
-   ครู กศน.ทุกคน
   
ตัวบ่งชี้ที่ ๖.๒   ผลที่เกิดจากการส่งเสริมการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชน
-   นางสาวปาฤษา  อัตถาวะระ
-   ครู กศน.ทุกคน
                      
ให้คณะกรรมการดำเนินการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาแต่ละมาตรฐานการประกันคุณภาพสถานศึกษา 2557 ที่ได้รับมอบหมายงานปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ   


  ทั้งนี้  ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

          สั่ง    วันที่     กรกฎาคม   ๒๕๕๗          




(นางศรีสง่า  โภคสมบัติ)
      ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางสะพาน   

วันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2557

กศน.อำเภอบางสะพาน ร่วมถวายพวงมาลา เนื่องในวัน คล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5

เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2557 ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางสะพาน นำโดยนางศรีสง่า โภคสมบัติ ผู้อำนวยการ นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล นำบุคลากร กศน. ทุกคน  ร่วมถวายพวงมาลา เนื่องในวัน คล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี “พระปิยมหาราช” ของปวงพสกนิกรชาวไทย  โดยมีส่วนราชการ หน่วยงานภาครัฐ องค์กรอิสระ  รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน สมาคม สโมสร มูลนิธิ นักเรียน นักศึกษา ประชาชนและกลุ่มพลังมวลชน ร่วมวางพวงมาลา ถวายบังคมแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 อย่างพร้อมเพรียง   โดยมี นายอำเภอบางสะพาน  เป็นประธานในพิธี วางพวงมาลา และถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติ




ประชุมดำเนินการ การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2557  ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางสะพาน ประชุมพัฒนาบุคลากร ด้านการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาเพื่อรองรับการประเมินสถานศึกษาโดยต้นสังกัด เพื่อระดมความคิด ปรับเปลี่ยนรูปแบบ ความเข้าใจเกี่ยวกับการได้มาซึ่งคะแนนประเมินตนเอง ในมาตราฐานที่ 1 ตัวบ่งชี้ 1.1 และ 1.2





มาตรฐานที่ 1.1 ผู้เรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี
เกณฑ์การพิจารณา
1. ร้อยละของผู้เรียนมีการตรวจสุขภาพร่างกายอย่างน้อย  1  ครั้ง/ปี
เอกสาร/หลักฐาน/ร่องรอย
แบบบันทึกสุขภาพนักศึกษารายบุคคล/แบบประเมินสุขภาพจิตจากกรมสุขภาพจิต/โครงการตรวจสุขภาพ/สรุปโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผู้เรียน นันทนาการ เช่น โครงการกีฬา โครงการลูกเสือ-ยุวกาชาด ฯลฯ /แผนการสอน/บันทึกหลังการสอน/คำสั่ง/รูปภาพประกอบกิจกรรมต่างๆ

2. ร้อยละของผู้เรียนมีการพัฒนาการด้านสุขภาพดีขึ้น
เอกสาร/หลักฐาน/ร่องรอย
แบบบันทึกสุขภาพนักศึกษาราย บุคคล/โครงการตรวจสุขภาพ/สรุปโครงการ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผู้เรียน นันทนาการ/แผนการสอน/บันทึกหลังการสอน/คำสั่ง/รูปภาพประกอบกิจกรรมต่างๆ

3. ร้อยละของผู้เรียนมีจิตใจร่าเริงแจ่มใส มั่นคง มีสติ
เอกสาร/หลักฐาน/ร่องรอย
แบบประเมินสุขภาพจิตจากกรมสุขภาพจิต/แบบประเมินสุขภาพจิตจากกรมสุขภาพจิต/โครงการตรวจสุขภาพ/สรุปโครงการ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผู้เรียน นันทนาการ/แผนการสอน/บันทึกหลังการสอน/คำสั่ง/รูปภาพประกอบกิจกรรมต่างๆ

4. ร้อยละของผู้เรียนที่ลด ละเลิก จากปัญหาทางเพศ ยาเสพติดและสิ่งมอมเมา
เอกสาร/หลักฐาน/ร่องรอย
แบบบันทึกสุขภาพนักศึกษาราย บุคคล/โครงการตรวจสุขภาพ/สรุปโครงการ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผู้เรียน โครงการป้องกันยาเสพติด ฯลฯ/แผนการสอน/บันทึกหลังการสอน/คำสั่ง/รูปภาพประกอบกิจกรรมต่างๆ

วิธีคิดคะแนน
1. ในภาคเรียนที่ 2/56 และ 1/57 ผู้เรียน กศน.อำเภอบางสะพาน 564 คน  จากแบบประเมินสุขภาพและสุขภาพจิต 564 ฉบับ มีผู้เรียนตรวจสุขภาพรายปี 530 คน
530 * 100/564 = 93.97 (อ่านว่า 530 คูณ 100 หารด้วย 564)

2. ในภาคเรียนที่ 2/56 และ 1/57 ผู้เรียน กศน.อำเภอบางสะพาน 564 คน  จากแบบประเมินสุขภาพและสุขภาพจิต 564 ฉบับ มีผู้เรียนมีสุขภาพจิตดีขึ้น  520 คน
520 * 100/564 = 92.36

3. ในภาคเรียนที่ 2/56 และ 1/57 ผู้เรียน กศน.อำเภอบางสะพาน 564 คน  จากแบบประเมินสุขภาพและสุขภาพจิต 564 ฉบับ มีผู้เรียนมีสุขภาพจิตแจ่มใส มั่นคง  540 คน
540 * 100/564 = 95.74

4. ในภาคเรียนที่ 2/56 และ 1/57 ผู้เรียน กศน.อำเภอบางสะพาน 564 คน  จากแบบประเมินสุขภาพและสุขภาพจิต 564 ฉบับ มีผู้เรียนไม่ยุ่งเกี่ยว ลด ละ เลิก ยาเสพติด 530 คน
525 * 100/564 = 93.08

นำคะแนนทั้ง 4 ส่วนมาบวกกันแล้วหาร 4
93.97+92.36+95.74+93.08/4 = 93.78

นำคะแนน มาคูณ 3 หาร 100
93.78*3/100 = 2.813
นำไปเทียบในเกณฑ์การประเมิน ได้ระดับดีมาก

วันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ร่างตัวอย่างการทำโครงการนิเทศภายใน

ขั้นตอนที่ 4. การจัดทำโครงการนิเทศ
      การจัดทำโครงการนิเทศ หลังจากที่ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันปัญหา ความต้องการและความจำเป็นในการนิเทศ มีจุดมุ่งหมายการนิเทศที่ชัดเจน และได้ทางเลือกในการปฏิบัติงานนิเทศแล้ว ภารกิจที่จะต้องทำในขั้นตอนสุดท้ายของการวางแผนนิเทศคือการจัดทำโครงการ นิเทศ
4.1 ความหมายของโครงการ(PROJECT) หมายถึง : กิจกรรมหรือกลุ่มกิจกรรมและการปฏิบัติที่มีลักษณะเฉพาะ แตกต่างไปจากการทำงานปกติ เป็นการปฏิบัติงานเฉพาะ  เป็นการดำเนินการเฉพาะเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะที่ชัดเจนของโครงการนั้นเท่า นั้น โครงการจะมีลักษณะเป็นงานที่มีจุดเริ่มต้นและมีจุดสิ้นสุดของการดำเนินงาน ที่ชัดเจนซึ่งแตกต่างไปจากงานประจำโครงการสามารถสนองนโยบายของหน่วยงานได้
4.2 ความสำคัญของโครงการ
      1) โครงการสามารถใช้เป็นหลักฐานในการปฏิบัติงาน
      2) การดำเนินงานตามโครงการทำให้บรรลุวัตถุประสงค์เร็วขึ้น
      3) ทำให้ประหยัดทรัพยากรเนื่องจากโครงการได้กำหนดกรอบในการใช้งบประมาณ
      4) โครงการเป็นเครื่องมือในการสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติงานโครงการ
4.3 ลักษณะของโครงการที่ดี
     1) สามารถนำไปปฏิบัติได้ ไม่เพ้อฝัน ไม่เลื่อนลอย
     2) มีความเหมาะสม สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายและชุมชน
     3) มีรายละเอียดชัดเจน เช่น กลุ่มเป้าหมาย วิธีการ ระยะเวลา
     4) มีทรัพยากรเพียง เช่น งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ ยานพาหนะ
     5) ตรงกับพันธกิจของหน่วยงาน
4.4 โครงสร้างของโครงการ
     1) ชื่อโครงการ
     2) หลักการและเหตุผล
     3) วัตถุประสงค์
     4) เป้าหมาย
     5) วิธีดำเนินการ
     6) ระยะเวลาดำเนินการ
     7) งบประมาณ/แผนเบิกจ่ายงบประมาณ
     8) การประเมินผล
     9) เครือข่าย
    10) ผลลัพธ์
    11) ตัวชี้วัดผลสำเร็จของโครงการ
    12) การติดตามประเมินผล
    13) ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
    14) ผู้รับผิดชอบโครงการ
    15) ความสัมพันธ์กับโครงการอื่น
4.5 การเขียนโครงการ
1)   ชื่อโครงการ ชื่อโครงการจะต้องบ่งบอกว่าทำอะไร อ่านแล้วเข้าใจและมองเห็นภาพของงาน การตั้งชื่อโครงการควรครอบคลุมประเด็นต่อไปนี้
    1.1) มีความชัดเจน เหมาะสม กระชับ
    1.2) เฉพาะเจาะจงเข้าใจง่าย
    1.3) บ่งบอกถึงสิ่งที่จะทำ
2) หลักการและเหตุผล หลักการและเหตุผล หรือเหตุผลความจำเป็น หรือความสำคัญของปัญหาเป็นการแสดงถึงเหตุผลที่ต้องทำโครงการว่า ทำไมต้องทำ ปัญหาที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบหรือทำให้เกิดความเสียหายแก่ใครบ้าง การเขียนหลักการและเหตุผล ควรครอบคลุมประเด็นต่อไปนี้
     2.1) ระบุเหตุผลและความจำเป็น
     2.2) มีหลักฐานอ้างอิง ไม่กล่าวลอย ๆ
     2.3) มีน้ำหนักที่น่าเชื่อถือ
     2.4) ควรกล่าวถึงภาพรวมก่อนแล้วจึงกล่าวถึงปัญหา
3) วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์ เป็นเครื่องชี้ทิศทางการดำเนินงานของโครงการ โดยวัตถุประสงค์จะเป็นข้อความที่บอกให้ทราบว่า โครงการนี้จะทำอะไร ถ้ามีข้อความหลายข้อ ควรเขียนเรียงลำดับความสำคัญ จากที่มีความสำคัญมากไปหาน้อย วัตถุประสงค์มี 2 ลักษณะ
     3.1) วัตถุประสงค์ทั่วไป เป็นการเขียนกำหนดทิศทางอย่างกว้าง ๆ
     3.2) วัตถุประสงค์เฉพาะ เป็นการเขียนกำหนดทิศทางเฉพาะเจาะจง
4) เป้าหมาย เป็นการกำหนดถึงผลงานตามโครงการ เมื่อดำเนินโครงการไปแล้วจะได้อะไร การกำหนดเป้าหมายมี 2 ลักษณะ คือ
     4.1) เป้าหมายเชิงปริมาณ เป็นการกำหนดผลงานในด้านปริมาณ ว่าจะได้อะไร เท่าไหร่
     4.2) เป้าหมายเชิงคุณภาพ เป็นการกำหนดคุณภาพของผลงานที่ระบุไว้เชิงคุณภาพว่า ผลงานที่ได้จากโครงการดีอย่างไร มีคุณค่าอย่างไร เกิดประโยชน์อย่างไร
5) วิธีดำเนินการ เป็นขั้นตอนของการเขียนรายละเอียดภารกิจที่จะต้องปฏิบัติ เพื่อให้งานบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ มีวิธีเขียน ดังนี้
     5.1) จำแนกกิจกรรมหลักหลาย ๆ กิจกรรมตามลำดับ ตั้งแต่เริ่มต้นโครงการจนกระทั้งเสร็จสิ้นโครงการ ให้ชัดเจน
     5.2) กิจกรรมแต่ละกิจกรรมจะต้องกำหนดระยะเวลา โดยกำหนดเป็นแผนปฏิบัติงาน
 ตัวอย่าง  วิธีการดำเนินงานโครงการนิเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพการดำเนินงาน กศน.ตำบล จังหวัดตาก ปีงบประมาณ  2554



6) ดำเนินการ ระยะเวลาในการดำเนินโครงการเป็นการระบุระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งถึงเวลาเสร็จสิ้นโครงการ
     ตัวอย่างที่ 1
     *เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2553
     *สิ้นสุดในวันที่ 30 กันยายน 2554
     ตัวอย่างที่ 2
     *ระหว่างวันที่ 10 เมษายน – 25 สิงหาคม 2554
     ตัวอย่างที่ 3
     *เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม 2554 – เมษายน 2555
7) งบประมาณ การระบุรายละเอียดงบประมาณมีหลักในการเขียนดังนี้
     7.1) ในกรณีที่ทราบแน่ชัดว่าหน่วยงานใดให้การสนับสนุนงบประมาณให้ระบุแหล่งที่มาของงบประมาณและจำนวนเงินที่ได้รับ
     7.2) ระบุรายละเอียดการใช้จ่ายงบประมาณแต่ละกิจกรรมอย่างชัดเจนโดยอาจเขียนรายละเอียดแนบท้ายโครงการ
8) ผู้รับผิดชอบโครงการมีเพียงคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ในกรณีที่เป็นโครงการที่มีหลายฝ่ายดำเนินการร่วมกัน
9) เครือข่าย หมายถึง บุคคล กลุ่มบุคคล ชุมชน หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งแหล่งวิทยาการในชุมชน ที่มีส่วนร่วมส่งเสริมสนับสนุน ประสานงานในการดำเนินโครงการในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านวิทยากร อาคารสถานที่ งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ
10) ความสัมพันธ์กับโครงการอื่น ในการเขียนโครงการควรระบุสาระรายละเอียดที่สัมพันธ์กับโครงการอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อประโยชน์ ดังนี้
     10.1) เป็นการตรวจสอบว่ามีความซ้ำซ้อนกับโครงการอื่นมากน้อยเพียงใด
     10.2) ทำให้ทราบว่าผลที่ได้รับจากโครงการจะนำไปใช้ในประกอบการดำเนินงานของโครงการอื่นได้มากน้อยเพียงใด
     10.3) ทำให้ทราบว่าความสัมพันธ์ระหว่างโครงการเป็นผลดีต่อการประสานงานแผนการปฏิบัติงานมากน้อยเพียงใด
11) ผลลัพธ์ (outcomes) ผลลัพธ์ หมายถึง ผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการหรือผลประโยชน์จากผลผลิต (Outputs) ที่มีต่อบุคคล ชุมชน สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม
12) ดัชนีวัดผลสำเร็จของโครงการ
     12.1) ผลผลิต หมายถึง ตัวชี้วัดที่แสดงผลงานที่เป็นรูปธรรมในเชิงปริมาณและคุณภาพอันเกิดจากการ ดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
     12.2) ตัวชี้วัดผลลัพธ์ หมายถึง ตัวชี้วัดที่แสดงถึงผลประโยชน์จากผลผลิตที่มีต่อบุคคล ชุมชน สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม
13) การติดตามประเมินผล
     13.1) ระบุการติดตามผลและการประเมินผลให้ชัดเจน
     13.2) ควรทำแผนควบคุมการประเมินโครงการ
     13.3) เน้นการประเมินภายในโครงการ
14) ผลการดำเนินโครงการที่ผ่านมาในกรณีที่เป็นโครงการต่อเนื่อง
4.6 การวิเคราะห์โครงการ
    การวิเคราะห์โครงการ หมายถึง การศึกษารายละเอียดของโครงการเพื่อการปรับปรุงเอกสารโครงการให้มีความถูก ต้องสมบูรณ์ที่สุด และให้ได้โครงการที่ดี เหมาะสมกับการปฏิบัติงานของหน่วยงาน การวิเคราะห์โครงการเป็นวิธีการหนึ่งที่มีความสำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่งต่อการดำเนินโครงการ ซึ่งมีแนวทางในการวิเคราะห์ดังนี้
     1) โครงการที่เขียนมีองค์ประกอบสำคัญครบถ้วนสมบูรณ์
     2) องค์ประกอบมีความถูกต้อง และชัดเจนตามหลักการเขียนโครงการ
     3) องค์ประกอบต่าง ๆ มีความสอดคล้องและสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
     4) โครงการมีความเป็นไปได้ในทางเทคนิควิชาการ มีความพร้อมในด้านวัสดุอุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกความพร้อมในด้านงบประมาณ ตลอดจนความพร้อมในด้านบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน วิเคราะห์โครงการ