ค้นหาบทความในเว็บ

วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

24 พฤศจิกายน 2564 เข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนการสอนการวัดผลและประเมินผลหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 รุ่นที่ 1

เมื่อวันที่ 24 - 25 พฤศจิกายน 2564 นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ข้าราชการครู กศน.อำเภอสิงหนครได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการ กศน.อำเภอสิงหนครให้เข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนการสอนการวัดผลและประเมินผลหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 24-25 พฤศจิกายน 2560 4 ณห้องประชุมชั้น 2 สำนักงานกศนจังหวัดสงขลา

กิจกรรมการอบรม
- ทำแบบทดสอบก่อนอบรมเรื่อง การวัดและประเมินผลการศึกษา ได้คะแนนกาฃ่อนอบรม 15 คะแนน
ความรู้พื้นฐานการวัดและประเมินผลการศึกษา โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รุจิราพรรณ คงช่วย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

องค์ประกอบการจัดการศึกษา OLE 
Ojective - จุดมุ่งหมาย 
Learning - การเรียนรู้ 
Evaluation - การประเมินผล
พุทธิพิสัย - ความรู้ 
จิตพิสัย - คุณธรรม EQ
ทักษะ - มีความชำนาญ (ปฏิบัติได้อย่างคล่อง) พอทำได้ยังไม่เป็นทักษะ

ฝึกเขียนจุดประสงค์การเรียนรู้
1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องการทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ความรู้สามารถแบ่งเป็นความรู้ระดับย่อย ๆ ได้อีก
2. เพื่อให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีในกระบวนการทำงานเป็นทีมในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์
3. เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์

การวัดผล อยู่ในเชิงปริมาณ จำนวน ตัวเลข หรือสัญลักษณ์
องค์ประกอบที่สำคัญของการวัด 1) จุดมุ่งหมายในการวัด 2) เครื่องวัด (สำคญที่สุดในการวัด) 3) การแปลผล ซึ่งจะออกมาเป็นข้อมูลเชิงปริมาณหรือตัวเลข
การวัดความรู้ เป็นการวัดทางอ้อม เรียกการวัดทางสังคมศาสตร์ เช่น ความชอบ ความพึงพอใจ 

วิธีการวัดผลการศึกษา เครื่องมือวัผล  >> ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ >> คุณภาพเครื่องมือ
ความเชื่อมั่น = ความคงที่ ข้อสอบเดิม คนเดิม ได้คะแนนเท่าเดิม
ความเป็นปรนัย ความชัดเจน เข้าใจตรงกัน คำถามชัด คำตอบชัดเจน การตรวจให้คะแนนชัดเจน 
ความมีประสิทธิภาพ  = ความคุ้มค่า 
ประสิทธิผล =บรรลุความสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย

การประเมินผล ต้องมี ผลการวัด เกณฑ์การพิจารณา การตัดสินใจ
ประเภทของการประเมินผลการศึกษา 1) ก่อนสอน 2) สอบย่อย 3) ผลรวม

พุทธิพิสัย Bloom - จำ/ใจ/ใช้/วิ/สัง/ประ
จิตพิสัย 
ทักษะ 7 ขั้น - รับรู้/เตรียมพร้อม/ตอบสนอง(ตามคำแนะนำ)/ปฏิบัติ/ ตอบสนอง(ซ้ำซ้อน)/ ดัดแปลง /ริเริ่ม
1. ความรู้ความจำ - บอก ระบุ
เอามาจากเนื้อเรื่อง

2. ความเข้าใจ - ตีความ อธิบาย สรุป เปรียบเทียบ   **มีตัวอย่างสถานการณ์มาให้ เป็นความเข้าใจ** เอามาจากเนื้อหาแล้วดัดแปลงมาเป็นของตนเองให้ได้ ยังอยู่ในสิ่งที่สอนอยู่

3. การนำไปใช้ - ใช้ คำนวณ สาธิต เขียน อ่าน สร้าง พัฒนา การปฏิบัติที่สอดคล้องและเหมาะสม
เอาความรู้ที่มีมาจากหนังสือ ประยุกต์ใช้ในสถานการณ์อื่น ๆ

4. วิเคราะห์ - แยก แยก จำแนก  มีสถานการณ์มาให้นักเรียนต้องวิเคราะห์ความสำคัญออกมาให้ได้

5. สังเคราะห์ - รวม (ก่อให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์) ส่วนใหญ่เป็นข้อสอบอัตนัย

6. ประเมินค่า - การตัดสินใจ (ต้องมีเกณฑ์ มีมาตรฐาน) ใช้เกณฑ์หรือหลักการในการทำำถาม

ตัวชี้วัด = จุดประสงค์การเรียนรู้

IOC ผู้เชี่ยวชาญไม่น้อยกว่า 3 คน (4 คนได้) จากการศึกษา/ประสบการณ์/ผลงาน
หาความยากง่ายและค่าอำนาจจำแนก หากตัดที่คะแนนเท่ากันให้ปรับเปอร์เซนต์ถัดไป เช่น คิดที่ 50% แต่มีคะแนนเท่ากัน 2 คน ไม่สามารถจัดกลุ่มได้ให้ขยับไปที่ 33% แทน แล้วกลุ่มต่ำนับจากคนสุดท้ายที่คะแนนต่ำขึ้นไปด้านบน