ค้นหาบทความในเว็บ

วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2562

การพัฒนากระบวนการเรียนรู้

การพัฒนากระบวนการเรียนรู้

การเรียนรู้

การเรียนรู้ เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกันตลอดชีวิต การเรียนรู้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในโรงเรียนแต่จะเกิดขึ้นตลอดเวลาทุกแห่งหนทุกสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นการจัดการศึกษา ควรตระหนักในเรื่องนี้ให้มาก กล่าวคือต้องเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของผู้เรียน

การเรียนรู้ จึงหมายถึง การที่ผู้เรียนเปลี่ยนพฤติกรรมไปเป็นอย่างอื่น เช่น เปลี่ยนจากการไม่รู้เป็นรู้ หรือ เปลี่ยนจากการชอบเป็นไม่ชอบ หรือ ในทางตรงกันข้าม จากการไม่ชอบเป็นชอบ

การเรียนรู้จึงเป็นการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากประสบการณ์ตราบใดที่ยังไม่มีการเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้ก็จะไม่เกิด
1. ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
นักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงที่สุดในกลุ่มนี้คือ สกินเนอร์ (B.F. Skinner) เชื่อว่า การเรียนรู้ของมนุษย์เป็นสิ่งที่สามารถสังเกตได้จากพฤติกรรมภายนอก และเชื่อในทฤษฎีการวางเงื่อนไข โดยมีแนวคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง การให้การเสริมแรง ทฤษฎีนี้เชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากการที่มนุษย์ตอบสนองต่อสิ่งเร้า ...


2. ทฤษฎีความรู้ความเข้าใจ หรือ ทฤษฎีปัญญา (Cognitive Theories)
ทฤษฎีการเรียนรู้แนวปัญญานิยม (Cognitive Theory) หมายถึง ปัญญานิยม หรือ กลุ่มความรู้ความเข้าใจ หรือบางครั้งอาจเรียกว่ากลุ่ม พุทธินิยม เป็นกลุ่มที่เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด นักคิดกลุ่มนี้ ได้ขยายขอบเขตของความคิดที่เน้นทางด้านพฤติกรรม ออกไปสู่กระบวนการทางความคิด ซึ่งเป็นกระบวนการภายในสมอง เช่น ทฤษฎีกลุ่มเกสต์ตัลท์ (Gestalt's Psychology)



3. ทฤษฎีของกลุ่มมนุษย์นิยม (Humanisticism
ทฤษฎีมนุษยนิยม มีวิวัฒนาการมาจากทฤษฎีกลุ่มที่เน้นการพัฒนาตามธรรมชาติ แต่มีความเป็นวิทยาศาสตร์ คือเป็นกระบวนการมากยิ่งขึ้น คัดค้านการทดลองเกี่ยวกับพฤติกรรมของสัตว์แล้วมาใช้อ้างอิงกับมนุษย์และปฏิเสธที่จะใช้คนเป็นเครื่องทดลองแทนสัตว์
นักทฤษฎีในกลุ่มนี้เห็นว่ามนุษย์มีความคิด มีสมอง อารมณ์และอิสรภาพในการกระทำ การเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีนี้เชื่อว่าผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียน การจัดการเรียนการสอนจึงมุ่งให้เกิดการเรียนรู้ทั้งด้านความเข้าใจ ทักษะและเจตคติไปพร้อม ๆ กันโดยให้ความสำคัญกับความรู้สึกนึกคิด ค่านิยม การแสดงออกตลอดจนการเลือกเรียนตามความสนใจของผู้เรียนเป็นหลัก บรรยากาศในการเรียนเป็นแบบร่วมมือกันมากกว่าการแข่งขันกันอาจารย์ผู้สอนทำหน้าที่ช่วยเหลือให้กำลังใจและอำนวยความสะดวกในขบวนการเรียนของผู้เรียนโดยการจัดมวลประสบการณ์ เอื้อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เช่น ทฤษฎีความต้องการของมาสโลว์ (Maslow)

ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ (Basic human Needs)
ความต้องการพื้นฐาน เป็นปัจจัยที่สำคัญมากอย่างหนึ่งของความแตกต่างระหว่างบุคคล มาสโลว์ (Maslow) กล่าวว่า ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ เป็นสัญชาตญาณที่ติดตัวมนุษย์มาแต่กำเนิดมีอยู่ 5 ขั้นตอน เริ่มจากต่ำสุดไปสูงสุด โดยที่มนุษย์จำเป็นต้องได้รับการตอบสนองความต้องการขั้นต่ำสุดจนเป็นที่พอใจก่อนที่ความต้องการขั้นสูงความต้องการของมนุษย์แต่ละคนจะแตกต่างกันไป และพฤติกรรมหนึ่งก็สามารถตอบสนองความต้องการหลายๆอย่างได้ในเวลาเดียวกัน

มาสโลว์ ได้จัดความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ไว้ดังนี้
ความต้องการทางด้านร่างกาย (Basic Physioloyical Need) เป็นความต้องการเกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต เช่น อากาศ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม การพักผ่อน การขับถ่ายเป็นต้น
ความต้องการความปลอดภัย (Safe and Security Need) เป็นความต้องการความปลอดภัยมั่นคง ความคุ้มครองปกป้อง ความต้องการความมั่นคงทางวัตถุปัจจัยภายนอก ความปลอดภัยจากการคุกคาม ปลอดภัยจากความวิตกกังวล อันตรายและความเจ็บปวดต่างๆ
ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ (Love and Belonging Need) หมายถึงความต้องการทางสังคม เช่น ความต้องการความรัก อยากให้ตนเป็นที่รักได้รับการยอมรับจากกลุ่ม ต้องการส่วนร่วมในกลุ่ม
ความต้องการการยอมรับนับถือ (Esteem Need) หมายถึง ความต้องการความเคารพนับถือจากผู้อื่น (respect from others) บางที่เรียกว่า Self Esteem
ความต้องการบรรลุศักยภาพสูงสุดแห่งตน (Self Actualization Need) เป็นความต้องการสูงสุดของบุคคล ที่จะต้องพยายามทำทุกสิ่งทุกอย่างตามความเหมาะสมและความสามารถของตนเองในทางที่สร้างสรรค์ดีงาม


    4. ทฤษฎีผสมผสาน (Intergrated Theory)
    ทฤษฎีของกาเย่ (Gane) จะผสมผสานระหว่างทฤษฎีพฤติกรรมนิยมและทฤษฎีความรูู้ความเข้าใจและทฤษฎีการเรียนรู้ ของบลูม (Bloom) ไว้ด้วยกัน
     โรเบิร์ต กาเย (Robert Gagne) เป็นนักปรัชญาและจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกา (1916-2002) ได้เสนอแนวความคิดเกี่ยวกับการสอน คือ ทฤษฎีเงื่อนไขการเรียนรู้ (Condition of Learning) โดยทฤษฎีการเรียนรู้ของกาเยจัดอยู่ในกลุ่มผสมผสาน (Gagne’s eclecticism) ซึ่งเชื่อว่าความรู้มีหลายประเภท บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้ง บางประเภทมีความซับซ้อนจำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง กระบวนการเรียนรู้และจดจำของมนุษย์ มนุษย์มีกระบวนการจัดกระทำข้อมูลในสมอง ซึ่งมนุษย์จะอาศัยข้อมูลที่สะสมไว้มาพิจารณาเลือกจัดกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และในขณะที่กระบวนการจัดกระทำข้อมูลภายในสมองกำลังเกิดขึ้น เหตุการณ์ภายนอกร่างกายมนุษย์มีอิทธิพลต่อการส่งเสริมหรือการยับยั้งการ เรียนรู้ที่เกิดขึ้นภายในได้ ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอน กาเยจึงได้เสนอแนะว่า ควรมีการจัดสภาพการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับการเรียนรู้แต่ละประเภท ซึ่งมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน และส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ภายในสมอง โดยการจัดสภาพภายนอกให้เอื้อต่อกระบวนการเรียนรู้ภายในของผู้เรียน



    การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bloom (Bloom's Taxonomy)

    รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

    Bloom ได้แบ่งการเรียนรู้เป็น 6 ระดับ 
    1. ความรู้ที่เกิดจากความจำ (knowledge) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด
    2. ความเข้าใจ (Comprehension)
    3. การประยุกต์ (Application)
    4. การวิเคราะห์ ( Analysis) สามารถแก้ปัญหา ตรวจสอบได้
    5. การสังเคราะห์ ( Synthesis) สามารถนำส่วนต่างๆ มาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้ให้แตกต่างจากรูปเดิม เน้นโครงสร้างใหม่
    6. การประเมินค่า ( Evaluation) วัดได้ และตัดสินได้ว่าอะไรถูกหรือผิด ประกอบการตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผลและเกณฑ์ที่แน่ชัด


    เอกสารที่เกี่ยวข้อง http://e-book.ram.edu/e-book/e/EA634/EA634-3.pdf