ค้นหาบทความในเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2564

27 ธันวาคม 2564 ประชุมประจำสัปดาห์ด้วยกระบวนการ PLC และ PDCA

เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2564 นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ข้าราชการครู กศน.อำเภอสิงหนคร ร่วมประชุมประจำสัปดาห์ด้วยกระบวนการ PLC และ PDCA ณ ห้องประชุม กศน.อำเภอสิงหนคร 
สาระการประชุม 

1.การดำเนินการ ศรร.
ทำหน่วยและแผนการเรียนรู้ อย่างละ 2 ชุด
- ปกฐานการเรียนรู้ - สีเหลือง
- หน่วยและแผน - สีฟ้า
- หลังปีใหม่ ดำเนินการจัดทำฐานการเรียนรู้ นำนักศึกษาถอดบทเรียนด้วยกระดาษบรูฟ เก็บภาพนักศึกษาถอดบทเรียน 
- แบบประเมินฐานการเรียนรู้ ดำเนินการได้เลยไม่ต้องรอ 
- วันที่ประเมิน ศรร. การลงพื้นที่ดูงาน ศรร. ณ กศน.ตำบลปากรอ ปุ๋ยหมักและฐานมะนาวในบ่อซีเมนต์ และสวนเทพหยา ฐานการทำข้าวยำสมุนไพร 

2. การดำเนินการ 1 อำเภอ 1 อาชีพ ช่วงปีใหม่และต้อนรับเลขาธิการ กศน.
วันที่ 4 มกราคม 2565 การดำเนินการ 1 อำเภอ 1 อาชีพ เป้าหมายตำบลละ 3 คน สาธิตอาชีพ กศน.ตำบลสทิงหม้อ
วันที่ 5 มกราคม 2565 ส่งหน่วยและแผนศรร.
วันที่ 6 มกราคม 2565 จัดบูทอาชีพ ณ สำนักงาน กศน.จังหวัดสงขลา 
วันที่ 7 มกราคม 2565 จัดอาชีพ ณ สำนักงาน กศน.จังหวัดสงขลา สาธิตการทำขนมจากวัตถุดิบฟ้าทะลายโจร ผลิตภัณฑ์ จาวตาล น้ำตาลผงจากตาลโตนด มะม่วง ข้าวไรเบอร์รี่ สาธิตการทำขนมจากวัตถุดิบฟ้าทะลายโจร 

3. แผนงานโครงการ อนุมัติเรียบร้อยแล้ว ดำเนินการได้เลย (ยกเว้นงานอัธยาศัย ยังไม่ได้งบ)

มอบหมายงาน ทำปกฐานการเรียนรู้ นิเทศการดำเนินการปุ๋ยหมัก กศน.ตำบลปากรอ

วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2564

23 ธันวาคม 2564 ร่วมประชุมกับชมรมผู้บริหารสถานศึกษาอำเภอสิงหนคร เพื่อจัดงานวันครู

เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2564 นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ข้าราชการครู กศน.อำเภอสิงหนคร ได้รับมอบหมายจากนางสุพันธ์ ทองแกมแก้ว ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอสิงหนคร ให้เข้าร่วมประชุมกับชมรมผู้บริหารสถานศึกษาอำเภอสิงหนครได้ส่งหนังสือเชิญสถานศึกษาทุกสังกัดที่มีบุคลากรครูมาประชุมเพื่อวางแผนการดำเนินงาน จัดงานวันครู ครั้งที่ 66 โดยมีผู้แทนจาก กศน. ผู้แทนจากเทศบาล เข้าร่วมประชุมด้วย
วาระที่ 1 ประธานแจ้งในที่ประชุมแจ้งเรื่องคำสั่ง ศบค.จังหวัดสงขลาที่ 170 อนุญาตให้สถานศึกษาได้ใช้อาคารในการเรียนการสอน การสอบ แต่อยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษานั้น ๆ โดยสถานศึกษาส่วนใหญ่เปิดเรียนวันที่ 10 มกราคม 2565 
วาระที่ 2 -
วาระที่ 3 จัดงานวันครู ครั้งที่ 66 จัดวันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม 2565 ณ โรงเรียนสงขลาวิทยาคม
- การจัดงานวันครูครั้งที่แล้วให้ครูที่ได้รับเกียรติบัตรมาเพื่อเชิดชูเกียรติ 
- การจัดงานวันครูในครั้งนี้ เชิญนายอำเภอเป็นประธานฯ โดยสถานที่ใช้บริเวณใต้โดมโรงเรียนสงขลาวิทยาคม เป้าหมาย 350 คน 
- การจัดงานวันครูทุกปีที่ผ่านมาชมรม ฯ มีต้นทุนอยู่ประมาณ 7,000 - 8,000 บาท แต่งบประมาณส่วนใหญ่ต้องระดมทุนจากโรงเรียนต่าง ๆ ในชมรม ซึ่งควรยืนหยัดในการจัดงานวันครูต่อไป โดยขอความอนุเคราะห์จากโรงเรียนในการลงทะเบียน โดยการเบิกงบจากโรงเรียน ซึ่งโรงเรียนอาจจัดโครงการเข้าร่วม สามารถเบิกอาหารเที่ยง 180 บาท อาหารว่าง 35 บาท โดยวันครูมีกิจกรรมทางวิชาการ ขอความร่วมมือโรงเรียนจัดเข้าร่วมกิจกรรม
- ผู้ลงนามในเกียรติบัตรพิจารณาจากการนำเกียรติบัตรไปใช้ประโยชน์ 
- อัตราการรับเกียรติบัตร 1: 7 คน โดยผู้อำนวยการหรือคณะครูที่ได้รับมอบหมายในโรงเรียนคัดเลือก
- ค่าลงทะเบียน 200 บาท เพื่อเป็น ข้าว 1 กล่อง ค่าประดับตกแต่งสถานที่  ค่าสถานที่ อื่น ๆ โดยไม่รวมกับกรอบเกียรติบัตร ซึ่งสถานศึกษาที่จัดโครงการร่วมล้างหนี้ได้ด้วยตนเอง
- หน่วยงานเสนอชื่อครู ส่งรายชื่อวันที่ 4 มกราคม 2565
วาระที่ 4 พิจารณาการจัดงานวันครู

วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2564

21 ธันวาคม 2564 ร่วมโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการนิเทศภายในแบบคู่สัญญาของสำนักงาน กศน.จังหวัดสงขลา ประจำปีงบประมาณ 2565

เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2564 นางสุพันธ์ ทองแกมแก้ว ผู้อำนวยการ นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ข้าราชการครู กศน.อำเภอสิงหนคร และบุคลากร กศน.อำเภอสิงหนคร เข้าร่วมโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการนิเทศภายในแบบคู่สัญญาของสำนักงาน กศน.จังหวัดสงขลา ประจำปีงบประมาณ 2565 และโรงแรมกรีนเวิลด์ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยมีผู้อำนวยการ สำนักงาน กศน.จังหวัดสงขลา เป็นประธานในพิธีเปิด วิทยากร นายณัฐวุฒิ รัตนอรุณ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดนครศรีธรรมราช
 



การนิเทศในรูปแบบออนไลน์
กระบวนการนิเทศเป็นเรื่องที่สำคัญ การนิเทศเปรียบเสมือนกระจกเงา เพื่อทำให้เราทราบได้ว่ากระบวนการที่เราทำดี ไม่ดี อย่างไร 
ซึ่งเป็นประเด็นท้าทายในการดำเนินการให้สอดรับกับ วPA 

คุณภาพการศึกษา 3 อย่างที่ครูต้องรู้ก่อน
1.ภารกิจในการจัดการศึกษา
2.สมรรถนะของบุคลากร/2.1 การทำงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์/2.2 การบริการที่ดี/2.3 การพัฒนาตนเอง/2.4 การทำงานเป็นทีม/2.5 มีคุณธรรมจริยธรรม
3.กระบวนการจัดการศึกษา PDCA กระบวนการบริหารการศึกษา กระบวนการจัดการเรียนรู้ กระบวนการนิเทศการศึกษา LI เรียนรู้และบูรณาการ
เทียบเคียงสมรรถนะ เพื่อให้เกิดการพัฒนา

คู่สัญญาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี คู่สัญญาต้องเข้าใจกันและกัน ต้องยอมรับคำแนะนำ
คุณภาพของครูอยู่ที่การนิเทศ

ปรับเปลี่ยนแนวคิดครู ให้คิดว่าการนิเทศ คือ การพัฒนา มีการให้ค่าปฎิบัติและไม่ปฏิบัติแทนระดับค่าคะแนน

การดำเนินการนิเทศแบบคู่สัญญา
วางแผนการจัดการนิเทศ ผู้บริหาร ครู ผู้เทศร่วมกันประชุมชี้แจงร่วมกัน 
ร่วมสร้างแผนปฏิบัติการนิเทศ ก่อน/ระหว่าง/หลังการสอน
การดำเนินการนิเทศภายในแบบคู่สัญญา การมีส่วนร่วม/ตัดสินใจ/รับผลประโยชน์/ประเมินผล
ติดตามตรวจสอบและประเมินผล/ผลผลิตที่ได้จากการนิเทศ พฤติกรรมของครู /กระบวนการ กิจกรรม บรรยายในการนิเทศ/ปัจจัยป้อน สิ่งสนับสนุน
ปรับปรุง แก้ไข สร้างขวัญและกำลังใจ พูดน้อย ฟังให้มาก ยอมรับและฟังการสะท้อนของครู จุดที่ควรพัฒนา พยายามใช้คำถามในการแนะนำให้ครูคิด 
สนับสนุนคำพูดของครู 
แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างนวัตกรรมสู่การปฎิบัติ L
การบูรณาการ I นำไปพัฒนาการจัดการเรียนการสอน การดำเนินการตามแนวการปฏิบัติที่ดี Best Practices 

ผู้บริหารควรมีข้อตกลงกับครู ในการทำคู่สัญญาการนิเทศ การทำสัญญา กำหนดวัตถุประสงค์ขึ้นมาเอง เช่น ต้องการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 เทียบกับปีที่ผ่านมา 

13.00 16.30 น. 
- สาธิตการนิเทศการสอน เด็กชาย ช.ช้าง 
- สาธิตการสอนจริงจากครูที่มีสื่อ ไม่มีแผน 
- สาธิตการสอนจากครูที่มีแผนการสอน 
- การใช้แบบนิเทศการสอนจากคู่มือการนิเทศแบบคู่สัญญา

การนิเทศต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องจึงจะประสบความสำเร็จ เพื่อให้เกิดคุณภาพ 
การอบรมต้องการให้ทุกคนมีส่วนร่วม เจตคติ องค์ความรู้และประสบการณ์ จะเกิดได้จากการอบรมและฝึกปฏิบัติ

วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

1 ธันวาคม 2564 ร่วมจัดโครงการ To Be Number One ในระดับอำเภอ

เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2564 นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ข้าราชการครู กศน.อำเภอสิงหนครได้ ร่วมจัดโครงการ To Be Number One ในระดับอำเภอ เพื่อพัฒนาผู้เรียน โดยนักศึกษาสมัครชมรมฯ ทุกคน มีกิจกรรมร้องเพลง และเต้นประกอบเพลง โดยมุ่งเน้นให้เยาวชนทำกิจกรรมร่วมกัน ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เพื่อห่างไกลยาเสพติด 

วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ได้รับมอบหมายจากสำนักงาน กศน.จังหวัดสงขลา ให้เข้าร่วมอบรมหลักสูตรการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์

ได้รับมอบหมายจากสำนักงาน กศน.จังหวัดสงขลา ให้เข้าร่วมอบรมหลักสูตรการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์



วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

24 พฤศจิกายน 2564 เข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนการสอนการวัดผลและประเมินผลหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 รุ่นที่ 1

เมื่อวันที่ 24 - 25 พฤศจิกายน 2564 นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ข้าราชการครู กศน.อำเภอสิงหนครได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการ กศน.อำเภอสิงหนครให้เข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนการสอนการวัดผลและประเมินผลหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 24-25 พฤศจิกายน 2560 4 ณห้องประชุมชั้น 2 สำนักงานกศนจังหวัดสงขลา

กิจกรรมการอบรม
- ทำแบบทดสอบก่อนอบรมเรื่อง การวัดและประเมินผลการศึกษา ได้คะแนนกาฃ่อนอบรม 15 คะแนน
ความรู้พื้นฐานการวัดและประเมินผลการศึกษา โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รุจิราพรรณ คงช่วย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

องค์ประกอบการจัดการศึกษา OLE 
Ojective - จุดมุ่งหมาย 
Learning - การเรียนรู้ 
Evaluation - การประเมินผล
พุทธิพิสัย - ความรู้ 
จิตพิสัย - คุณธรรม EQ
ทักษะ - มีความชำนาญ (ปฏิบัติได้อย่างคล่อง) พอทำได้ยังไม่เป็นทักษะ

ฝึกเขียนจุดประสงค์การเรียนรู้
1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องการทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ความรู้สามารถแบ่งเป็นความรู้ระดับย่อย ๆ ได้อีก
2. เพื่อให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีในกระบวนการทำงานเป็นทีมในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์
3. เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์

การวัดผล อยู่ในเชิงปริมาณ จำนวน ตัวเลข หรือสัญลักษณ์
องค์ประกอบที่สำคัญของการวัด 1) จุดมุ่งหมายในการวัด 2) เครื่องวัด (สำคญที่สุดในการวัด) 3) การแปลผล ซึ่งจะออกมาเป็นข้อมูลเชิงปริมาณหรือตัวเลข
การวัดความรู้ เป็นการวัดทางอ้อม เรียกการวัดทางสังคมศาสตร์ เช่น ความชอบ ความพึงพอใจ 

วิธีการวัดผลการศึกษา เครื่องมือวัผล  >> ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ >> คุณภาพเครื่องมือ
ความเชื่อมั่น = ความคงที่ ข้อสอบเดิม คนเดิม ได้คะแนนเท่าเดิม
ความเป็นปรนัย ความชัดเจน เข้าใจตรงกัน คำถามชัด คำตอบชัดเจน การตรวจให้คะแนนชัดเจน 
ความมีประสิทธิภาพ  = ความคุ้มค่า 
ประสิทธิผล =บรรลุความสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย

การประเมินผล ต้องมี ผลการวัด เกณฑ์การพิจารณา การตัดสินใจ
ประเภทของการประเมินผลการศึกษา 1) ก่อนสอน 2) สอบย่อย 3) ผลรวม

พุทธิพิสัย Bloom - จำ/ใจ/ใช้/วิ/สัง/ประ
จิตพิสัย 
ทักษะ 7 ขั้น - รับรู้/เตรียมพร้อม/ตอบสนอง(ตามคำแนะนำ)/ปฏิบัติ/ ตอบสนอง(ซ้ำซ้อน)/ ดัดแปลง /ริเริ่ม
1. ความรู้ความจำ - บอก ระบุ
เอามาจากเนื้อเรื่อง

2. ความเข้าใจ - ตีความ อธิบาย สรุป เปรียบเทียบ   **มีตัวอย่างสถานการณ์มาให้ เป็นความเข้าใจ** เอามาจากเนื้อหาแล้วดัดแปลงมาเป็นของตนเองให้ได้ ยังอยู่ในสิ่งที่สอนอยู่

3. การนำไปใช้ - ใช้ คำนวณ สาธิต เขียน อ่าน สร้าง พัฒนา การปฏิบัติที่สอดคล้องและเหมาะสม
เอาความรู้ที่มีมาจากหนังสือ ประยุกต์ใช้ในสถานการณ์อื่น ๆ

4. วิเคราะห์ - แยก แยก จำแนก  มีสถานการณ์มาให้นักเรียนต้องวิเคราะห์ความสำคัญออกมาให้ได้

5. สังเคราะห์ - รวม (ก่อให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์) ส่วนใหญ่เป็นข้อสอบอัตนัย

6. ประเมินค่า - การตัดสินใจ (ต้องมีเกณฑ์ มีมาตรฐาน) ใช้เกณฑ์หรือหลักการในการทำำถาม

ตัวชี้วัด = จุดประสงค์การเรียนรู้

IOC ผู้เชี่ยวชาญไม่น้อยกว่า 3 คน (4 คนได้) จากการศึกษา/ประสบการณ์/ผลงาน
หาความยากง่ายและค่าอำนาจจำแนก หากตัดที่คะแนนเท่ากันให้ปรับเปอร์เซนต์ถัดไป เช่น คิดที่ 50% แต่มีคะแนนเท่ากัน 2 คน ไม่สามารถจัดกลุ่มได้ให้ขยับไปที่ 33% แทน แล้วกลุ่มต่ำนับจากคนสุดท้ายที่คะแนนต่ำขึ้นไปด้านบน


วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

22 พฤศจิกายน 2564 เข้าร่วมประชุมประจำสัปดาห์ ด้วยกระบวนการ PLC และ PDCA

เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2564 นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ข้าราชการครู กศน.อำเภอสิงหนคร เข้าร่วมประชุมประจำสัปดาห์ ด้วยกระบวนการ PLC และ PDCA
- วาระก่อนประชุม ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษากับศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและสาธิตหารเรียนรู้สวนเทพหยา
- การดำเนินการ ศรร.
- ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการออกแบบปกการถอดบทเรียน ศรร.




วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

18 พฤศจิกายน 2564 รับชมการประชุมชี้แจงจุดเน้นและแนวทางการดำเนินงาน สำนักงาน กศน. ประจำปีงบประมาณ 2565


เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ข้าราชการครู กศน.อำเภอสิงหนคร รับชมการประชุมชี้แจงจุดเน้นและแนวทางการดำเนินงาน สำนักงาน กศน. ประจำปีงบประมาณ 2565 ผ่านระบบ Facebook Live ETV Chanel โดยเลขาธิการ กศน. มอบนโยบาย มีสาระสรุปได้ดังนี้  เพื่อให้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนงาน กศน. ภายใต้หลักการ “กศน. เพื่อประชาชน ก้าวใหม่ : ก้าวแห่งคุณภาพ” โดยเฉพาะภารกิจของหน่วยงาน สามารถขับเคลื่อนอย่างชัดเจน มีคุณภาพ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งนี้จึงเปรียบเสมือนการตอกย้ำทิศทางการทำงานว่า การดำเนินงาน ของ กศน.จะสำเร็จได้นั้น พวกเราต้องร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ ในการขับเคลื่อนงานอย่างเป็นระบบและมีคุณภาพ เนื่องจากงานของ กศน. ถือเป็นงานที่ยิ่งใหญ่ เป็นที่พึ่งของประชาชน ตามนโยบายของทางรัฐบาลและทางกระทรวงศึกษาธิการที่ว่าไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง นอกจากนี้ หลักการบริหารจัดการ กศน. ตนได้ให้ความสำคัญ และได้แบ่งโครงสร้างออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน คือ 
ต้นน้ำ คือ หน่วยงานกลุ่ม / ศูนย์ส่วนกลาง บทบาทหน้าที่ของส่วนกลางจะเป็นผู้กำหนดเป้าหมายการบริหารจัดการในการขับเคลื่อนงาน ดูแล ช่วยเหลือ นิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล ตลอดจนสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานแก่ผู้ปฏิบัติงาน 
กลางน้ำ คือ สถาบัน กศน.ภาค และสำนักงาน กศน.จังหวัด ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนงานนโยบายไปสู่พื้นที่ และจะเป็นโซ่ข้อกลางในการประสานงานระหว่างต้นน้ำ และ ปลายน้ำ 
ปลายน้ำ คือ กศน.อำเภอ และ กศน.ตำบล เป็นส่วนสำคัญในการปฏิบัติงาน ก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ นำผลไปสู่เป้าหมายของการทำงาน การปฏิบัติงานทั้ง 3 ส่วน ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำต้องทำงานเชื่อมประสานกัน เพื่อบรรลุเป้าหมายของ กศน.

นายสุรศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับนโยบายจุดเน้นและแนวทางการดำเนินงาน สำนักงาน กศน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีแนวทางการขับเคลื่อนงาน กศน. แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลักใหญ่ๆ คือ 
1).การน้อมนำพระบรมราโชบาย โครงการพระราชดำริฯสู่การฏิบัติ 
2) นำนโยบายของ กระทรวงศึกษาธิการลงสู่การปฏิบัติ ตามที่นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และนางกนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มอบนโยบายไว้เป็นหลักขับเคลื่อนงาน เพื่อให้ กศน.นำไปต่อยอดให้มีความยั่งยืนและเป็นแบบอย่างต่อไป 
3) นำนโยบาย จุดเน้น และแนวทางการดำเนินงาน สำนักงาน กศน. ไปสู่การปฏิบัติ โดยมุ่งเน้นประเด็นหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพในมิติต่างๆ ได้แก่ 
    1) การจัดการเรียนรู้คุณภาพ อาทิ การปรับปรุงหลักสูตร การวัดผลประเมินผล การพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อการเรียนรู้ และการนิเทศ กำกับ ติดตาม 
    2) การสร้างสมรรถนะและทักษะคุณภาพ อาทิ การส่งเสริมการศึกษาสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้พิการ และสตรีตั้งครรภ์ การส่งเสริมการพัฒนาทักษะด้านภาษาและดิจิทัล การสร้างสมรรถนะและทักษะชีวิต อาชีพ และวิชาการ 
    3) องค์กร/สถานศึกษา และแหล่งเรียนรู้คุณภาพ อาทิ ยกระดับมาตรฐาน กศน.ตำบล ให้มีคุณภาพ การส่งเสริมกลุ่ม กศน.จังหวัด ให้เข้มแข็ง การให้บริการวิทยาศาสตร์เชิงรุก มีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย และการสร้างอาสาสมัคร กศน. 
    4) การบริหารจัดการคุณภาพ อาทิ ปรับปรุงแผนอัตรากำลัง พัฒนาบุคลากร ทุกประเภททุกระดับ การเสริมสร้างขวัญและกำลังใจ ยึดหลักธรรมาภิบาล สร้างภาคีเครือข่ายและการมีส่วนร่วม การใช้เทคโนโลยีเพื่อการบริหาร และการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ ซึ่งการขับเคลื่อนในด้านต่าง ๆ เหล่านี้ มีเป้าหมายในการสร้างโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ยกระดับคุณภาพการศึกษาและการบริการให้กลุ่มเป้าหมาย มีความสุข มีทักษะสมวัย เก่ง ดี และกล้า บุคลากรในสังกัดมีความสุขในการปฏิบัติงานมีขวัญและกำลังใจที่ดี และงานมีคุณภาพ ซึ่งการขับเคลื่อนในเรื่องต่าง ๆ ดังกล่าวนั้นจะต้องอาศัยความร่วมมือของหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดทุกแห่ง ถ่ายทอดความเข้าใจไปสู่บุคลากรในระดับปฏิบัติงาน รวมทั้งกำกับ ดูแล ส่งเสริม และสนับสนุนภารกิจที่ต้องดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ไปสู่การปฏิบัติต่อไป เพื่อให้เป็น “กศน. เพื่อประชาชน ก้าวใหม่ : ก้าวแห่งคุณภาพ”



วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

16 พฤศจิกายน 2564 เข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อการประเมินตำแหน่งให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะตามหลักเกณฑ์และวิธีการใหม่ ว.PA

เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2564 นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ข้าราชการครู กศน.อำเภอสิงหนคร เข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อการประเมินตำแหน่งให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะตามหลักเกณฑ์และวิธีการใหม่ ว.PA โดยนางเกษร ธานีรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัดสงขลา เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฯ ผ่านระบบ Google Meet  โดยมีนายประเสริฐ หอมดี ข้าราชการบำนาญ อดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการเป็นวิทยากร

พิจารณาประเมินเลื่อนขั้นเงินเดือน

คงวิทยฐานะ ตาม ม.55 ทำแล้วไม่ผ่านอาจลด หรือไม่ให้วิทยฐานะ

การขอมี/เลื่อนวิทยฐานะ (1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2565)

วิเคราะห์ประเด็นท้าทาย เช่น งานพื้นฐาน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คิดเรื่องเล็ก ๆ แต่ส่งผลถึงผู้เรียน ผู้เรียนมีพัฒนาการ เป็นรายวิชาได้ ยกระดับผลสัมฤทธิ์รายวิชานั้น N-NET ผลสัมฤทธิ์อยู่ในระดับใด ผู้เรียนขาดสอบ ไม่ค่อยมาพบกลุ่ม ครูต้องประเมินกับผู้เรียน

ผู้บริหาร ผลเกิดขึ้นกับผู้เรียน ครู สถานศึกษา

ก.ค.ศ. ปรับมาตราฐานตำแหน่งใหม่

ทำข้อตกลง Performance Agreeent : วPA กับผู้บริหาร ในด้านหน้าที่ครู 1.จัดกิจกรรม 2.ส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ 3.พัฒนาตนเอง


ประธานกรรการ (ผู้บริหาร) แต่งตั้งกรรมการประเมิน มีนาคม - เมษายน ประเมินจริง กันยายน

องค์ประกอบ PA ตามมาตรฐานตำแหน่ง

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางาน

1.การปฏิบัติงานตามมาตราฐานตำหน่งและภาระงานตาม กศน.กำหนด

2.ผลการปฏิบัติงาน  1.จัดกิจกรรม 2.ส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ 3.พัฒนาตนเอง

ส่วนที่ 2 ประเด็นท้าทาย 

ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน **ผลลัพธ์ต้องเกิดกับผู้เรียน**

ขั้นตอนกระบวนการ 

สอดคล้องเป้าหมายสถานศึกษานโยบายหน่วยงาน
กรรมการ 3 คน ประเมิน
ผอ.แต่งตั้ง 3 คน : ผู้บริหาร ประธาน /ศน.อาจารย์มหาวิทยาลัย ผศ.ดร. /ผอ. ครูเกษียน ถ้าไม่มี ผอ.จังหวัดแต่งตั้ง ประเมินครึ่งปีเพื่อเลื่อนเงินเดือน (ประมาณ มีนาคม - เมษายน)

กรรมการประเมินตามแบบ ก.ค.ศ. PA1/ส PA2/ส PA3/ส

ผอ.นำผลเข้าสู่ DPA ทุกรอบ
มีภาระงานตาม ก.ค.ศ.กำหนด
ผลต้องผ่าน 70% ขึ้นไป
เวลา 4 ปีติดต่อกัน
ผล PA 3 รอบ 70% ขึ้นไป
วินัย 4 ปีย้อนหลัง

การลดเวลา
- ภาษาต่างประเทศสูงกว่า B1
- พื้นที่ลำบาก 3 ปีติดต่อกัน
-ได้วุฒิสูงขึ้น
- ........

ขอได้ภาคเรียนละ 1 ครั้ง
ผล  PA 3 รอบ
แผนการจัดการเรียนรู้ 1 ไฟล์  40 แผนต่อปีเลือกเอาแผนเดียว
วีดิทัศน์ 2 ไฟล์ 
ไฟล์ที่ 1 ไม่เกิน 10 นาที ทำไมจึงออกแบบการเรียนรู้แบบนี้ สอนแบบนี้ จัดกิจกรรมแบบนี้ 
ไฟล์ที่ 2 การสอนตามแผน ไม่สนเทคนิค ดูการสอน การตอบคำถาม การมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน

ผลลัพธ์การเรียนรู้ไม่เกิน 3 ไฟล์ ผลลัพธ์ผู้เรียน ผลลัพธ์จากการสอนตามแผน วีดีโอ หรือเอกสาร หรือรูปภาพ
ผอ.ตรวจและส่ง กศน.จังหวัด  **นับวันที่ส่งในระบบ**

การอนุมัติ ไม่ก่อนวันที่สถานศึกษา ...........

วPA ไม่ใช้กระดาษ 

ระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง ทำเรื่องเดียวกันได้ แตกต่างกันที่วิธีการ 
การจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ความรู้ เจตคติ ทักษะ คุณลักษระอันพึงประสงค์ .......

ภาระงานตามที่ ก.ค.ศ.กำหนด 18 ชั่วโมง
1. ชั่วโมงสอนตามตาราง ไม่น้อยกว่า 10 ชั่วโมง/สัปดาห์
- สอน
- ฝึกอบรม สาธิต เป็นวิทยากร
- นิทรรศการ จัดรายการวิทยุ TV
- เผยแพร่ แนะแนว พัฒนาเครือข่าย
- นิเทศ ติดตาม
- ส่งเสริม สนับสนุน การจัดใน ศกร.

งานอื่น ๆ 
2. งานส่งเสริมสนับสนุน
พัฒนางานวิชาการ
จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้
จัดทำหลักสูตร สื่อ แฟ้มงาน
3. งานพัฒนาคุณภาพ
- หัวหน้ากลุ่มสาระ วิชาต่าง ๆ (ทำคำสั่งแต่งตั้ง)
ประกันคุณภาพ
ทะเบียน เทียบโอน
บริหารจัดการของ กศน.อำเภอ
4. งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น 
***ต้องเขียนในแบบ PA 1*** หน้า 80 
วPA มุ่งเน้น Out Come ไม่ใช่ Out Put
วัดผล ประเมินผล พัฒนาผู้เรียน บริหารจัดการเรียนการสอน

PA3/2 ใบสรุป หน้า 103
15 งาน งานละ 10 คะแนน
ประเด็นท้าทาย 40 คะแนน สภาพปัจจุบัน ขั้นตอนดำเนินงาน 10 วิธีการ 10 ผลลัพธ์ 20
ใบประเมิน หน้า 85

**โครงงาน เป็นกระบวนการเรียนรู้ สามารถใช้ได้ทุกวิชา**

** ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัดสงขลา : ข้อตกลงในการพัฒนางานทำ 1 ปี แต่ใน 6 เดือนต้องมีการเลื่อนขั้นเงินเดือน ต้องมีภาระชิ้นงาน กระบวนการทำงานอย่างไรในการนำไปเลื่อนขั้นเงินเดือน 

15 พฤศจิกายน 2564 นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ข้าราชการครู ได้ประชุมประจำสัปดาห์ โดยใช้กระบวนการ PLC และ PDCA

 เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564 นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ข้าราชการครู ได้ประชุมประจำสัปดาห์ โดยใช้กระบวนการ PLC และ PDCA ของ กศน.อำเภอสิงหนคร


วันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

8 พฤศจิกายน 2564 ประชุมประจำสัปดาห์ตามกระบวนการ PLC และ PDCA

เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ข้าราชการครู กศน.อำเภอสิงหนคร เข้าร่วมประชุมประจำสัปดาห์ตามกระบวนการ PLC  และ PDCA โดยมีสาระดังนี้ 
- งานการศึกษาต่อเนื่อง แต่ละตำบลจัดทำแผน โดยการจัดให้สอดคล้องกับนโยบาย การศึกษาต่อเนื่อง 1 อำเภอ 1 อาชีพ กศน.ตำบลชิงโค ดำเนินการเรื่องผ้ามัดย้อม ผ้าบาติก ให้เป็นรูปธรรม 
- แผนงานโครงการเนื่องกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง ปี 65 นโยบายผู้อำนวยการ ต้องมี กศน.ตำบลพรีเมี่ยมเป็นของตนเอง
- งานพัสดุ กศน.ตำบลได้รับคอมพิวเตอร์ กศน.ตำบลละ 1 เครื่อง ให้ทำสถานที่ให้ปลอดภัยในการเก็บรักษา
- งานการศึกษาขั้นพื้นฐาน นักศึกษาที่ยังไม่ฉีด ให้ส่งรายชื่อนักศึกษาไปยัง รพสต.ใกล้บ้าน

ติดตามการดำเนินการ ศรร.
- แบบประเมินฐานการเรียนรู้ ศรร. ดูตามจำนวนผู้เรียนของ กศน.ตำบล ให้ได้ 90% ขึ้นไป
- หน้าปกหน่วย/แผนการจัดการเรียนรู้ ใช้สีหน้าปกคนละสี
- ให้มีผู้รับผิดชอบ ทำป้ายให้มีผู้รับผิดชอบในการจัด ณ กศน.อำเภอ
- ดูระดับคุณภาพด้านผู้เรียน ภาพ/การประชาสัมพันธ์ การถอดบทเรียน การขยายผล ควรมีอะไรบ้าง



วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

3 พฤศจิกายน 2564 ทำหน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2564 นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ข้าราชการครู กศน.อำเภอสิงหนคร ได้เข้าร่วมรับฟังการบรรยายจากวิทยากร นางภาวนา นัครามนตรี ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ ซึ่งเป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา การทำหน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อบ่มเพาะอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียง

วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

2 พฤศจิกายน 2564 บุคลากร กศน.อำเภอสิงหนคร ร่วมรับฟังนโยบายจากผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัดสงขลา

เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ข้าราชการครู กศน.อำเภอสิงหนครและบุคลากร กศน.อำเภอสิงหนคร ร่วมรับฟังนโยบายจากผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัดสงขลา ณ ห้องประชุม กศน.อำเภอสิงหนคร โดยมีเนื้อหาสาระสรุปได้ ดังนี้

- การศึกษาตามอัธยาศัย ทำมุมแฟนพันธุ์แท้ห้องสมุด ให้เกียรติบัตรเพื่อให้ขวัญกำลังใจ

- จุดเน้นเลขาธิการ กศน.ให้ความสำคัญกับผู้รับบริการควบคู่ไปกับการประเมินความพึงพอใจในการบริการ

- new skill up skill RE skill ต้องดำเนินการในการจัดการศึกษาต่อเนื่อง

- การศึกษาต่อเนื่อง กศน.ตำบล 5 D พรีเมี่ยม กศน.ตำบลต้องประเมินด้วยตนเองตามตัวชี้วัดเรื่องใดบ้างได้คะแนนเท่าไหร คณะกรรมการระดับอำเภอลงประเมินให้รู้ว่าเป็นไปตามตัวชี้วัดที่ครูกศน. ตำบลประเมินมาหรือไม่ ปรับปรุงอย่างไรได้บ้าง กศน.ตำบล 5 ดีพรีเมี่ยมจะมีผลต่อการประเมินพนักงานราชการ

- การศึกษาตามอัธยาศัย การใช้รถ mini mobike ในการจัดกลุ่มสนใจให้นำรถมินิโมบายไปด้วยเพื่อให้ได้ขับเคลื่อนการส่งเสริมการอ่าน

- อาสาสมัครกศน. จะมีคู่มือปฏิบัติงานอาสาสมัคร กศน.ให้ครูกศน.ตำบลประชาสัมพันธ์การรับสมัครผู้มีจิตอาสาให้มาสมัคร ไม่มีค่าตอบแทน แต่จะมีประโยชน์อย่างอื่นโดยจะแจ้งให้ทราบภายหลัง

วันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2564

31 ตุลาคม 2564 ได้รับมอบหมาย ให้ร่วมงานร่วมทอดกฐินสามัคคีกระทรวงศึกษาธิการ

เมื่อวันอาทิตย์ 31 ตุลาคม 2564 นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ข้าราชการครู กศน.อำเภอสิงหนคร ได้รับมอบหมาย ให้ร่วมงานร่วมทอดกฐินสามัคคี เนื่องด้วยเจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงประทานผ้าพระกฐินให้ นายธนู ขวัญเดช รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ อันเชิญไปทอดถวายเเด่พระสงฆ์ผู้อยู่จำพรรษาตลอดไตรมาส ณ วัดท่านางหอม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา








1 พฤศจิกายน 2564 ประชุมประจำสัปดาห์ด้วยกระบวนการ PLC และ PDCA

เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ข้าราชการครู กศน.อำเภอสิงหนคร ได้เข้าประชุมประจำสัปดาห์ด้วยกระบวนการ PLC และ PDCA ณ ห้องประชุม กศน.อำเภอ 
โดยนายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูลได้รับมอบหมายให้รวบรวมการรับสมัครอาสาสมัคร กศน. และทำแพลตฟอร์มของ กศน.อำเภอสิงหนคร

วันพุธที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2564

28 ตุลาคม 2564 รับฟังการเตรียมความพร้อมสู่การเปิดเรียนภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ผ่านระบบออนไลน์

เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2564 เวลา 9.00 น. นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ข้าราชการครู กศน.อำเภอสิงหนคร ได้เข้าร่วมรับฟังการเตรียมความพร้อมสู่การเปิดเรียนภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ผ่านระบบออนไลน์ Facebook Live ในส่วนของ กศน. การฉีดวัคซีน โดย ครู กศน. 100% ผู้เรียน 87% การเปิดเรียน กศน.มีความพร้อม 100%




วันอาทิตย์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2564

25 ตุลาคม 2564 รับฟังการมอบนโยบายการเตรียมความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 และนโยบายสำคัญต่าง ๆ ผ่านระบบ Facebook Live

เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล บุคลากร กศน.อำเภอสิงหนคร ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการให้เข้ารับฟังการมอบนโยบายการเตรียมความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 และนโยบายสำคัญต่าง ๆ ผ่านระบบ Facebook Live โดยมี นายสุรศักดิ์ อินศรีไกร เลขาธิการ กศน. เป็นประธานการประชุม

ประเด็นที่เลขาธิการนำเรียน

1. เปิดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 รูปแบบการจัดการเรียนการสอนขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของแต่ละพื้นที่ 

2. เตรียมความพร้อมสถานศึกษา สถานศึกษาเปิด  ON-Site ได้กี่แห่ง ส่วนสถานศึกษาที่ไม่พร้อมจะสามารถเปิดได้ในวันที่เท่าไหร่

- สถานศึกษาที่ประสบภัยพิบัติ

3. การถวายผ้าพระกฐินพระราชทานของสำนักงาน กศน. วันที่ 19 พฤศจิกายน 2564 ที่จังหวัดศรีสะเกษ

กรอบนโยบายและจุดเน้น กศน. 2565

ทำงานให้มีระบบ มีเป้าหมายที่ชัดเจน 3 เดือน 6 เดือน 9 เดือน และ 12 เดือน เป้าหมายอยู่ที่ประชาชน ผู้รับบริการและองค์กร "กศน.เพื่อประชาชน กศน.ก้าวใหม่ ก้าวแห่งคุณภาพ" 

ยึดหลักธรรมาภิบาลในการขับเคลื่อนงาน 

นิติธรรม ใช้ความรู้สึกในการบริหารไม่ได้ 

หลักคุณธรรม มีคุณธรรมประจำใจ 

ความโปร่งใส องค์กรขาวสะอาด 

การมีส่วนร่วม เครือข่ายมีความสำคัญ  ดึงศักยภาพของทุกหน่วยงาน ไม่เอาปัญหาส่วนตัวมาเกี่ยวข้องกับงาน 

ความรับผิดชอบ ความคุ้มค่า ภาระหน้าที่ ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน ผลสำเร็จของการปฏิบัติงาน คือคุณภาพของคน 

หลักในการทำงาน 4 ด้าน 

หัวใจสำคัญอยู่ที่ กศน.ตำบล

นวัตกรรมส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่ตำบล อำเภอ จังหวัด 

- ให้ความสำคัญกับการน้อมนำพระบรมราโชบาย โครงการพระราชดำริ โคก หนอง นา , จิตอาสา , เศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น 

- เรื่องที่เกี่ยวข้องกับสถาบันหลักของประเทศ 

- การขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพที่ตรงกับนโยบายกระทรวงศึกษา 2565

- การขับเคลื่อนนโยบายของ รมช. 6WOW (หากยังไม่เปลี่ยนแปลง)

- การขับเคลื่อนหลักสูตรสมรรถนะ

- หลักสูตรระยะสั้น หลักสูตรอาชีพ ประมาณ 5,000 - 10,000 หลักสูตร ปฏิรูปหลักสูตรอาชีพใหม่ ๆ ให้มีพัฒนาการขึ้น เพื่อตอบโจทย์สังคม ชุมชน

- พัฒนาระบบ ICT ให้มีความเข้มแข็งกับการจัดการศึกษา

- ยกคุณภาพของผลิตภัณฑ์

- การศึกษาในกลุ่มเป้าหมายพิเศษ หญิงมีครรภ์

- การสร้างอาสาสมัคร กศน.ในพื้นที่

- ดูแล สร้างความเข้มแข็งในกับ กศน.ตำบล นโยบายสร้าง กศน.ตำบลคุณภาพ สำรวจอาคารสำนักงานของตนเอง

- การส่งเสริมกลุ่ม กศน.จังหวัดให้มีประสิทธิภาพ 18 กลุ่ม เพิ่มภาระงาน ขับเคลื่อนงานวิชาการ สถาบันภาค มีภารกิจในการดูแล ช่วยเหลือ

- การบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ มีฐานข้อมูลที่เป็นระบบ ชัดเจน

- การสร้างขวัญกำลังใจ ปรับลดเกณฑ์การเจริญก้าวหน้าในตำแหน่ง 

- ภาคีเครือข่าย เน้นการสร้างภาคีเครือข่าย

อะไรบ้าง ทำเดิม ๆ ซ้ำ ๆ ผลก็ออกมาเหมือนเดิม ต้องทำเปลี่ยน ผลถึงจะแตกต่าง

1.ทำงานด้วยใจรัก

2. ทำงานอย่างมีความสุข

3. ทำงานเพื่อ กศน.

กลุ่มพัฒนาการศึกษา การจัดการเรียนรู้ 4 รูปแบบ

- การสอบ E-Exam 29 - 30 ตุลาคม 2564 เพื่อให้ทันในการขอวุฒิ 
- วันที่ 5 - 6 มีนาคม 2565 การสอบปลายภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 
- การดำเนินการเปิดเรียนให้ดำเนินการตามคู่มือสำนักงาน กศน.
- เปิดรับสมัคร อาสาสมัคร กศน. ทั่วประเทศ