ค้นหาบทความในเว็บ

วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2559

กศน.อำเภอบางสะพาน ร่วมประชุมชี้แจงยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงานสำนักงาน กศน.ประจำปีงบประมาณ 2560

เมื่อวันที่ 26 - 30 ตุลาคม 2559 ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางสะพาน โดยนายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ครู รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ กศน.อำเภอบางสะพาน ร่วมประชุมชี้แจงยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงานสำนักงาน กศน.ประจำปีงบประมาณ 2560 ณ โรงแรมมุกดาหารแกนด์ จังหวัดมุกดาหาร เพื่อรับทราบนโยบาย เพื่อนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติอย่างงเป็นเอกภาพ 

ข้อคิดที่ได้จากการประชุม
ถ้าท่านรัก กศน. กศน.ก็รักท่าน
ทำงานด้วยกระบวนการ PDCA
คิดให้ง่าย ทำให้ได้ ถูกต้องตามหลักการ หลักเกณฑ์ มีหลักฐาน


ท่านเลขาธิการ กศน. มอบนโยบายในที่ประชุมวันนี้ ( 28 ต.ค.59 ) ว่า
ปีงบประมาณ 2560 นี้
1. ขอความร่วมมือครู กศน. บันทึกข้อมูลในระบบ DMIS ให้เป็นปัจจุบัน จะมีผู้ดูแลติดตามการบันทึกข้อมูลเป็นรายตำบล หากไม่บันทึกให้เป็นปัจจุบันจะตักเตือน 3 ครั้ง


2. จะพัฒนาบุคลากร โดยการทดสอบสมรรถนะของครู 2 สมรรถนะ คือ
1) สมรรถนะหลัก ได้แก่ การจัดกระบวนการเรียนรู้ / การเป็นวิทยากรกระบวนการ / การเป็นนักจัดการความรู้และอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้
2) สมรรถนะสายงาน ได้แก่ ทักษะการสอนในวิชาหลัก ( วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ )
ถ้าผลการทดสอบสมรรถนะของครูไม่ได้ตามเกณฑ์ ให้เข้ารับการอบรมพัฒนาเข้ม เพื่อพัฒนาการสอนของครูให้มีคุณภาพ
🍀🍇นโบายการพัฒนาครู กศน.🍇🍀
สำนักแต่งตั้งคณะกรรมการออกแบบทดสอบสมรรถนะครูแบบสอบเพื่อตรวจสอบความรู้และสมรรถนะครูอาจะใช้สอบหน้าจอ (แต่ละคนจะได้ข้อสอบคนละชุด ลอกกันไม่ได้)
1.ด้านสมรรถนะหลัก ครูทุกคนต้องเป็นวิทยากรกระบวนการ(Facilitator) ได้ คือ การเอื้ออำนวยให้เกิดการเรียนรู้ สามารถจัดการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้
2. สมรรถนะประจำสาย ครูต้องมีความรู้ในรายวิชาหลัก ไทย E คณิต วิทย์
ซึ่งทั้ง 2 สมรรถนะนั้นต้องอาศัย
     -  จิตวิทยาผู้ใหญ่
     -  เทคนิคการพบกลุ่ม
     -  มนุษยสัมพันธ์ การประสานงาน
     -  การจัดการความรู้
     -  การพูด
ดังนั้น ครูต้องรอบรู้ ทำงานเป็น และพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง
แนวทางการทำงาน กศน.ประจำปีงบประมาณ 2560
1. ยึดประชาชนที่มีอายุระหว่าง 15-59 ปีเป็นฐาน โดยให้เน้นสภาพของพื้นที่เป็นหลักและความต้องการเป็นรอง
2.ใช้ฐานข้อมูลตำบลกำกับติดตาม โดยสำนักจะแต่งตั้งผู้รับผิดชอบกำกับติดตามรายตำบล
3. ต้องรู้สภาพปัญหาแต่ละระดับ
ปัญหาระดับบุคคล เช่น
     -  ไม่รู้หนังสือ
     -  ไม่จบการศึกษาภาคบังคับ
     -  อ่านหนังสือน้อย
     -  ฐานะยากจน
     -  ขาดทักษะชีวิต
ปัญหาระดับชุมชน เช่น
     -  ครอบครัวแตกแยก
     -  ยาเสพติด
     -  ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ปัญหาระดับประเทศ เช่น
     -  คุณภาพการศึกษาต่ำ
     -  คุณภาพชีวิตต่ำ
     -  เศรษฐกิจฐานรากอ่อนแอ
     -  ขาดความสามัคคี
     -  แย่งชิงทรัพยากร
     -  สังคมเสื่อมโทรม
ทุกปัญหาใช้การศึกษาเป็นตัวนำ ยึด หลักปรัชญาคิดเป็น
กิจกรรมพิเศษ
1. กศน.ตำบลทุกแห่ง จะต้องสร้างเมือง(ชุมชน)แห่งการเรียนรู้ โดยการจัดการประชุมหรือเวทีประชาคม เพื่อSWOTชุมชน วิเคระห์ชุมชนให้รู้ปัญหา อุปสรรค จุดเด่น จุดด้อย ความรู้ต่างๆ ในชุมชน แนวทางการแก้ไขปัญหา หรือความรู้ต่างๆที่ประชาชนควรรู้ตามสถานการณ์ แล้วทำเป็นหนังสือพิมพ์ฝาผนัง)(ข่าวสารน่ารู้ของชุมชน)
2. โรงเรียนประถมที่ประกาศยุบเลิก ให้ กศน.ตำบลประสานกีบชุมชนและเขตพื้นที่เพื่อขอใช้เป๋น กศน.ตำบล หรือศูนย์การเรียนชุมชน
3. ใช้เทคโนโลยีในการจัดกระบวนการเรียนรู้ การส่งงาน การติดต่อสื่อสารระหว่างครูกับผู้เรียนบ
4. การตรวจเลือดนักศึกษา (การวัดความรู้นศ.) ว่าใครอ่านไม่ออก เขียนไม่คล่อง ใครเก่ง ใครเด่นเรื่องใด แต่ละคนมีความรู้ในระดับใด
5. การส่งเสริมการอ่าน โดยใช้บ้านหนังสือชุมชน หสม. เป็นแหล่งเรียนรู้
6. การจัดการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่เกษตรทฤษฎีใหม่แบบปลอดสารเคมี
ซึ่งแต่ละกิจกรรมจะมีสั่งการมาอีกครั้งหนึ่ง
7.ให้กศน.อำเภอจัดตั้งชมรมอาสายุวดกาชาดอย่างน้อย 1 ชมรม ๆ ละ ไม่น้อยกว่า 30 คน
👍🏾
"นำ กด จด ถ่าย"
💕นำ คือ ให้ชาวบ้านนำพาในการหาข้อมูล หรือมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลต่างๆ ไม่ใช่ครูคิดเอง
💚กด คือ การกดGPS. หรือการปักหมุดชุมชนหรือขอบเตของชุมที่ต้องการจัดทำข้อมูล
❤️จด คือ การบันทึกข้อมูลที่ได้จากการมีส่วนร่วมของชุมชน
💙ถ่าย คือ การคืนข้อมูลกลับให้ชุมชน เพื่อให้ชุมชนได้เรียนรู้ วิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อย ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ปัญหา ร่วมกัน
ซึ่งจุดประสงค์หลัก ไม่ใช่ กศน.ต้องการข้อมูล แต่เป็นยุทธศาสตร์ให้ประชาชนเรียนรู้และแก้ปัญหาของชุมชน นั่นคือ การสร้างเมือง(ชุมชน)แห่งการเรียนรู้ นั่นเอง