ค้นหาบทความในเว็บ

วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559

แผนการปฎิบัติงานประจำสัปดาห์ วันที่ 29 สิงหาคม - 4 กันยายน 59

แผนการปฎิบัติงานประจำสัปดาห์

วันที่
การปฎิบัติงาน

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม 59
ประชุมบุคลากร กศน.อำเภอบางสะพาน
ดูการจัดโครงการอบรบประชาชนจาก โครงการศูนย์ดิจิทัลประจำตำบล นำมาปรับใช้กับกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต กิจกรรมพัฒนาสังคมและชุมชน

การตรวจวุฒิการศึกษา ตรวจสอบตั้งแต่สมัคร ตรวจสอบเป็นระยะ มีคนเริ่มทำแล้ว

  
วันอังคารที่ 30 สิงหาคม 59
ปฏิบัติงานในสำนักงาน
- สรุปการทำงาน
- ออกแบบสมุดเซ็นชื่อ

วันพุธที่ 31 สิงหาคม 59
ปฏิบัติงานในสำนักงาน
ประชุม การมอบหมายงานตามคำสั่งโครงสร้าง กศน.อำเภอบางสะพาน

วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน 59
ประเมินพนักงานราชการ ณ ห้องประชุมสำนักงาน กศน.จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

วันศุกร์ที่ 2 กันยายน 59    
    
ประเมินพนักงานราชการ ณ ห้องประชุมสำนักงาน กศน.จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

วันเสาร์ที่ 3 กันยายน 59
-

วันอาทิยต์ที่ 4 กันยายน 59
-

วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559

กศน.อำเภอบางสะพาน ร่วมโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2559

เมื่อวันที่ 24 - 26 สิงหาคม 2559 ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางสะพาน โดย นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ตำแหน่ง ครู กศน.อำเภอบางสะพานนำบุคลากร ร่วมโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2559 ณ ธีรมา คอทเทจ รีสอร์ท ตำบลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี

วันที่ 24 สิงหาคม 2559
นายศุภชนัฏฐ์  หลักเมือง ผู้อำนวยการสำนักงาน.กศน.จังหวัดเพชรบุรี บรรยายพิเศษเรื่องยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงาน กศน.

PDCA  แผนเป็นตัวตั้งต้น การดำเนินการ เป็นกระบวนการที่ต้องมีคุณภาพตั้งแต่ต้น มีกระบวนการตรวจสอบ การกำกับดูแล ให้แผนเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ แล้วนำมาประมวลผลเพื่อจัดการพัฒนาต่อไป
วิเคราะห์ SWOT การทำ จุดแข็ง/จุดอ่อน ดูองค์กรของเราเป็นหลัก โอกาส/อุปสรรค ปัจจัยภายนอก ต้องแยกให้ขาดจากกัน

นางโกศล หลักเมือง รองผู้อำนวยการ สำนักงาน กศน.จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ บรรยายพิเศษเรื่องยุทธศาสตร์ สำนักงาน กศน.ประจวบคีรีขันธ์ การทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ระยะ 4 ปี แยกในเรื่องการจัดการ แต่ต้องสัมพันธ์กันทั้ง กศน.อำเภอ กศน.ตำบล

นางนฤมล อันตะริกานนท์ ศึกษานิเทศก์ สำนักงาน กศน.จังหวัดชัยนาท บรรยายเรื่องแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
สิ่งที่ต้องมีก่อนทำแผนพัฒนา
แผนพัฒนารอบที่ผ่านมา
ประเมินภายนอก รอบ 2 รอบ 3
นโยบายแต่ละปี

SWOT เป็นหัวใจสำคัญที่จะนำไปกำหนดกลยุทธ โครงการ/กิจกรรม
มาตรฐานการศึกษา กศน.
แผนพัฒนาต้องมีการรับรองแผนจากประธานกรรมการสถานศึกษา
การคิด 5 รูปแบบ









ตัวอย่างการกำหนดพันธกิจ
มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมีมาตรฐานด้านความรู้พื้นฐาน โดดเด่นด้านการคิด มีจิตรรักการใฝ่รู้เน้นครูสู่ผู้เรียนเป็นสำคัญ บริหารร่วมสร้างสรรค์ สัมพันธ์ชุมชน ประสิทธิผล หลักสูตรสถานศึกษาประชาชนพึงพอใจ
ต้องแตกวิสัยทัศน์ออกมาเป็นพันธกิจให้ครอบคลุมท้ังหมด
เช่น
พันธกิจ
1 จัดกิจกรรมส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร เอาพันธกิจมากำหนดเป็นเป้าประสงค์(สิ่งที่จะเกิดขึ้น)

การกำหนดพันธกิจ
 วิสัยทัศน์
 พันธกิจ
 มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมีมาตรฐานด้านความรู้พื้นฐาน โดดเด่นด้านการคิด มีจิตรรักการใฝ่รู้เน้นครูสู่ผู้เรียนเป็นสำคัญ บริหารร่วมสร้างสรรค์ สัมพันธ์ชุมชน ประสิทธิผล หลักสูตรสถานศึกษา ประชาชนพึงพอใจ

 1. จัดกิจกรรมส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร

การกำหนด เป้าประสงค์
 พันธกิจ
 เป้าประสงค์





การกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ
 เป้าประสงค์
ตัวชี้วัดความสำเร็จ

ร้อยละของครูมีรายงานการวิจัยในชั้นเรียน คนละ 1 เรื่อง/ปี  


ความแตกต่างระหว่างยุทธศาสตร์และกลยุทธ์
ยุทธศาสตร์ระดับนโยบาย
กลยุทธ์ ระดับปฏิบัติการ   /พัฒนา/สนับสนุน/ชลอ/ยกเลิก เป็นกลยุทธทั้งหมด

โครงการ/กิจกรรมที่สอดคล้องกับกลยุทธ์
กลยุทธ์
ชื่อโครงการ/กิจกรรม
1



แผนพัฒนา ทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทาง การจัดทำแผนปีต้องนำแผนพัฒนามาดูด้วย

แผนงาน
ให้ผู้อบรมวิเคราะห์จุดแข็ง/จุดอ่อน โอกาส/อุปสรรค ปรัชญา/วิสัยทัศน์/อัตลักษณ์ แล้วมานำเสนอในการอบรบ

วันที่ 25 สิงหาคม 2559 
นางนฤมล อันตะริกานนท์ ศึกษานิเทศก์ สำนักงาน กศน.จังหวัดชัยนาท ให้ผู้เข้ารับการอบรม นำเสนอ SWOT ปรัชญา วิสัยทัศน์  พันธกิจ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัดความสำเร็จ ของ กศน.อำเภอตนเอง

comment
     ใช้คำว่า ส่งเสริม สนันสนุนและจัดร่วมกับภาคีเครือข่าย
     พยายาม นำจุดเด่น จุดแข็งของ กศน.อำเภอตนเองมาเป็นวิสัยทัศน์
     อย่างสร้างสรรค์ เป็นคำกว้าง คิดอย่างสร้างสรรค์ ความหมายคืออะไร บอกได้ไหม จัดกิจกรรมอย่างไร     โครงการที่จะบรรจุในแผนพัฒนาเป็นโครงการร่มใหญ่


การเก็บสรุปรายงาน
p การได้มาซึ่งแผนการทำงาน โครงการ
d อธิบายขั้นตอนการทำงานตั้งแต่ต้นจบจบ
c แบบที่มีอยู่แล้วนำเอามาปรับ แบบประเมินวัดความพึงพอใจและสรุป
a เอาจากส่วนที่ 3 นำข้อเสนอแนะมาพัฒนาปรับปรุง

SWOT กศน.อำเภอบางสะพาน

S คือ จุดแข็ง
1.ความร่วมมือภายในองศ์กรอย่างเข้มแข็ง
2.พื้นที่ กศน.ตำบล เป็นที่ตั้งแบบเอกเทศ
3.นักศึกษามีความมือในการจัดกิจกรรมและการทำงาน
4.ผู้บริหารมีการส่งเสริมครูให้มีใบประกอบวิชาชีพ
5.นักศึกษามีทักษะกระบวนการคิดโครงงานและนำไปแข่งขันได้
6.ครูมีความรู้ความสามารถในการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้จากทรัพยากรและแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่
7. นักศึกษามีความรู้ความใฝ่เรียนที่หลากหลาย สามารถนำไปพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
8.ผู้บริหารและครูได้สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนและการจัดโครงการที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

W คือ จุดอ่อน
1. นักศึกษามีผลการสอบประเมินผลระดับชาติ N-Net ค่อนข้างต่ำ
2. สถานศึกษาขาดวัสดุอุปกรณ์ที่พอเพียงต่อการทำงานของบุคลากรของสำนักงาน
3. กศน.ตำบลขาดวัสดุอุปกรณ์ที่เอื้อต่อการจัดการศึกษาในกศน.ตำบล เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องฉายโปรเจคเตอร์
4. ครู กศน.ตำบลมีภาระงานที่ต้องจัดการหลายด้านทั้งงานจากภาคีเครือข่ายและงานนโยบายจากสำนักงาน กศน. จึงทำให้การทำงานไม่ค่อยมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
5. ครูไม่ได้นำแผนการสอนที่มีอยู่ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างครบถ้วน
6. นักศึกษาไม่มาเรียน พบกลุ่มอย่างสม่ำเสมอ
7. สถานศึกษาขาดผู้บริหารที่มีการงานในระยะยาวจึงทำให้ระบบการทำงานไม่ต่อเนื่อง
8. บุคลากรที่ได้รับคำสั่งยังไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเท่าที่ควรและบุคลากรบางคนไม่ได้ทำงานตามที่ได้รับมอบหมายจึงทำให้การทำงานที่ซ้ำซ้อน
9. บุคลากรยังขาดความรู้ความเข้าใจในการทำงานของ กศน.
10.ยังมีการขาดการลงปฏิบัติหน้าที่ใน กศน.ตำบลเท่าที่ควร
11.บุคลากรมีความคิดเห็นในการแก้ปัญหาการทำงานที่แตกต่างกันไป
12. บุคลากรยังมีการสื่อสารในการทำงานที่ยังเข้าใจไม่ตรงกัน

0 คือ โอกาส
1. เครือข่ายมีความร่วมมือในการทำงานกับสถานศึกษาได้เป็นอย่างดี
2. ทรัพยากร/ พื้นที่มีความเหมาะสมในด้านทรัพยากรบุคคล ปราชญ์ชาวบ้าน ภูมิปัญยท้องถิ่น
3. นโยบายของสำนักงาน กศน. เอื้อต่อการจัดการศึกษาต่อเนื่องให้กับประชาชนในชุมชน
4. มีคู่มือการทำงานในแต่ละงานของกศน.อย่างเป้นระบบ และมีแบบแผน
5. พื้นที่ภายในอำเภอบางสะพานมีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย เอื้อต่อการจัดการศึกษาของ กศน.เป็นอย่างดี
6. ภาคีเครือข่ายให้การสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้
7. สถานศึกษามีการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนและนักศึกษานำปรัชญาของเศรษฐกิจพอพัยงไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน
8. นโยบายสำนักงานมีการส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรในเรื่องของการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้นำความรู้มาเผยแพร่ให้กับประชาชนและนักศึกษา

T คือ อุปสรรค
1. บริบทของพื้นที่มีระยะทางค่อนข้างไกล ระหว่าง กศน.อำเภอและ กสน.ตำบล
2. นโยบาย ของ กศน.ที่เกี่ยวกับงานภาคีเครือข่ายมีค่อนข้างมากเกินไปส่งผลกระทบต่อภารกิจของ กศน.ได้ไม่เต็มที่
3. นักศึกษาหรือกลุ่มเป้าหมายบางพื้นที่ยังขาดระบบสัญญาณโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ต จึงเป็นอุปสรรคในการติดต่อประสานงาน
4. นักศึกษาบางคนมีอาชีพที่ไม่แน่นอน ต้องย้ายที่ทำงาน หรือที่อยู่ทำให้ขาดสอบ ขาดความต่อเนื่องในการลงทะเบียนเรียนเป็นผลกระทบต่อการจบการศึกษาตามหลักสูตร
5. ห้องสมุด กศน.อำเภอบางสะพาน ยังมีความคับแคบ ขาดบรรยากาศต่อการใฝ่เรียนรู้ของประชาชนและนักศึกษา

วิสัยทัศน์

 กศน.อำเภอบางสะพาน ประสานงานเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง เน้นจัดการศึกษาเพื่อประชาชนให้เป็นบุคคลใฝ่เรียนรู้ มุงสู่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
วิสัยทัศน์
พันธกิจ
กศน.อำเภอบางสะพาน ประสานงานเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง เน้นจัดการศึกษาอย่างสร้างสรรค์เพื่อให้นักศึกษาและประชาชนเป็นบุคคลใฝ่เรียนรู้   มุ่งสู่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

1.   ส่งเสริมการจัดกิจกรรมร่วมกับภาคีเครือข่ายอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
2.   จัดโครงการ/ กิจกรรม ให้กับผู้เรียนมีความสามารถ คิดวิเคราะห์อย่างสร้างสรรค์
3.   ส่งเสริมให้นักศึกษาและประชาชนมีนิสัยรักการอ่าน และใฝ่เรียนรู้ตลอดชึวิต
4.   ส่งเสริมให้ชุมชนมีการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาอย่างยั่งยืน

เป้าประสงค์
พันธกิจ
เป้าประสงค์
1.    ส่งเสริมการจัดกิจกรรมร่วมกับภาคีเครือข่ายอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
2.    จัดโครงการ/ กิจกรรม ให้กับผู้เรียนมีความสามารถ
คิดวิเคราะห์อย่างสร้างสรรค์
3.    ส่งเสริมให้นักศึกษาและประชาชนมีนิสัยรักการอ่าน และใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต
4.    ส่งเสริมให้ชุมชนมีการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาอย่างยั่งยืน
1.    ภาคีเครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม/การศึกษาตลอดชีวิตอย่างเข้มแข็ง
2.    ผู้เรียนมีความสามารถคิดวิเคราะห์อย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ
3.    นักศึกษาและประชาชนมีนิสัยรักการอ่านและนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาคุณภาพชีวิต
4.    ชุมชนได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน

ตัวชี้วัด

เป้าประสงค์
ตัวชี้วัด
1.ภาคีเครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม/การศึกษาตลอดชีวิตอย่างเข้มแข็ง
2.ผู้เรียนมีความสามารถคิดวิเคราะห์อย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ
3.นักศึกษาและประชาชนมีนิสัยรักการอ่านและนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาคุณภาพชีวิต
4.ชุมชนได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน
1.สถานศึกษามีการจัดกิจกรรมและโครงการร่วมกับภาคีเครือข่าย อย่างน้อยปีละ 10 โครงการ/กิจกรรม
2.ร้อยละ 80 ของผู้เรียนมีความคิดวิเคราะห์อย่างสร้างสรรค์
3.ร้อยละ 80 ของนักศึกษาและประชาชนมีนิสัยรักการอ่าน
4. ร้อยละ 80 ของประชาชนในชุมชนนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต

ตัวอย่าง

ปรัชญา
คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น 

อัตลักษณ์
เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ (ครู บุคลากร กศน.อำเภอบางสะพาน พยายามคิดกิจกรรมการเรียนรู้ใหม่ ๆ ที่สร้างสรรค์ ความคิดของนักศึกษา กศน.อำเภอบางสะพาน ให้เป็นคนคิดเป็น คิดสร้างสรรค์ ผ่านกระบวนการเรัยนรู้รูปแบบใหม่  เช่น การจัดกระบวนการเรียนการสอนที่สอนวิธีคิด เช่น การสอนในนักศึกษาออกแบบการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เรียนเอง หรือการเรียนรู้รูปแบบโครงงาน อันจะเห็นได้จากมีโครงการประกวดความคิดสร้างสรรคของนักศึกษารองรับในทุกปีงบประมาณ เพื่อให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างสร้างสรรค์ตามอัตลักษณ์ กศน.อำเภอบางสะพาน)
*ดังนั้นครูต้องเน้นการสร้างสรรค์กิจกรรมต่าง ๆแก่ผู้เรียน* เอกลักษณ์
สถานศึกษาพอเพียง (มาจากจุดแข็งของสถานศึกษาซึ่งมีพื้นที่กว้าง เหมาะแก่การจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และกศน.ตำบลของกศน.อำเภอบางสะพาน ก็มีพื้นที่กว้าง หากครูสามารถคิดสร้างสรรค์กิจกรรม โครงการมารองรับก็จะเน้นย้ำเอกลักษณ์สถานศึกษาพอเพียงได้)

วันที่ 26 สิงหาคม 59

นางนฤมล อันตะริกานนท์ ศึกษานิเทศก์ สำนักงาน กศน.จังหวัดชัยนาท บรรยาย เรื่อง ระบบบันทึกข้อมูล SAR ออนไลน์ ส่งภายในกันยายน 59
ซึ่งระบบแขวนไว้หน้าเว็บไซด์สำนักงาน กศน.
เทคนิคตัวแบ่งหน้า การทำเลขหน้า การไม่ให้เห็นเลขหน้า การทำเลขหน้า ก ข ค
คิดเอกลักษณ์สถานศึกษาใหม่
นายศุภชนัฏฐ์  หลักเมือง ผู้อำนวยการสำนักงาน.กศน.จังหวัดเพชรบุรี  มอบหมายภารกิจและกล่าวปิดโครงการ

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2559

นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ครู คศ.1 กศน.อำเภอบางสะพาน ประชุมประจำเดือน กำหนดแนวทางการดำเนินงาน กศน.ตำบล

เมื่อวันที่  22 สิงหาคม 2559  นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ครู คศ.1กศน.อำเภอบางสะพาน ประชุมประจำเดือน กำหนดแนวทางการดำเนินงาน กศน.ตำบล ณ ห้องประชุม สำนักงาน กศน.จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ โดยเป็นคณะกรรมการปรับเกณฑ์การประเมิน กศน.ตำบล รูปแบบใหม่ และภาคบ่าย ได้ประชุมรับมอบนโยบายจากรองผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

เนื้อหาสาระ
1. การประเมินพนักงานราชการ
2. การประเมิน กศน.ตำบล
3. การจัดงานวันที่ 8 กันยายน 2559


วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2559

เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2559 ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางสะพาน ได้จัดประเมินเทียบระดับนักศึกษา (แบบไตร่ระดับ) ครั้งที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ณ พื้นที่อำเภอบางสะพาน โดยไปดูผลการปฏิบัติงานในสภาพจริง ของนักศึกษาเทียบะดับ ซึ่งมีด้วยกัน 3 ราย เทียบระดับมัธยมศึกษษตอนต้นทั้ง 3 ราย

กศน.อำเภอบางสะพาน ได้จัดการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านการศึกษานอกระบบโรงเรียน (N-NET)

เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2559 ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางสะพาน ได้จัดการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านการศึกษานอกระบบโรงเรียน (N-NET) ณ โรงเรียนธนาคารออมสิน อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 

มีจำนวนผู้เข้าสอบ 
     ประถม  -
     มัธยมต้น  16
     มัธยมปลาย  40
มีจำนวนผู้ขาดสอบ
     ประถม  -
     มัธยมต้น  2
     มัธยมปลาย  7
ปัญหาและอุปสรรค 
     ยังมีนักศึกษาบางคนไม่พกใบประชาชนมาสอบ
     นามสกุล ไม่ตรง
วิธีแก้ปัญหา
     ให้นักศึกษากลับไปเอา
     ย้ำเตือนครูผู้สอนให้แจ้งนักศึกษา
     นำเครื่องสแกนมาด้วย






วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2559

แผนการปฎิบัติงานประจำสัปดาห์ วันที่ 22 - 27 สิงหาคม 2559

แผนการปฎิบัติงานประจำสัปดาห์

วันที่
การปฎิบัติงาน

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม 59
ประชุมสร้างแบบประเมิน กศน.ตำบล
  
วันอังคารที่ 23 สิงหาคม 59
เดินทางไปราชการ อบรมโครงการ..........

วันพุธที่ 24 สิงหาคม 59
อบรมโครงการ..........

วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม 59
อบรมโครงการ..........

วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม 59    
    
อบรมโครงการ..........

วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม 59
-

วันอาทิยต์ที่ 28 สิงหาคม 59
-

กศน.อำเภอบางสะพาน ประชุมคณะกรรมการทำหน้าที่จัดการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (N-NET)

เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2559 ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางสะพาน ได้จัดประชุมคณะกรรมการทำหน้าที่จัดการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ด้านการศึกษานอกระบบโรงเรียน ครั้งที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ณ ห้องประชุม โรงเรียนธนาคารออมสิน

สาระสำคัญ
การจัดตัวแทนศูนย์สอบ 2 รายจาก กศน.อำเภอ
กรรมการกลาง
ประชาสัมพันธ์ บุคคลภายนอก

วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2559

best practice กศน.อำเภอบางสะพาน ประจำเดือน มิถุนายน 2559

Best Practice กศน.อำเภอบางสะพาน ประจำเดือน มิถุนายน 2559
การจัดโครงการอาชีพของ กศน.ตำบลร่อนทอง หลักสูตร การจัดสวนหย่อม ซึ่งก่อนจัดโครงการ ฯ ผู้บริหารและครูได้มาประชุมเพื่อมองถึงปัญหาและอุปสรรคในบริบทของพื้นที่อำเภอบางสะพานว่ามีอะไรบ้าง แล้วนำมาเขียนหลักการและเหตุผล ซึ่งบุคลากร กศน.อำเภอบางสะพานได้มองเห็นสภาพปัญหาของห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี" อำเภอบางสะพาน ซึ่งก่อสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 นั้น บริเวณภายนอกอาคารยังไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ควร เนื่องจากมีบุคลากรห้องสมุดมีเพียงคนเดียวและงบประมาณซึ่งมีอย่างจำกัด  จึงระดมความคิดกันว่าระหว่างบุคลากรและประชาชนในพื้นที่จะควรทำอย่างไรดี และให้ครู กศน.ตำบล สำรวจความต้องการของประชาชนในพื้นที่ว่าประสงค์จะเรียนรู้อาชีพใด ผลปรากฏว่าครูได้ไปนำเสนออาชีพการจัดสวนหย่อมและประชาชนในพื้นที่ก็มีความต้องการเรียนรู้ด้วย เนื่องจากอาชีพนี้ยังไม่มีคนทำมากนักและอย่างน้อยเมื่อได้เรียนรู้แล้วก็สามารถนำความรู้มาจัดสวนในบริเวณบ้านของตนเองได้ จึงเกิดอาชีพ หลักสูตรดังกล่าวขึ้น




วันพุธที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2559

นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ต้อนรับผู้ตรวจราชการ นายกฤตชัย อรุณรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงในการตรวจราชการ รอบ 2

เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2559 นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ได้ต้อนรับผู้ตรวจราชการ นายกฤตชัย อรุณรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการภาค 4 ในการตรวจราชการ รอบ 2 ณ ห้องประชุม เขตพื้นที่การศึกษาเขต 2 อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  โดยได้เน้นย้ำการทำงานที่ใช้ กศน.ตำบล เป็นฐาน และกิจกรรมของศูนย์ 4 ศูนย์ อันได้แก่ 1. ศูนย์ประชาธิปไตยระดับตำบล 2. ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ 3.ศูนย์ดิจิตัลประจำตำบล 4.ศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต







วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2559

นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ร่วมถวายความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อเทิดพระเกียรติ วันแม่แห่งชาติ

เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2559 ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางสะพาน โดยนายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ครูผู้ช่วย ได้นำบุคลากร ร่วมถวายความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อเทิดพระเกียรติ วันแม่แห่งชาติ ณ หอประชุม ที่ว่าการอำเภอบางสะพาน และภาคกลางคืน ณ อบต.ร่อนทอง





วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2559

แผนการปฏิบัติงานประจำสัปดาห์ วันที่ 15 - 21 สิงหาคม 59

แผนการปฎิบัติงานประจำสัปดาห์

วันที่
การปฎิบัติงาน

วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม 59
เดินทางไปราชการเพื่ออบรมหลักสูตรการใช้สื่อประกอบการเรียนการสอนรายวิชาเลือก รหัสวิชา พว02027 การใช้พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน จำนวน 6 ชั่วโมง
  
วันอังคารที่ 16 สิงหาคม 59
อบรมเพื่ออบรมหลักสูตรการใช้สื่อประกอบการเรียนการสอนรายวิชาเลือก รหัสวิชา พว02027 การใช้พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน จำนวน 6 ชั่วโมง
 ณ ออโรรา่ รีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

วันพุธที่ 17 สิงหาคม 59
รับการตรวจราชการจากผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ

วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม 59
นิเทศการอบรมดิจิตัลชุมชนในพื้นที่

วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม 59    
    
ประเมินการเทียบระดับ

วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม 59
-

วันอาทิยต์ที่ 21 สิงหาคม 59
-

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2559

กศน.อำเภอบางสะพาน เข้าร่วมโครงการอบรมเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ 2559

เมื่อวันที่ 8 - 9 สิงหาคม 2559 ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางสะพาน ได้นำบุคลากรฝ่ายบัญชี พัสดุและการเงิน เข้าร่วมอบรม "โครงการอบรมเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ 2559" ณ ห้องทองนพคุณ โรงแรมประจวบแกรนด์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จัดโดยสำนักงาน กศน.จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  โดยมี นางนันทา อนะมาน ผู้อำนวยการกลุ่มตรวจสอบภายในระดับกระทรวง เป็นวิทยากร

ระยะเวลาในการอบรม 16 ชั่วโมง

วัตถุประสงค์
เพื่อให้บุคลากรได้รับประโยชน์ มีความเข้าใจและทักษะในการปฏิบัติงาน การบริหารความเสี่ยงต่อไป

เนื้อหา
ความเสี่ยงเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาและเป็นเรื่องใกล้ตัว
ความเสี่ยงสามารถที่จะจัดการได้ บริหารได้

ความเสี่ยง คือ ความไม่แน่นอน อาจจะเกิดหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ การบริหารความเสี่ยงถ้าไม่เกิดก็ถือเป็นโอกาส
ปัจจัยเสี่ยง คือ สาเหตุทำให้เกิดความเสี่ยง










Take การยอมรับความเสี่ยง
Treat การลด ควบคุมความเสี่ยง
Transfer การกระจายความเสี่ยง
Teminate การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง



RM 2-1 : แบบฟอร์มการวิเคราะห์ความเสี่ยง ความคาดหวังและการตอบสนอง
ขั้นตอนที่ 3 การระบุความเสี่ยง/เหตุการณ์ความเสี่ยง (แบบ RM-2)

              เป็นการค้นหาและระบุเหตุการณ์ความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของภารกิจหลัก แผนงาน/โครงการของสํานัก/กลุ่ม/ฝ่าย ซึ่งอาจจะเป็นปัจจัยเสี่ยงหรือสาเหตุที่มาจาก
ปัจจัยภายในและหรือปัจจัยภายนอก โดยแต่ละความเสี่ยงอาจจะมีปัจจัยเสี่ยงหรือสาเหตุเพียงข้อเดียวหรือหลายข้อ คณะกรรมการ ฯ ควรระบุให้ครบถ้วน แล้วนํามาจําแนกประเภทของความเสี่ยง
ตามรูปแบบ S O F C และระบุรหัสของแต่ละความเสี่ยงที่พบเรียงเป็นลําดับตามประเภทความเสี่ยงลงในแบบการวิเคราะห์ความเสี่ยง (แบบ RM-2) ใน (คอลัมน์ 5-9) ดังนี้ 
งานหลักของฝ่าย
(1)
วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
(2)
ผู้รับผิดชอบจัดทำแผน
(3)
สถานะปัจจุบัน
(5)
Risk RD
(6)
รหัสความเสี่ยง
ความเสี่ยง
(7)
ประเภทความเสี่ยง
(8)



ปัจจัยเสี่ยง
(8)

ผลกระทบ
(9)

โอกาสที่จะเกิด
ผลกระทบ
ระดับความเสี่ยง
ระดับความเสี่ยงที่คาดหวัง
การตอบสนองความเสี่ยง






S
F
O
C
ภายนอก
ภายใน
ทางตรง
ทางอ้อม
























งานทะเบียนวัดผลประเมินผล
เพื่อให้การวัดผลประเมินผล
นักศึกษาที่จบภาคเรียนที่1/59เป็นไปด้วยความถูกต้อง

นักศึกษาจำนวน30คน


20
O1
การตรวจสอบวุฒิยังได้ไม่ครบทุกคน


/

หน่วยงานที่ขอตรวจสอบวุฒิทำเรื่องล่าช้า/ไม่ตรวจสอบวุฒิ
เจ้าหน้าที่ไม่มีตรวจสอบการดำเนินการตรวจสอบวุฒิ
ภาพลักษณ์ขององค์กรเสีย
นักศึกษาพลาดโอกาส
L1=3
C7=3
9ปานกลาง
ต่ำ
Treat การลด ควบคุมความเสี่ยง


งานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เพื่อเพิ่มจำนวนผู้เข้าสอบปลายภาคเรียนเพิ่มขึ้น

60%
F1 o2


/
/

จำนวนผู้สอบไม่เป็นไปตามเกณฑ์(น้อยกว่าเกณฑ์)
ครูผู้สอนไม่มีระบบติดตามผู้เรียน
สถานศึกษามียอดผู้ขาดสอบสูง
สถานศึกษามีค่าใช้จ่ายในการสอบเพิ่มขึ้น
L1=4
C9=3
สูง
ปานกลาง
Treat การลด ควบคุมความเสี่ยง


RM 3 : แบบฟอร์มแบบแสดงแนวทางการตอบสนองความเสี่ยง /แผน/กิจกรรม
ขั้นตอนที่ 6 การจัดการความเสี่ยงและการบริหารความเสี่ยง (แบบ RM-3)

                ในการจัดการความเสี่ยงหน่วยงานต้องนําปัจจัยเสี่ยง (แบบ RM 2-1) มากําหนดกิจกรรมหรือมาตรการที่ใช้ปฏิบัติในหน่วยงานตามความจําเป็น เมื่อหน่วยงานประเมินมาตรการการจัดการ
ความเสี่ยง หรือกิจกรรมการควบคุมที่ดําเนินการอยู่แล้วพบว่ายังไม่มีประสิทธิภาพและมีความเหมาะสมกับสถานการณ์ ในการจัดการความเสี่ยงให้หมดไปหรือลดลงในระดับที่ยอมรับ หน่วยงาน
จะต้องเลือกใช้มาตรการ/วิธีการจัดการกับความเสี่ยง 4 วิธี ได้แก่ 
                          การยอมรับความเสี่ยง 
                          การลดหรือควบคุมความเสี่ยง 
                          การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง 
                          การกระจายหรือถ่ายโอนความเสี่ยง ซึ่งการเลือกใช้
                มาตรการดังกล่าวต้องคํานึงถึงความคุ้มค่าและประหยัดเมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนและผลประโยชน์ที่จะได้รับ พร้อมทั้งกําหนดผู้รับผิดชอบความเสี่ยง และระยะเวลาในการดําเนินงานเพื่อลดหรือป้องกันความเสี่ยงในแผนบริหารความเสี่ยง (แบบ RM-3) ดังนี้ 

ประเภทความเสี่ยง
ความเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยง
แนวทางตอบสนองต่อความเสี่ยง
แผนงาน/กิจกรรม
ผู้รับผิดชอบ/ผู้รับผิดชอบหลัก
ระยะเวลาดำเนินการ
o1
การตรวจสอบวุฒิยังได้ไม่ครบทุกคน 
หน่วยงานที่ขอตรวจสอบวุฒิทำเรื่องล่าช้า/ไม่ตรวจสอบวุฒิ

เจ้าหน้าที่ไม่มีตรวจสอบการดำเนินการตรวจสอบวุฒิ 
Treat การลด ควบคุมความเสี่ยง 
การทำบัญชีตรวจสอบวุฒิ
การทำหนังสือโดยใช้คำว่าด่วนที่สุด
สำหรับนักศึกษาที่ยังไม่ได้รับการตรวจสอบวุฒิก ทำหนังสือรอบ2 เมื่อเลยระยะเวลา 
ครูสุปรวี ศรีเลี่ยน

ครูทุกคน

ครูทุกคน 
1 เดือน
1 เดือน



O2
จำนวนผู้สอบไม่เป็นไปตามเกณฑ์(น้อยกว่าเกณฑ์)
ผู้เรียนไม่สนใจเข้าสอบ

ครูผู้สอนไม่ติดตามผู้เรียน 
Treat การลด ควบคุมความเสี่ยง  
ผู้บริหารสถานศึกษาให้ครูผู้สอนรายงานการพบกลุ่มทุกเดือน
สถานศึกษาควรแจ้งกำหนดการแจ้ง มส. ก่อนการสั่งข้อสอบ 
นายทะเบียน
ครูผู้สอน 
ทุกเดือน


หลังจากการพบกลุ่ม 8 สัปดาห์