ค้นหาบทความในเว็บ

วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

กศน.อำเภอบางสะพานเข้าร่วมโครงการอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการจัดกระบวนการเรียนรู้ กศน.มุ่งสู่คุณภาพผู้เรียน

เมื่อวันที่ 3 - 4 พฤศจิกายน 2558 ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางสะพาน โดย นางศรีสง่า โภคสมบัติ ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอบางสะพาน และ นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ครูผู้ช่วย นำคณะครูและบุคลากร กศน.อำเภอบางสะพาน เข้าร่วม "โครงการอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการจัดกระบวนการเรียนรู้ กศน. มุ่งสู่คุณภาพผู้เรียน" ณ โรงแรมประจวบแกรนด์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมี นางโกศล หลักเมือง รองผู้อำนวยการสำนักงานกศน.ประจวบ รักษาการแทน กล่าวพิธีเปิดพร้อมให้โอวาท
บรรยายให้ความรู้เรื่อง โครงงานวิทยาศาสตร์ โดยนางกัลยา หอมดี
- โครงงานวิทยาศาสตร์ เป็นหลักฐานที่สำคัญของการเรียนรู้ ที่เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ในการตอบ สมศ. ประกันภายใน ได้
- โครงงาน คือ การวิจัยชิ้นเล็ก ๆ คือการค้นพบ มีเรื่องใหม่ ๆ ที่พบเสมอ 
- ชิ้นงานไม่ใช่โครงงาน 

วันที่ 3 พฤศจิกายน 2558
สรุปความรู้ที่ได้จากกิจกรรมที่ 1 การทำโครงงานและขั้นตอนการทำโครงงาน การใช้ความคิดพัฒนาจากสิ่งของใกล้ตัว เช่น โทรศัพท์สมาร์ทโฟน สามารถทำอะไรได้บ้าง การคิดพัฒนาในสิ่งที่เป็นไปได้

สรุปความรู้ที่ได้จากกิจกรรมที่ 2 วิธีการหาคำตอบที่ได้ต้องน่าเชื่อถือ คำตอบที่ได้ต้องห้ามใช้ความรู้สึกแต่ต้องมีวิธีการวัดที่น่าเชื่อถือ

สรุปความรู้ที่ได้จากกิจกรรมที่ 3 การตั้งสมมติฐาน ตัวแปร ต้น  ตาม ควบคุม จากโครงงานที่ทำมาแล้ว ทดลองใหม่ ตั้งสมมติฐาน ตัวแปรใหม่  

วันที่ 4 พฤศจิกายน 2558
สรุปความรู้ที่ได้จากกิจกรรมที่ 4 กิจกรรมต่อยอดจากโครงงานเดิม (โอเอซิส) หน้า 16 สิ่งที่ต้องการศึกษา คำตอบที่ต้องการ
กิจกรรม ลงมือทำจำได้นาน

สรุปความรู้กระบวนการคิดเป็น นางมณีรัตน์ อัฉริยพันธกุล ศึกษานิเทศชำนาญการพิเศษ สำนักงาน กศน.จังหวัดประจวบ



ข้อมูล 3 ด้าน ในการคิดเป็น ข้อมูลด้านตนเอง สังคมสิ่งแวดล้อม ข้อมูลเชิงวิชาการ
การคิดเชิงระบบ-พิจารณาปัญหาในภาพรวม
มองสาเหตุของปัญหา
ไม่เกินกำลังของเรา



ความเชื่อของคิดเป็น
มนุษย์ต้องการความสุข
ความสุขของมนุษย์แตกต่างกัน
หลักคิดเป็น
สังคมมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
คนแก้ปัญหาได้โดยข้อมูล 3 ด้าน เหมาะกับสังคมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

หลักการของการคิดเป็น
1.คิดเป็น เชื่อว่า สังคมเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ก่อให้เกิดปัญหา ซึ่งปัญหานั้นสามารถแก้ไขได้
2.คนเราจะแก้ไขปัญหาต่างๆได้อย่างเหมาะสมที่สุด โดยใช้ข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจอย่างน้อย 3 ประการ คือ ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง สังคม และวิชาการ
3.เมื่อได้ตัดสินใจแก้ไขปัญหาด้วยการไตร่ตรองรอบคอบทั้ง 3 ด้านแล้ว ย่อมก่อให้เกิดความพอใจในการตัดสินใจนั้นและควรรับผิดชอบต่อการตัดสินใจนั้น
4.แต่สังคมเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การคิดตัดสินใจอาจจะต้องเปลี่ยนแปลงปรับปรุงใหม่ให้เหมาะสมกับสภาพและสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
ลักษณะของคนคิดเป็น มี 8 ประการ
1.มีความเชื่อว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งธรรมดา สามารถแก้ไขได้
2.การคิดที่ดีต้องให้ข้อมูลหลายๆด้าน (ตนเอง สังคม วิชาการ)
3.รู้ว่าข้อมูลเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
4.สนใจที่จะวิเคราะห์ข้อมูลอยู่เสมอ
5.รู้ว่าการกระทำของตนมีผลต่อสังคม
6.ทำแล้ว ตัดสินใจแล้ว สบายใจ และเต็มใจรับผิดชอบ
7.แก้ปัญหาชีวิตประจำวันอย่างมีระบบ
8.รู้จักชั่งน้ำหนักคุณค่า
สมรรถภาพของคนคิดเป็น1.เผชิญปัญหาในชีวิตประจำวันอย่างมีระบบ
2.สามารถที่จะแสวงหาและใช้ข้อมูลหลายๆด้าน ในการคิดแก้ไขปัญหา
3.รู้จักชั่งน้ำหนัก คุณค่า และตัดสินใจหาทางเลือกให้สอดคล้องกับค่านิยม ความสามารถและสถานการณ์หรือเงื่อนไขส่วนตัวและระดับความเป็นไปได้ของทางเลือกต่างๆ

กระบวนการไปสู่

การคิดเป็น มีดังนี้
(1) ขั้นสำรวจปัญหา เมื่อเกิดปัญหา ย่อมต้องเกิดกระบวนการคิดแก้ปัญหา
(2) ขั้นหาสาเหตุของปัญหา เป็นการหาข้อมูลมาวิเคราะห์ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น เกิดขึ้นได้อย่างไร มีอะไรเป็นองค์ประกอบของปัญหาบ้าง
- สาเหตุจากตนเอง พื้นฐานของชีวิต ครอบครัว อาชีพ การปฏิบัติตน คุณธรรม ฯลฯ
- สาเหตุจากสังคม บุคคลที่อยู่แวดล้อม ตลอดจนความเชื่อ ประเพณี ฯลฯ
- สาเหตุจากขาดวิชาการความรู้ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับปัญหา
(3) ขั้นวิเคราะห์ หาทางแก้ปัญหา เป็นการวิเคราะห์ทางเลือกในการแก้ปัญหา โดยใช้ข้อมูลด้านตนเอง สังคม วิชาการ มาประกอบในการวิเคราะห์
(4) ขั้นตัดสินใจ เมื่อได้ทางเลือกแล้วจึงตัดสินใจเลือกแก้ปัญหาในทางที่มีข้อมูลต่างๆ พร้อมสมบูรณ์ที่สุด
(5) ขั้นตัดสินใจไปสู่การปฏิบัติ เมื่อตัดสินใจเลือกทางใดแล้ว ต้องยอมรับว่าเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในข้อมูลเท่าที่มีขณะนั้น ในกาละนั้นและในเทศะนั้น
(6) ขั้นปฏิบัติในการแก้ปัญหา ในขั้นนี้เป็นการประเมินผลพร้อมกันไปด้วย ถ้าผลเป็นที่
- พอใจ ก็จะถือว่าพบความสุข เรียกว่า คิดเป็น
- ไม่พอใจ หรือผลออกมาไม่ได้เป็นไปตามที่คิดไว้ หรือข้อมูลเปลี่ยน ต้องเริ่มต้นกระบวนการคิดแก้ปัญหาใหม่
  

เน้นการพัฒนาผู้เรียนโดยการคิดวิเคราะห์แสวงหาคำตอบที่หลากหลาย ต้องปฏิบัติตามกระบวนการโดยไม่ข้ามขั้นตอน จะทำให้เกิดประสิทธิภาพ

ตัวอย่างการนำกระบวนการคิดเป็นใช้จัดกระบวนการเรียนรู้ โดยนางสาวณัฐฤิกา ทับทิม ครูผู้ช่วยกศน.อำเภอหัวหิน