ค้นหาบทความในเว็บ
วันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2564
31 ตุลาคม 2564 ได้รับมอบหมาย ให้ร่วมงานร่วมทอดกฐินสามัคคีกระทรวงศึกษาธิการ
1 พฤศจิกายน 2564 ประชุมประจำสัปดาห์ด้วยกระบวนการ PLC และ PDCA
วันพุธที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2564
28 ตุลาคม 2564 รับฟังการเตรียมความพร้อมสู่การเปิดเรียนภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ผ่านระบบออนไลน์
เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2564 เวลา 9.00 น. นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ข้าราชการครู กศน.อำเภอสิงหนคร ได้เข้าร่วมรับฟังการเตรียมความพร้อมสู่การเปิดเรียนภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ผ่านระบบออนไลน์ Facebook Live ในส่วนของ กศน. การฉีดวัคซีน โดย ครู กศน. 100% ผู้เรียน 87% การเปิดเรียน กศน.มีความพร้อม 100%
วันอาทิตย์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2564
25 ตุลาคม 2564 รับฟังการมอบนโยบายการเตรียมความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 และนโยบายสำคัญต่าง ๆ ผ่านระบบ Facebook Live
เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล บุคลากร กศน.อำเภอสิงหนคร ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการให้เข้ารับฟังการมอบนโยบายการเตรียมความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 และนโยบายสำคัญต่าง ๆ ผ่านระบบ Facebook Live โดยมี นายสุรศักดิ์ อินศรีไกร เลขาธิการ กศน. เป็นประธานการประชุม
ประเด็นที่เลขาธิการนำเรียน
1. เปิดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 รูปแบบการจัดการเรียนการสอนขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของแต่ละพื้นที่
2. เตรียมความพร้อมสถานศึกษา สถานศึกษาเปิด ON-Site ได้กี่แห่ง ส่วนสถานศึกษาที่ไม่พร้อมจะสามารถเปิดได้ในวันที่เท่าไหร่
- สถานศึกษาที่ประสบภัยพิบัติ
3. การถวายผ้าพระกฐินพระราชทานของสำนักงาน กศน. วันที่ 19 พฤศจิกายน 2564 ที่จังหวัดศรีสะเกษ
กรอบนโยบายและจุดเน้น กศน. 2565
ทำงานให้มีระบบ มีเป้าหมายที่ชัดเจน 3 เดือน 6 เดือน 9 เดือน และ 12 เดือน เป้าหมายอยู่ที่ประชาชน ผู้รับบริการและองค์กร "กศน.เพื่อประชาชน กศน.ก้าวใหม่ ก้าวแห่งคุณภาพ"
ยึดหลักธรรมาภิบาลในการขับเคลื่อนงาน
นิติธรรม ใช้ความรู้สึกในการบริหารไม่ได้
หลักคุณธรรม มีคุณธรรมประจำใจ
ความโปร่งใส องค์กรขาวสะอาด
การมีส่วนร่วม เครือข่ายมีความสำคัญ ดึงศักยภาพของทุกหน่วยงาน ไม่เอาปัญหาส่วนตัวมาเกี่ยวข้องกับงาน
ความรับผิดชอบ ความคุ้มค่า ภาระหน้าที่ ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน ผลสำเร็จของการปฏิบัติงาน คือคุณภาพของคน
หลักในการทำงาน 4 ด้าน
หัวใจสำคัญอยู่ที่ กศน.ตำบล
นวัตกรรมส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่ตำบล อำเภอ จังหวัด
- ให้ความสำคัญกับการน้อมนำพระบรมราโชบาย โครงการพระราชดำริ โคก หนอง นา , จิตอาสา , เศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น
- เรื่องที่เกี่ยวข้องกับสถาบันหลักของประเทศ
- การขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพที่ตรงกับนโยบายกระทรวงศึกษา 2565
- การขับเคลื่อนนโยบายของ รมช. 6WOW (หากยังไม่เปลี่ยนแปลง)
- การขับเคลื่อนหลักสูตรสมรรถนะ
- หลักสูตรระยะสั้น หลักสูตรอาชีพ ประมาณ 5,000 - 10,000 หลักสูตร ปฏิรูปหลักสูตรอาชีพใหม่ ๆ ให้มีพัฒนาการขึ้น เพื่อตอบโจทย์สังคม ชุมชน
- พัฒนาระบบ ICT ให้มีความเข้มแข็งกับการจัดการศึกษา
- ยกคุณภาพของผลิตภัณฑ์
- การศึกษาในกลุ่มเป้าหมายพิเศษ หญิงมีครรภ์
- การสร้างอาสาสมัคร กศน.ในพื้นที่
- ดูแล สร้างความเข้มแข็งในกับ กศน.ตำบล นโยบายสร้าง กศน.ตำบลคุณภาพ สำรวจอาคารสำนักงานของตนเอง
- การส่งเสริมกลุ่ม กศน.จังหวัดให้มีประสิทธิภาพ 18 กลุ่ม เพิ่มภาระงาน ขับเคลื่อนงานวิชาการ สถาบันภาค มีภารกิจในการดูแล ช่วยเหลือ
- การบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ มีฐานข้อมูลที่เป็นระบบ ชัดเจน
- การสร้างขวัญกำลังใจ ปรับลดเกณฑ์การเจริญก้าวหน้าในตำแหน่ง
- ภาคีเครือข่าย เน้นการสร้างภาคีเครือข่าย
อะไรบ้าง ทำเดิม ๆ ซ้ำ ๆ ผลก็ออกมาเหมือนเดิม ต้องทำเปลี่ยน ผลถึงจะแตกต่าง
1.ทำงานด้วยใจรัก
2. ทำงานอย่างมีความสุข
3. ทำงานเพื่อ กศน.23 ตุลาคม 2564 ร่วมพิธีวางพวงมาลาเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
วันอังคารที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2564
วุฒิบัตรจำนวน 30 ชั่วโมง ตามหลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสายงานการสอน ว22/2560
วันอาทิตย์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2564
18 ตุลาคม 2564 ประชุมประจำสัปดาห์ กศน.อำเภอสิงหนคร
วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2564
15 - 16 ตุลาคม 2564 เข้าร่วมอบรม เรียนรู้การดำเนินงานสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ศูนย์การเรียนรู้
สาระการอบรม
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3 หลักการ(ห่วง) 2 เงือนไข สู่ความสมดุล 4 มิติ ฝึกนักศึกษา
สร้างภูมิคุ้มกันที่ดี >> การสงสัยแล้วถาม การทำงานด้านนั้น ๆ อย่างต่อเนื่อง ทำงานอย่างรอบคอบไม่ประมาณ การวางแผน
รูปแบบป้ายสถานศึกษาที่ผ่านเกณฑ์การประเมินเป็น
สถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการ
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
“สถานศึกษาพอเพียง”
1. รูปแบบของป้าย
1.1 เป็นป้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 80 เซนติเมตร ยาว 120 เซนติเมตร (80 x 120)
1.2 พื้นป้ายเป็นสีเทาเงิน วัสดุที่ใช้จัดทำป้าย พิจารณาตามความเหมาะสม
2. ข้อความในป้าย
2.1 ใช้ข้อความตามที่กำหนดไว้ตามแบบ
2.2 ตัวหนังสือเป็นสีน้ำเงินเข้ม ขนาดตัวอักษรให้สมดุลกับป้าย ตามแบบ
2.3 เสมาธรรมจักรใช้สีทอง ไม่มีกรอบ
3. ให้สถานศึกษาจัดทำป้ายเองตามรูปแบบที่กำหนด
4. กรณีมีสถานศึกษาผ่านการประเมินเป็นสถานศึกษาพอเพียง เพิ่มเติมในปีถัดไป ให้จัดทำป้ายรูปแบบ
เหมือนเดิม ยกเว้น ปี พ.ศ. ให้เปลี่ยนตามปีที่ได้รับการประกาศเป็นสถานศึกษาพอเพียง
ห้องศาสตร์พระราชา
แขนงที่ 1.พระบรมราโชวาท มีตัวอย่างไวนิลหรือโฟมบอร์ด