08.30 น. ดร.กุลธิดา รัตนโกศล บรรยายการเขียนโครงร่างการวิจัย (Research Proposal) ความสำคัญของโครงร่างการวิจัย องค์ประกอบของโครงร่างการวิจัย 13 หัวข้อ
1. ชื่อเรื่อง เขียนให้ง่ายต่อการทำความเข้าใขแต่มีความเป็นสากล (เขียนให้คนอื่นอ่าน)
หลักการเขียนโครงร่างและรายงานการวิจัย
1.ความถูกต้อง
- เขียนรายงานตามข้อเท็จจริง
- ปราศจากความมีอคติ
- ไม่บิดเบือนข้อมูลที่พบ
2. ความกระทัดรัด
- ใช้ข้อความสั้น ๆ ได้ใจความตรงประเด็น
- ไม่ใช้คำฟุ่มเฟื่อย
- ไม่ใช้คำปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ
3.ความชัดเจน
- ใช้ภาษาง่าย ๆ
- ใช้ภาษาที่มีความหมายเดียว
- ไม่ใช้ภาษาที่ผสม (ภาษาไทย//ภาษาต่างประเทศ) ฯลฯ
4. ความสอดคล้อง ใช้คำไหนให้ใช้คำนั้นทั้งฉบับเพื่อป้องกันความเข้าใจสับสน (ผู้เรียน ต้องทั้งฉบับ ไม่ใช่ผู้เรียนบ้างนักศึกษาบ้าง)
1.ชื่อเรื่อง (สิ่งที่ศึกษา+กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษา+วิธีการศึกษา)
1. ครอบคลุมประเด็นปัญหาการวิจัย
2. ความสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ คำถามการวิจัยและสมมติฐานการวิจัย
3.บอกทิศทางการวิจัย
4.ชัดเจน กะทัดรัด สื่อความหมายได้ดี
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 7 หัวข้อ ดังภาพ
2.คำถามการวิจัย
การตั้งคำถามหลักหรือคำถามสำคัญที่ผู้วิจัยต้องการคำตอบในการวิจัยนั้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้วิจัย
- กำหนดวัตถุประสงค์
- ตั้งสมมติฐาน ฯลฯ
วัตถประสงค์การวิจัย
เขียนได้ 2 รูปแบบ
- วัตถุประสงค์ทั่วไป
- วัตถุประสงค์เฉพาะ
วัตถุประสงค์ที่ดี
- ชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่คลุมเคลือ
- สัมพันธ์ สอดคล้องกับชื่อเรื่อง คำถามการวิจัยและสมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี)
- ระบุว่าต้องการศึกษาสิ่งใด กับใคร และอย่างไร
- นำไปสู่การออกแบบการวิจัยได้
5.เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1. ส่วนแสดงให้เห็นว่าทฤษฎี แนวคิด หลักการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่นำเสนอ นำไปสู่คำตอบปัญหาวิจัยอย่างไร
2. แสดงภาพรวมของเรื่องที่จะวิจัย
3. แสดงให้เห็นที่มาของแนวคิดของนักวิจัย ในการเลือกวิธีดำเนินการวิจัย
4. ส่วนที่แสดงการสังเคราะห์ผลการค้นคว้ทของนักวิจัยแล้วนำมาสรุเป็นกรอบความคิดการวิจัย
6.สมมติฐานงานวิจัย
7.กรอบแนวคิดการวิจัย ประมวลความคิดรวบยอด ได้มาจากการศึกษาทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
เป็นตัวชี้นำหรือแนวทางไปสู่การกำหนดวิธีการการศึกษา การสร้างเครื่องมือ การเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล
8. ขอบเขตการวิจัย ด้านประชากร กลุ่มตัวอย่าง ด้านเนื้อหา ด้านตัวแปร ด้านระยะเวลา
ตัวแปรอิสระ ตัวสาเหตุ
ตัวแปรตาม ตัวที่ต้องขึ้นเนื่องจากตัวแปรอิสระเป็นเหตุขึ้นมา
9. นิยามศัพท์เฉพาะ มาจากคีเวริ์คในชื่อเรื่องการวิจัย เป็นศัพท์เฉพาะการวิจัยนี้เท่านั้น
10. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย ผลลัพธ์ที่ได้จากการวิจัย ใครเป็นผู้ได้รับประโยชน์บ้าง ไม่ใช่เอาวัตถุประสงค์มาเขียน ผู้เรียนได้อะไร ครูผู้สอนได้อะไร กศน.อำเภอได้อะไร
12. แผนการดำเนินการวิจัย เขียนได้ 2 แบบ 1. เขียนเป็นความเรียง 2. เขียนแบบตาราง
13. การอ้างอิงสารสนเทศ บทที่ 1 บางส่วน บที่ 2 ทั้งหมด บทที่ 3 หากมีการอ้างสูตร (ถ้ามี)
เขียนให้ถูกต้งตามหลักเขียนรูปแบบเดียวกันตลอดทั้งเล่ม บรรณานุกรมแยกอ้างอิงภาาาไทยและภาษาอังกฤษ
ไม่ใส่เลขหน้าได้ นิยมด้วย