เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2564 นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ข้าราชการครู กศน.อำเภอสิงหนคร ได้เข้าร่วมรับฟังการประชุมออนไลน์ แนวทางการจัดการเรียนการสอน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โดยมีนางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในการประชุม และสรุปการรับฟังในส่วนที่เกี่ยวข้องดังนี้
รมว.ศธ.ตรีนุช เทียนทอง พูดคุยเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2564 จากสถานการณ์จากสถานการณ์ โควิด-19 ระบาด รอบ3 กระทรวงศึกษาธิการได้เลื่อนการเปิดเทอม จากวันที่ 17 พฤษภาคม 2564 เป็นวันที่ 1 มิถุนายน 2564
กระทรวงศึกษาที่การได้เป็นห่วงเป็นใย ผู้เรียน คุณครู ผู้ปกครองและได้เตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนในเวลา 11 วันอาจเป็นช่วงสั้นสั้นแต่มีความหมาย และในช่วงเวลา 11 วันนี้ได้การเตรียมความพร้อมคุณครู 2 รูปแบบคือ1. “ครูพร้อม” เป็นเว็บกลางที่รวบรวมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อครูผู้เรียนผู้ปกครอง หรือผู้ที่สนใจ โดยกระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำร่วมกับ สพฐ. สกอ. อาชีวะ และกศน. เป็นทางเลือกให้ ครู ผู้ปกครอง เด็กๆ และผู้ที่สนใจได้ศึกษาเนื้อหาความรู้ ระหว่างปิดภาคเรียน ในส่วนของออนไลน์ศธ.ได้เตรียมสื่อการเรียนรู้ไว้บนเว็บไซต์ให้แล้ว และออฟไลน์จะเน้นกิจกรรมฝึกอาชีพ เรียนรู้การออม เป็นต้น ทั้งนี้ให้เป็นไปตามความเหมาะสม ยังไม่บังคับให้ทุกโรงเรียนต้องทำตาม โดยให้คำนึงถึงความปลอดภัยของนักเรียนในแต่ละพื้นที่และในการจัดอบรมครู
2. “รูปแบบออฟไลน์” สำหรับวิธีการจัดการเรียนการสอนจะใช้การเรียนใน 5 รูปแบบเช่นเดิม ดังที่ได้เคยทดลองมาแล้วในช่วงการแพร่ระบาดเมื่อปีที่ผ่านมา นั่นคือ
1.นักเรียนปลอดภัยครูปลอดภัย
2.ความพร้อมของนักเรียนและผู้ปกครอง ความพร้อมของอุปกรณ์ที่นักเรียนมี ความพร้อมที่ผู้ปกครองมี
3. ความสัครใจของนักเรียนและผู้ปกครอง หากจัดรูปแบบใดแล้ว นักเรียนไม่สมัครใจเรียน ให้โรงเรียนจัดวิธีอื่นๆให้นักเรียนได้เรียน เช่น ถ้าจัดแบบonsite แล้วนักเรียนและผู้ปกครองไม่สบายใจ ก็ให้โรงเรียนจัดการเรียนในรูปแบบอื่นๆ
4.โรงเรียนต้องแสวงหาความร่วมมือ จากชุมชนหรือหน่วยงานอื่นมาช่วยในการจัดการเรียนการสอน เช่น อสม. มาช่วยคัดกรองนักเรียน ก่อนเข้าโรงเรียน
5.โรงเรียนควรสนับสนุนความร่วมมือระหว่างครูกับผู้ปกครองในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ดร.กนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ในฐานที่ดูแล กศน. และ สช. ทอเชิญทุกท่านเข้ามามีส่วนร่วมใน การพัฒนาไปพร้อมกัน กศน. มีครูในทุกพื้นที่ ทํางานร่วมกับผู้นำท้องถิ่น น้าที่ กศน. คือ การจัดการศึกษา ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ความต้องการของบุคคล ตอนนี้ กศน.มี ETV เป็นสื่อในการเรียนที่มีคุณภาพ ดังนั้นวันนี้ กศน.เป็นการศึกษาเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง สช. ทั้งนอกระบบ และในระบบ วันนี้ได้รับเกียรติ จากผู้มีความเชี่ยวชาญ ผู้มีจิตอาสาที่แน่งปันความรู้ เพื่อร่วมพลังในการยกระดับร่วมกัน “เรียนรู้ปรับใช้ พัฒนาต่อยอด"
- มีจุดตรวจคัดกรองวัดอุณหภูมิ