เมิ่อวันที่ 23 ธันวาคม 2562 นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ข้าราชการครู กศน.อำเภอระโนด นำคณะครู กศน. มาดำเนินการประชุมด้วยกระบวนการ PLC เรื่องการพบกลุ่มของนักศึกษา โดยสอบถามปัญหาและร่วมหาวิธีการแก้ปัญหา
- ครูควรหาเทคนิควิธีการสอนที่สนุกสนาน ที่มีความหลากหลาย โดยวางแผนการสอนในทุก ๆ สัปดาห์ เช่น ตัวอย่างเกมสนุก ๆ ในอินเทอร์เน็ต ตัวอย่างเกมโชว์สนุก ๆ ในรยการโทรทัศน์ หรือ แผนการสอนดี ๆ ของครูดี ๆ มาประยุกต์ใช้
- ครูควรใช้กระบวนการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อช่วยแก้ปัญหาการมาพบกลุ่ม โดยเปรียบเทียบการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบเดิมกับแบบต่าง ๆ ที่ร่วมกันคิด
แรงจูงใจกับการเรียนการสอน
ในการเรียนการสอนนั้น สิ่งสำคัญที่สุดประการหนึ่งก็คือ ส่งเสริมให้เด็กเกิดมีแรงจูงใจขึ้น ถ้าสามารถทำได้ ควรส่งเสริมให้เด็กเกิดแรงจูงใจภายใน แต่แรงจูงใจภายในนั้นปลูกฝังได้ยาก ครูทั่วไปจึงมักใช้แรงจูงใจภายนอกเข้าช่วย แรงจูงใจภายนอกที่ครูใช้อยู่เป็นประจำ มีดังนี้
1. รางวัล
การให้รางวัลมีหลายอย่าง เช่น ให้รางวัลเป็นของ การให้เครื่องหมายอันเป็นสัญลักษณ์แห่งความดี เช่น ให้ดาว หรือให้เกียรติบางอย่าง หรือให้สิทธิพิเศษบางอย่าง การให้รางวัลนี้ครูแทบทุกคนปฏิบัติกันอยู่ และเมื่อให้รางวัลไปแล้ว เด็กรู้สึกตื่นเต้นและเรียนดีขึ้น แต่นักจิตวิทยาและนักการศึกษาบางท่านไม่เห็นด้วยกับการให้รางวัล โดยกล่าวว่า การให้รางวัลนั้นมีทางทำให้เด็กเรียนเพื่อเอารางวัล มากกว่าเรียนเพื่อให้เกิดความรู้จริง ๆ ถ้าครูให้รางวัลบ่อยเกินไป นอกจากนี้เมื่อเด็กได้รับรางวัลไปแล้ว จะไม่ทำให้เด็กกระตือรือร้นอย่างเดิมอีก
2. ความสำเร็จในการเรียน
การที่เด็กได้รับความรู้และทักษะเพิ่มขึ้นจากการเรียน เป็นแรงจูงใจให้เด็กเรียนดีขึ้นกว่าเดิม อย่างไรก็ดีครูต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วย นั่นคือ ครูต้องจัดการสอนให้สอดคล้องกับระดับความสามารถของเด็กทุกคน เพื่อให้เด็กแต่ละคนได้รับความสำเร็จตามระดับของตน การสอนที่เราทำกันเป็นปกตินั้น ได้แก่ การสอนตามแบบกลาง ๆ ซึ่งไม่พยายามปรับบทเรียนให้เข้ากับเด็กทุกระดับ ซึ่งอาจจะทำให้เด็กที่เรียนเก่ง เบื่อหน่าย เพราะเรื่องที่สอนนั้นง่ายเกินไป คนปานกลางอาจสนุก ส่วนเด็กอ่อนอาจจะเรียนไม่ทัน เพราะครูสอนเร็วเกินไป
3. การยกย่องชมเชย
คำชมที่เหมาะกับโอกาสและเหมาะสมกับการกระทำของนักเรียนย่อมเป็นแรงจูงใจให้แก่เด็กเป็นอย่างดี แต่ถ้าครูชมอย่างไม่จริงใจ และเด็กรู้กันทั่วไปว่า คำชมเชยของครูไม่มีความหมายพิเศษเด็กจะไม่เอาใจใส่ต่อคำชมเชยนั้น
ครูไม่ควรใช้คำชมพร่ำเพรื่อ
สำหรับเด็กที่เรียนอ่อนนั้น แม้เรียนดีขึ้นเพียงเล็กน้อย เราก็ควรชมเชย ส่วนเด็กเรียนเก่ง จะชมก็ต่อเมื่อทำงานยาก ๆ ได้สำเร็จ คำชมของครูจึงจะมีค่าสำหรับเด็กทุกคน
ในแง่ของจิตวิทยามีผู้พบแล้วว่า การชมเชยเด็กที่เก็บตัวมักได้ผลดีในการจูงใจกว่าการชมเด็กเปิดเผย และการชมเด็กเก่งมาก ๆ มักได้ผลน้อยกว่าการชมเด็กอ่อน
4. การตำหนิ
การตำหนิ ก็เหมือนกับการชมเชย ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับบุคคล ถ้าครูตำหนิเด็กเรียนอ่อนมาก ๆ คำตำหนินั้นจะไม่มีผลในการสร้างแรงจูงใจ ถ้าตำหนิเด็กเรียนเก่งให้ตรงกับข้อบกพร่องของเด็ก คำตำหนิของครูจะมีผลดีมาก แต่เท่าที่เราปฏิบัติกันอยู่นั้นเรามักทำตรงข้ามกับคำกล่าวนี้ คือเราชอบตำหนิเด็กเรียนอ่อนและยกย่องเด็กเรียนเก่ง ครูไม่ควรตำหนิเด็กโดยไม่มีหลักฐาน และต้องให้เด็กรู้ว่าตนควรแก้ไขอย่างไร
5. การแข่งขัน
การแข่งขันในการเรียน ถ้าเป็นไปในทำนองเป็นมิตรก็เป็นการจูงใจในการเรียนที่ดี อย่างหนึ่ง ครูควรเปิดโอกาสให้เด็กแข่งขันหลาย ๆ ทาง การแข่งขัน นักจิตวิทยาแบ่งออกเป็น 3 วิธีคือ
1. แข่งขันระหว่างนักเรียนทั้งหมด
2. แข่งขันระหว่าง หมู่ต่อหมู่
3.แข่งขันกับตนเอง
6. ความช่วยเหลือ
ความช่วยเหลือ นับเป็นแรงจูงใจในการเรียนที่ดีอย่างหนึ่ง ตามปกติเด็กย่อมมีความต้องการฐานะทางสังคม และความต้องการความรักอยู่แล้ว ความช่วยเหลือเป็นการสนับสนุนให้เด็กสนองความต้องการทั้งสองอย่างนี้ได้เป็นอย่างดี
7. การรู้จักความก้าวหน้าของตน
มีลักษณะคล้ายคลึงกับความสำเร็จ แต่การที่เด็กจะทราบถึงความก้าวหน้าของคนนั้นต้องอาศัยการบอกกล่าวของครู ถ้าเด็กทราบความก้าวหน้าของตนอยู่เสมอ เด็กจะมีกำลังใจที่จะเรียนมากขึ้น
8. การรู้จักวัตถุประสงค์ของการเรียน
การทราบวัตถุประสงค์ของการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จะทำให้เด็กเข้าใจแนวการเรียนได้ดีขึ้น และจะทำให้เด็กมีแรงจูงใจมากขึ้น วัตถุประสงค์ที่เด็กควรทราบมีทั้งจุดประสงค์ในระยะใกล้ และจุดประสงค์ในระยะไกล จุดประสงค์ในระยะใกล้ได้แก่ประโยชน์ปัจจุบันของการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ส่วนวัตถุประสงค์ในระยะไกลได้แก่การเรียนในอนาคตของเด็กเอง
ขอบคุณข้อมูล https://sites.google.com/site/citwithyasahrabkhru1/kar-srang-raeng-cungci-hi-kab-phu-reiyn/raeng-cungci-kab-kar-reiyn-kar-sxn
4. การตำหนิ
การตำหนิ ก็เหมือนกับการชมเชย ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับบุคคล ถ้าครูตำหนิเด็กเรียนอ่อนมาก ๆ คำตำหนินั้นจะไม่มีผลในการสร้างแรงจูงใจ ถ้าตำหนิเด็กเรียนเก่งให้ตรงกับข้อบกพร่องของเด็ก คำตำหนิของครูจะมีผลดีมาก แต่เท่าที่เราปฏิบัติกันอยู่นั้นเรามักทำตรงข้ามกับคำกล่าวนี้ คือเราชอบตำหนิเด็กเรียนอ่อนและยกย่องเด็กเรียนเก่ง ครูไม่ควรตำหนิเด็กโดยไม่มีหลักฐาน และต้องให้เด็กรู้ว่าตนควรแก้ไขอย่างไร
5. การแข่งขัน
การแข่งขันในการเรียน ถ้าเป็นไปในทำนองเป็นมิตรก็เป็นการจูงใจในการเรียนที่ดี อย่างหนึ่ง ครูควรเปิดโอกาสให้เด็กแข่งขันหลาย ๆ ทาง การแข่งขัน นักจิตวิทยาแบ่งออกเป็น 3 วิธีคือ
1. แข่งขันระหว่างนักเรียนทั้งหมด
2. แข่งขันระหว่าง หมู่ต่อหมู่
3.แข่งขันกับตนเอง
6. ความช่วยเหลือ
ความช่วยเหลือ นับเป็นแรงจูงใจในการเรียนที่ดีอย่างหนึ่ง ตามปกติเด็กย่อมมีความต้องการฐานะทางสังคม และความต้องการความรักอยู่แล้ว ความช่วยเหลือเป็นการสนับสนุนให้เด็กสนองความต้องการทั้งสองอย่างนี้ได้เป็นอย่างดี
7. การรู้จักความก้าวหน้าของตน
มีลักษณะคล้ายคลึงกับความสำเร็จ แต่การที่เด็กจะทราบถึงความก้าวหน้าของคนนั้นต้องอาศัยการบอกกล่าวของครู ถ้าเด็กทราบความก้าวหน้าของตนอยู่เสมอ เด็กจะมีกำลังใจที่จะเรียนมากขึ้น
8. การรู้จักวัตถุประสงค์ของการเรียน
การทราบวัตถุประสงค์ของการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จะทำให้เด็กเข้าใจแนวการเรียนได้ดีขึ้น และจะทำให้เด็กมีแรงจูงใจมากขึ้น วัตถุประสงค์ที่เด็กควรทราบมีทั้งจุดประสงค์ในระยะใกล้ และจุดประสงค์ในระยะไกล จุดประสงค์ในระยะใกล้ได้แก่ประโยชน์ปัจจุบันของการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ส่วนวัตถุประสงค์ในระยะไกลได้แก่การเรียนในอนาคตของเด็กเอง
ขอบคุณข้อมูล https://sites.google.com/site/citwithyasahrabkhru1/kar-srang-raeng-cungci-hi-kab-phu-reiyn/raeng-cungci-kab-kar-reiyn-kar-sxn