เมื่อวันที่ 14 - 16 ตุลาคม 2558 ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางสะพาน โดยนางศรีสง่า โภคสมบัต ผู้อำนวยการ และ นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ครูผู้ช่วย เข้าร่วมรับฟังการประชุม เสวนา หัวข้อ "ก้าวข้ามขีดจำกัด สู่สหัสวรรษแห่งการเรียนรู้" จัดโดย สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ณ ศูนย์นิทรรศการและแสดงสินค้า ไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวเปิดงานตอนหนึ่งว่า
ด้าน ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผอ.สมศ.กล่าวว่า
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวเปิดงานตอนหนึ่งว่า
"การวัดและประเมินผลเป็นภารกิจสำคัญที่ทุกองค์กรต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและจริงจัง เพื่อให้ทราบผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานอย่างแท้จริง โดยต้องเป็นการประเมินจากองค์กรภายนอกที่มีมาตรฐานเพื่อให้ผลการประเมินเป็นที่ยอมรับและน่าเชื่อถือ ดังนั้น การประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษารอบสี่ (ปีงบประมาณ 2559-2563) จำเป็นต้องเดินหน้า แต่ขณะนี้อยู่ระหว่างปรับปรุงเกณฑ์และตัวบ่งชี้ เพื่อให้มีความเหมาะสม และไม่สร้างภาระให้แก่ครูอาจารย์มากเกินไป ทั้งนี้ การประเมินรอบสี่จะนำรูปแบบออนไลน์มาใช้ แต่หากสถานศึกษาใดยังไม่พร้อมก็ให้ใช้รูปแบบเดิมไปก่อน ขณะเดียวกันต้องพัฒนาเพื่อรองรับการประเมินรูปแบบออนไลน์ที่จะใช้เต็มรูปแบบในปีงบประมาณ 2561 ด้วย"
ด้าน ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผอ.สมศ.กล่าวว่า
"สมศ.ได้เตรียมข้อมูลต่างๆ เพื่อใช้ทบทวนเกณฑ์และตัวบ่งชี้ที่จะใช้ในการประเมินรอบสี่แล้ว รอเพียงคณะกรรมการจากกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เข้ามาร่วมพิจารณา ยืนยันว่าทันการประเมินรอบสี่ที่จะเริ่มในเดือน ม.ค.2559 ทั้งนี้ พล.อ.อ.ประจินได้มอบนโยบายว่าการประเมินรอบสี่ขอให้นำเกณฑ์และตัวบ่งชี้การประเมินรอบสามมาปรับใช้ เพราะสถานศึกษามีความรู้ และเข้าใจอยู่แล้ว จะได้ไม่เป็นภาระแก่ครูอาจารย์ แต่การประเมินต้องคำนึงถึงคุณภาพและมาตรฐานที่สูงขึ้น"
วันที่ 14 ตุลาคม 2558
13.00 - 14.30
หัวข้อ การปฏิรูปการศึกษาให้ได้ผลต้องตั้งต้นจากผลการประเมิน
ครูต้องรู้บทบาทหน้าที่ของตนเองว่า "สอนให้เด็กมีงานทำ หรือให้ครูแค่มีงานทำ"
เอกสารมาก จัดให้ได้เลยแต่ไม่มีคุณภาพ
- การประเมินผล สำคัญ แต่ต้องประเมินให้เที่ยงตรง
ข้อเสนอแนะ ต้องสรา้งเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลที่มีความเที่ยงตรง เชื่อถือได้
- เน้นการศึกษาวิจัยเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่แค่การสำรวจเบื้องต้น
ข้อเสนอแนะ ต้องสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิจัยเชิงพัฒนาในบุคลากรรับทราบ
- การประเมินที่ดีทำให้ทราบปัญหา อุปสรรค
ข้อเสนอแนะในการจัดโครงการ/กิจกรรมทุกโครงการควรมีข้อเสนอแนะ ที่เกิดจากปุญหา/อุปสรรคที่เกิดขึ้นไม่มากก็น้อยในการทำงาน อาจเป็นปัญหาเชิงประจักษ์ หรือข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนา
14.45- 16.30
การประเมินออนไลน์
- ควรมีเข้าใจในเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ
ข้อเสนอแนะ ต้องสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการใช้ระบบเทคโนโนยีสารสนเทศให้บุคลากรครูเข้าใจ
Ex 1.มีใครใช้บัตรเอทีเอ็มกี่คนในห้องนี้
2.มีใครใช้บัตรเอทีเอ็มทำอย่างอื่นนอกเนหนือจากกดเงินบ้าง
3. มีใครใช้บัตรเอทีเอ็มทำธุกรรมอื่นบ้าง
20 ปีที่แล้วไม่มีคนกล้าใช้บัตรเอทีเอ็ม สมัยนี้ใครไม่ใช้บัตรเอทีเอ็ม แปลก
- รวบรวมข้อมูลในเชิงปฏิบัติที่สามารถนำมาเป็นข้อมูลได้โดยตรง
ข้อเสนอแนะ สร้างความรู้วคามเข้าใจแก่บุคลากรในการรวบรวมข้อมูลที่ปฏิบัติมาลงในแบบฟอร์มออนไลน์ที่สร้างไว้ เพื่อรวบรวมให้อยู่ในที่เดียวกัน สามารถนำข้อมูลมาใช้ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และเป็นข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้
- การกรอกข้อมูลในเว็บไซด์
ข้อเสนอแนะ ต้องสร้างความรู้ความเข้าใจในการกรอกข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ เช่น จัดโครงการพัฒนาบุคลากรในเรื่องนี้
- ลดภาระแก่ผู้ปฏิบัติในการรายงานผล
ข้อเสนอแนะ ต้องสร้างทัศนคติที่ดีในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อลดภาระงาน
- รายงาน sar อัตโนมัติ การกรอกแบบฟอร์มอีเลกทรอนิค
ข้อเสนอแนะ ต้องสร้างความรู้ ความเข้าใจถึงกระบวนการที่มาข้อมูลในรายงานการประเมินตนเอง ซึ่งบุคลากรและหัวหน้างานทุกคนต้องทราบ
- ต้องมีข้อมูลที่ถูกต้องเชื่อถือได้ โดยต้นสังกัดป็นผู้ตรวจสอบ
ข้อเสนอแนะ ต้องให้ความรู้ความเข้าใจในการให้ ข้อมูลที่รายงานต้องเชื่อถือได้ เป็นข้อมูลเดียว ตรวจสอบได้
ประโยชน์การประเมินออนไลน์
- ลดเวลา ลดกำลัง ลดงบประมาณ
- สามารถรายงานสถานภาพการศึกษาได้
การประเมินรอบสี่ เป็นการประเมินเพื่อพัฒนา สนับสนุน เปลี่ยนจากกระดาษเป็นระบบอีเลคทรอนิค
หัวข้อ มาตรฐานงานวิจัย : จุดอ่อนของอุดมศึกษาไทย
มาตรฐานการวิจัยเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อคุณภาพของงานวิจัย
ผู้วิจัยต้องคำนึงถึงและต้องปฎิบัติให้เป็นไปตามมาตรฐานขั้นต่ำหรือสูงกว่าที่กำหนดไว้
โดยการดำเนินการวิจัยควรมีการบูรณาการ คำนึงถึงกฎหมายและระเบียบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
*ผู้วิจัยต้องมีคุณธรรม จริยธรรม มีจรรยาบรรณในการทำวิจัย
รวมทั้งต้องคำนึงถึงการผลิตผลงานวิจัยที่นำไปสู่การเกิดองค์ความรู้ใหม่ เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการ
ผลงานวิจัยมีการนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ให้กว้างขวาง เพื่อให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอันจะนำไปสู่การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ
หัวข้อ ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในการประกันคุณภาพการศึกษา
การสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้เห็นถึงความแตกต่างของการประกันคุณภาพภายในและการประเมินคุณภาพภายนอกเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะถ้ามีความเข้าใจที่ถูกต้องแล้วจะต้องทราบว่า
- การประกันคุณภาพภายในเป็นการประเมินตนเอง สำรวจและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ
- การประเมินคุณภาพภายนอกเป็นเพียงกระจกสะท้อนจากมุมมองภายนอก ที่ช่วยตรวจสอบให้เห็นจุดที่ควรพัฒนามากขึ้น ประเด็นดังกล่าวนี้จะช่วยให้ลดความคลาดเคลื่อนในการประกันคุณภาพการศึกษาในภาพรวมได้ ตลอดจนเป็นการช่วยผลักดันและพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาให้กับสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพในที่สุด
วันที่ 15 ตุลาคม 2558
16.30 - 17.30
สรุปการประเมินคุณภาพภายนอกและการรับรองมาตรฐานรอบสี่
การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ สมศ. มีนโยบายหลักสำคัญ 3 ข้อ ดังนี้
1. ลดภาระ
ได้แก่ การลดตัวบ่งชี้ ลดปริมาณเอกสาร และลดจำนวนวันตรวจเยี่ยมสถานศึกษา
2. สร้างสรรค์
ได้แก่
- การจัดกลุ่มสถานศึกษาให้สถานศึกษาและต้นสังกัดได้เห็นโอกาสในการพัฒนาตามบริบทของระดับคุณภาพ
- เปิดโอกาสให้สถานศึกษาได้เลือกรับการประเมินเพื่อพัฒนาและรับรองมาตรฐานในคราวเดียวกัน
- มีตัวบ่งชี้เลือก มีเครื่องมือที่หลากหลายจำแนกตามประเภทสถานศึกษาและรับรองตามความสมัครใจ
3. กัลยาณมิตร
คือการเพิ่มช่องทางในการตรวจสอบคุณภาพและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยมีสายด่วนประเมินรอบสี่ ศูนย์เครือข่าย QC1001 ช่วย 9 เป็นต้น
แนวทางในการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. ประเมินเพื่อพัฒนา
คือ การประเมินตามข้อกำหนดของกฎหมายโดยใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ตรวจเยี่ยมตามความจำเป็น ไม่มีการตัดสินรับรอง/ไม่รับรอง และจัดผลการประเมินสถานศึกษาเป็น 5 กลุ่ม
2. ประเมินเพื่อรับรองมาตรฐาน
เป็นการประเมินเพื่อขอรับการรับรองตามความสมัครใจภายใน 2 ปี หลังจากประเมินเพื่อพัฒนา ตรวจเยี่ยมไม่เกิน 3 วัน และจัดการรับรองมาตรฐานเป็น 2 ระดับ คือ ระดับชาติ และระดับนานาชาติ
ทั้งนี้ สมศ.จะดำเนินการประเมินรอบสี่ให้ต่อเนื่องจะเริ่มดำเนินการประเมินในเดือนมกราคม พ.ศ. 2559