ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดการศึกษาต่อเนื่อง
พ.ศ.2554
พ.ศ.2554
การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นตามความสนใจของนักศึกษา
และประชาชนนอกระบบโรงเรียน
เพื่อให้มีความรู้ เจตคติ และทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข
เนื้อหา เน้น 4 ด้าน คือ
1. ด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต
2. ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
3. ด้านอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4. ด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์
รูปแบบการจัด
1. รูปแบบกลุ่มสนใจ : จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตด้านต่างๆ ตามความสนใจ
2. รูปแบบค่าย : จัดกิจกรรมเข้าค่ายเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตด้านต่างๆ ตามสภาพปัญหา
และความต้องการ
3. รูปแบบการอบรม : เน้นการอบรมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาทักษะชีวิต
4. รูปแบบการจัดกิจกรรมในชุมชน : รวมกลุ่มพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ในลักษณะเวทีเสวนาตั้งแต่ 5 คน
ขึ้นไป ในเรื่องทักษะชีวิตสำหรับชุมชน
2. การพัฒนาทักษะอาชีพ
การพัฒนาทักษะอาชีพ มุ่งให้ความรู้ ทักษะ และเจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพ
เพื่อให้สามารถปรับปรุงพัฒนาอาชีพให้ดีขึ้น
ให้มองเห็นช่องทางในการประกอบอาชีพ การมีอาชีพเสริม สร้างอาชีพใหม่ หรือเข้าสู่อาชีพ
มีการจัดกิจกรรม 4 ประเภท ดังนี้
1. การฝึกอบรมอาชีพแบบกลุ่มสนใจ เป็นการฝึกอบรมอาชีพในช่วงระยะเวลาระยะสั้นๆ
ไม่เกิน 30 ชั่วโมง จำนวนกลุ่มละ 12 คนขึ้นไป
เพื่อนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เช่น การทำอาหารขนม การเพาะเห็ด การเลี้ยงสัตว์
การทำศิลปหัตถกรรม
2. การฝึกอบรมวิชาชีพหลักสูตรระยะสั้น เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปปรับปรุงอาชีพให้ดีขึ้น
การทำอาชีพ การประกอบอาชีพอิสระ
การได้รับการจ้างงานหรือการเข้าสู่ตลาดแรงงาน การมองเห็นช่องทางในการประกอบอาชีพเพิ่มรายได้
ลดรายจ่าย หรือปรับปรุงชีวิตให้ดีขึ้น
หลักสูตรสอดคล้องกับความต้องการและความสนใจ หลักสูตรตั้งแต่ 30 ชั่วโมง 50 ชั่วโมง
หรือ 100 ชั่วโมง
โดยจัดกิจกรรมให้สำหรับ กลุ่มเป้าหมาย คือผู้ที่มีความสนใจรวมกลุ่มกัน 20 คนขึ้นไป
แสดงความต้องการที่จะเรียนรู้ด้านอาชีพ
เพื่อนำความรู้ที่ได้ ไปประกอบการคิดตัดสินใจ เลือกประกอบอาชีพ หรือเป็นทางเลือก
ในการคิดประกอบ อาชีพใหม่
อาจมีรวมตัวกันประกอบอาชีพตลอดจนสามารถเชื่อมโยงสู่กลุ่มอาชีพ ก่อให้เกิดการพึ่งพา
ตนเองอย่างยั่งยืน
ตลอดทั้งเพื่อให้เป็นไปตามแนวทางการจัดการศึกษาเพื่อตอบสนอง
ตามแนวพระราช ดำริเศรษฐกิจพอเพียง
3. หลักสูตรประกาศนียบัตรอาชีพ (ปอ) สำหรับผู้ที่จบ ป.6
4. การศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ พ.ศ.2539 (กศน.ปวช.)
เป็นการศึกษาสำหรับผู้ที่จบ ม.ต้น ใช้เวลาเรียน 3 ปี 3 วิชา ได้แก่ วิชาพานิชยกรรม วิชาอุตสาหกรรม
วิชาคหกรรม
3.พัฒนาสังคมและชุมชน
การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน
กลุ่มที่ประกอบอาชีพเดียวกันอยู่แล้วและหลากหลายกลุ่ม ให้มารวมกลุ่มในการจัดกิจกรรม
เพื่อพัฒนาด้านการผลิต การบริหาร
จัดการกลุ่ม การตลาด การบัญชี การบรรจุหีบห่อ และการจำหน่าย ตลอดจนให้สมาชิกมีการออม
และมีรายได้ ที่ยั่งยืนจึงได้จัดโครงการนี้ขึ้น
รูปแบบการจัด
1. การฝึกอบรม
2. การสัมมนา
3. การสร้างชุมชนนักปฏิบัติ
4. การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้
เนื้อหา
1. การสร้างความเป็นประชาธิปไตยและความเป็นพลเมือง
2. การสร้างชุมชนเข้มแข็งเศรษฐกิจพอเพียง
3. การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4. การรองรับการเปิดเสรีอาเซียน
4. เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นโครงการแผนงาน : ขยายโอกาสและพัฒนา การศึกษา
ผลผลิตที่ 4 ผู้รับบริการการศึกษานอกระบบ
ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงควบคู่กับหลัก คุณธรรมในการบริหารจัดการ
วัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้
ความเข้าใจหลักเศรษฐกิจพอเพียงสามารถจัดทำแผนชีวิตและส่งเสริมให้นำหลักเศรษฐกิจพอเพียง
ไปปรับประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต
PDCA หรือที่เรียกว่าวงจรเดมิง (Deming Cycle) หรือวงจรชูฮาร์ต (Shewhart Cycle)
คือ วงจรการควบคุมคุณภาพ
Plan : การวางแผน
หมายถึง การวางแผนการดำเนินงานอย่างรอบคอบ ครอบคลุมถึงการกำหนดหัวข้อที่ต้องการ
ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ซึ่งรวมถึงการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน อาจประกอบด้วย การกำหนดเป้าหมาย
หรือวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน Plan การจัดอันดับความสำคัญของ เป้าหมาย กำหนดการดำเนินงาน กำหนดระยะเวลาการดำเนินงาน
กำหนดผู้รับผิดชอบหรือผู้ดำเนินการและกำหนดงบประมาณที่จะใช้ การเขียนแผนดังกล่าวอาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของลักษณะ
การดำเนินงาน การวางแผนยังช่วยให้เราสามารถคาดการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคต และช่วยลดความสูญเสียต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้
Do : ปฏิบัติตามแผน
หมายถึง การดำเนินการตามแผน อาจประกอบด้วย การมีโครงสร้างรองรับ การดำเนินการ (เช่น คณะกรรมการหรือหน่วยงานของคณะ)
มีวิธีการ ดำเนินการ (เช่น มีการประชุมของคณะกรรมการมีการจัดการเรียน การสอน มีการแสดงความจำนงขอรับนักศึกษาไปยังทบวงมหาวิทยาลัย)
และมีผลของการดำเนินการ (เช่น รายชื่อนักศึกษาที่รับในแต่ละปี)
Check : ตรวจสอบการปฏิบัติตามแผน
หมายถึง การประเมินแผน อาจประกอบด้วย การประเมินโครงสร้างที่รองรับ การดำเนินการ การประเมินขั้นตอนการดำเนินงาน
และการประเมินผลของ การดำเนินงานตามแผนที่ได้ตั้งไว้ โดยในการประเมินดังกล่าวสามารถ ทำได้เอง
โดยคณะกรรมการที่รับผิดชอบแผนการดำเนินงานนั้น ๆ ซึ่งเป็นลักษณะของการประเมินตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องตั้งคณะกรรมการ
อีกชุดมาประเมินแผน หรือไม่จำเป็นต้องคิดเครื่องมือหรือแบบประเมิน ที่ยุ่งยากซับซ้อน
Act : ปรับปรุงแก้ไข
Act หมายถึง การนำผลการประเมินมาพัฒนาแผน อาจประกอบด้วย การนำผลการ ประเมินมาวิเคราะห์ว่ามีโครงสร้าง
หรือขั้นตอนการปฏิบัติงานใดที่ควร ปรับปรุงหรือพัฒนาสิ่งที่ดีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้นไปอีก และสังเคราะห์รูปแบบ
การดำเนินการใหม่ที่เหมาะสม สำหรับการดำเนินการ ในปีต่อไป
SWOT
1. Strengths (S) : จุดแข็ง จุดเด่น ขององค์กร
2. Weaknesses (W) : จุดอ่อน ข้อเสียเปรียบ ขององค์กร
3. Opportunities (O) : โอกาสในการดำเนินงานตามแผนงาน
4. Threats (T) : อุปสรรคที่อาจเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการดำเนินงาน
“คิดเป็น” (KIDPEN) เป็นปรัชญาพื้นฐานของ กศน.
เป็นกระบวนการที่เกิดจากแนวคิดของ ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ นักการศึกษาของไทยที่กล่าวว่า การจัดการศึกษาต้องการสอนคนให้คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น
คิดเป็น หมายถึง กระบวนการที่คนเรานำมาใช้ในการตัดสินใจ โดยต้องแสวงหาข้อมูลของตนเอง ข้อมูลของสภาพแวดล้อมในชุมชน
ข้อมูลทางวิชาการ แล้วนำมาวิเคราะห์หาทางเลือกในการตัดสินใจที่เหมาะสม มีความพอดีระหว่างตนเองและสังคม
ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น หมายถึง ผู้เรียนสามารถแก้ปัญหาได้สำเร็จตามเป้าหมายโดยใช้กระบวนการคิด ซึ่งมีข้อมูลของตนเอง
ข้อมูลของสภาพแวดล้อมในชุมชน ข้อมูลทางวิชาการ แล้วนำมาวิเคราะห์หาทางเลือกในการตัดสินใจที่เหมาะสม
มีความพอดีระหว่างตนเองและสังคม เป็นกระบวนการทางปัญญา
เกณฑ์การพิจารณาการคิดเป็น เน้นการเรียนรู้จากการทำโครงงานหรือการทำกิจกรรมโดยใช้โครงการเป็นฐานรวมทั้งสามารถสรุปผลของโครงงาน/โครงการได้