ค้นหาบทความในเว็บ

วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

รายงานการร่วมอบรมโครงการพัฒาคุณภาพการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน ด้านปรัชญาคิดเป็น

เมื่อวันที่ 29 -31 กรกฎาคม 2557 นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ได้เข้าร่วมอบรมโครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน ด้านปรัชญา..คิดเป็น  ณ สถาบัน กศน.ภาคกลาง โดย นายสังวาลย์ ชาญพิชิต.อดีต ผอ.กศน.จังหวัดสุโขทัย

วันที่ 29 กรกฎาคม 2557
บทบาทของ กศน.มีอย่างไรบ้าง การจัดกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต(การศึกษาตั้งแต่แรกเกิดจนวาระสุดท้ายของชีวิต)
การร่วมกระบวนการกลุ่ม โดยจัดกลุ่มเป็น 4 กลุ่ม ระดมความคิดจากหัวข้อที่ได้รับจากวิทยากร
การนำเข้าสู่บทเรียนช่วงบ่าย
การศึกษานอกระบบ คือ การศึกษาที่มีความยืดหยุ่น ยืดหยุ่นด้านอายุ ยืนหยุ่นด้านการแต่งตัว(การศึกษาอย่าไปทำลายล้างวัฒนธรรม)
การศึกษาตามอัธยาศัย การศึกษาเพื่อการดำเนินชีวิต กศน.เข้าไปส่งเสริม ยั่วยุ กระตุ้น การเรียนรู้
การปรับตัว การปรับตัว เข้าสังคมถ้าสังคมดี การปรับสังคมเข้าหาตัว ถ้าตัวดี การปรับตัวต้องดูไปเรื่อยๆโดยเฉพาะผู้บริหาร เมื่อมีข้อมูลพร้อม แนวทางพร้อมจึงประชุมเพื่อตั้งกติกาใหม่ในสิ่งที่ดีกว่า

วันที่ 30 กรกฎาคม
การสันทนาการ 20 นาที โดยกลุ่มที่ 2 การออกกำลังกาย
การจัดการศึกษาผู้ใหญ่ จิตวิทยาสำหรับผู้ใหญ่ ลักษณะครูผู้ที่สอนนักศึกษาผู้ใหญ่  ลักษณะนิสัยของผู้ใหญ่
การสันทนาการ 20 นาที โดยกลุ่มที่ 3 การออกกำลังกายโดยใช้โยคะ
การคิดเป็นระบบ การคิดจะทำต้องคิดทั้งระบบ การนำพานักศึกษาไปสัมผัสประสบการณ์จริง

วันที่ 31 กรกฎาคม
กระบวนการนันทนาการมีความสำคัญต่อสังคมไทยและการพบกลุ่ม ต้องมีส่วนร่วมทุกกลุ่ม ประกาศนียบัตรมีความสำคัญต้องเก็บรักษา 
การเรียนการสอน โดยการให้ออกมาทำกิจกรรมหรือทำโทษเมื่อมาสายจะได้ผลดีเมื่อใช้กิจกรรมนันทนาการเข้ามาเกี่ยวข้อง

- ครูกศน.ที่คิดเป็นจะจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างไร ? 
อย่าใช้การเรียนการสอน ใช้คำว่า ผู้เรียน ไม่ควรใช้นักเรียนหรือนักศึกษา ชุมชนคือ ห้องเรียน เรียนรู้จากการปฏิบัติ ภูมิปัญญาท้องถิ่น.
กศน.มีการจัดการเรียนรู้ที่แตกต่างจากในระบบโดยสิ้นเชิง ต้องใช้กระบวนการแบบ กศน.
- เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น
- ใช้เทคโนโลยีในการจัดกระบวนการเรียนรู้
- ให้ความเป็นกันเองกับผู้เรียน

- ครู กศน.อย่างไรที่สังคมไม่ต้องการ
- การโอ้อวดตัวเกินไป
- ขาดความรับผิดชอบ
- วางตัวไม่เหมาะสม

สรุปแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามปรัชญาคิดเป็น
- กระตุ้นให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์จากปัญหาและความต้องการของตนเอง
- ผู้เรียนมีส่วนร่วม

- เรียนรู้จากการอภิปราย
- เรียนรู้จากกระบวนการกลุ่ม
-เรียนรู้จากวิถีชีวิตและจากการทำงาน
- ให้ผู้เรียนเรียนรู้จากการทำโครงงาน
- เรียนรู้จากกรณีตัวอย่าง
- ส่งเสริมให้ผู้เรีนนใช้ข้อมูลอย่างเป็นระบบ
- นำเวทีชาวบ้านมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ปัญหา
- ส่งเสริมให้ผู้เรียนตัดสินใจในการแก้ปัญหาบนพื้นฐานของข้อมูล ตนเอง ชุมชน.วิชาการ

การทำงานไม่ใช่สั่งอย่างเดียว แต่ไม่สอน

มีผู้ร่วมเข้ารับการอบรมทั้งสิ้น 40 คน ใช้เวลาในการอบรมทั้งสิ้น 22 ชั่วโมง