ค้นหาบทความในเว็บ

วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

แผนการปฎิบัติงานประจำสัปดาห์ วันที่ 1 - 7 สิงหาคม 2559

แผนการปฎิบัติงานประจำสัปดาห์

วันที่
การปฎิบัติงาน

วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม 59
โครงการอบรมวิทยากรครู ค ประจำศูนย์ดิจิทัลชุมชน
  
วันอังคารที่ 2 สิงหาคม 59
ร่วมโครงการพัฒนา

วันพุธที่ 3 สิงหาคม 59
ประชุม KM
1. เรื่องสืบเนื่องจากการประชุม กศน.จังหวัด
ขยายผลจากเรื่องการอบรม (ปัญหา อุปสรรค วิธีการแก้ไข)
2. แนวทางการดำเนินการอบรมหลักสูตรดิจิตัล (หาข้อสรุปร่วมกัน)
- การออกการใช้เสียงประชามติ
- กกต.ค่าใช้จ่าย ตำบลละ 9,000 บาท ทำเบิกจ่ายภายในสิงหาคมนี้ (ครูเดือนดำเนินการ)
- ศูนย์ SME ยื่นขอ (ครูกุ๊กรวบรวม)
- ตรวจราชการ 17 สิงหาคม ปราณบุรี
- ครูประชาสัมพันธ์ให้นักศึกษาทราบ ออมสิน ธกส.
- ส่งเบิกทุกงบประมาณ 15 กันยายน 59
- ศูนย์ดิจิทัลชุมขน มีหลักสูตรแล้ว สามารถเป็นกลุ่มดียวกันได้ การยืมเงิน จัดภายใน 20 สิงหาคม
- เว็บไซด์ กศน.ตำบล
- กศน.ตำบล ทำเกณฑ์ประเมินใหม่
- การเบิกจ่ายการฝึกอบรมแก่ประชาชน
- โครงการอบรมเพิ่มประสิทธิการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง
- ยืมก่อนล่วงหน้า 5 วัน คืนเงิน 15 วัน
- N - NET 21 สิงหาคม ประกาศผล 20 กันยายน
- สอบเทียบระดับ 20 สิงหาคม ประจวบวิทยาลัย
- เฉลิมพระเกียรติพระเจ้าอยู่หัว ลงทะเบียนออนไลน์ปลูกต้นไม้ www. ........

- 5 สิงหา แถลงข่าว ปลูกวันที่ 9
- การเตรียมแจกจ่ายพันธ์ไม้ ให้ กศน.ประสานรับที่เทศบาล หรือ อบต.
- คุรุภัณฑ์ที่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่จำเป็นต้องซื้อใช้งบดำเนินงาน โดยขอสำนักก่อน
- ของบริจาค ลงทะเบียนคุม
- การประเมินสถานศึกษาสีขาว 31 สิงหา (ประชุม)
การเรียน การงาน
- อบรมจัดทำแผน 24 - 26 กันยายน เจ้าหน้าแผน ครู กศน.ตำบล บรรณารักษ์
- 8 กันยายน จัดกิจกรรมเรือนชบา จัดสรรงบมาให้กรณี กพร.หมด (คิดการจัดนิทรรศการ)
- นิเทศจากจังหวัดให้เซ็นเยี่ยม 
- พัฒนาบุคลากร เหมาะสมและประหยัด
- SAR ประเมินคุณภาพการศึกษา หากสงสัยจะลงมาประเมิน
- เดินทางไปราชการ แนบต้นเรื่อง ห้องพัก


3. แก้เอกสารส่งภายในวันที่ 9 สิงหาคม 2559
4. อ่านเอกสารงานที่เกษียน
5. เทียบระดับ
6. เรื่องการตรวจสอบวุฒิ (หาวิธีการแก้ปัญหาร่วมกัน)
7. สรุปโครงการ
8. เรื่องอื่น ๆ (การใช้งบอุดหนุน)
แนวทางการจัดกิจกรรมปีงบประมาณ 2560 กิจกรรมใดดีให้ต่อยอด สานต่อ กิจกรรมที่น่าจะเกิด กิจกรรมตามนโยบาย กิจกรรมที่ได้ประโยชน์ทั้งชุมชนทั้ง กศน.

วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม 59


วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม 59    
    


วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม 59
-

วันอาทิยต์ที่ 7 สิงหาคม 59
ออกเสียงลงประชามติ

วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ครูผู้ช่วย ร่วมประชุมปรึกษาหารือกับบุคลากร กศน.อำเภอ เรื่องการขอจัดตั้งงบปรับปรุงซ่อมแซมห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี"อำเภอบางสะพาน

เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2559 นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ครูผู้ช่วย ได้เชิญเจ้าหน้าที่แผน กศน.จังหวัดประจวบ เจ้าหน้าที่พัสดุ เจ้าหน้าที่งานบรรณารักษ์ร่วมประชุมปรึกษาหารือกับบุคลากร กศน.อำเภอ เรื่องการขอจัดตั้งงบปรับปรุงซ่อมแซมห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี"อำเภอบางสะพาน




รูปแปลนที่ต้องการจะให้เกิด




แผนการปฎิบัติงานประจำสัปดาห์ วันที่ 25 - 31 กรกฏาคม 2559

แผนการปฎิบัติงานประจำสัปดาห์

วันที่
การปฎิบัติงาน

วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม 59
โครงการอบรมวิทยากรครู ค ประจำศูนย์ดิจิทัลชุมชน
  
วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม 59
นำเอกสารส่งเบิก ส่ง กศน.จังหวัด

วันพุธที่ 27 กรกฎาคม 59
ประชุม KM
1. ให้แผนประชุมทำรายงานการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (นายกฤตชัย อรุณน์) งวดที่ 2 ผอ.กศน.อำเภอทุกอำเภอ
2. แผนทำรายงานผลรายงานการปฏิบัติเดือน มิถุนายน - กรกฏาคม 2559 และนำไปรายงานวันที่ 1 สิงหาคม 2559 
รูป แผน-ผล ปริมาณ คุณภาพ
3. การทำบันทึกข้อความที่ถูกต้อง (กรณี 2 แผ่นขึ้นไป)
4. ทำบันทึกข้อความคืนเงินทุกตำบล
5. ทำเล่มส่งผลงานดีเด่น (ทำมาแล้วผมจะช่วยดูให้อีกที มีเวลาประมาณ 15 วันในการทำ)
6. กศน.ตำบลใดต้องการซื้อวัสดุใดในการจัดการเรียนการสอนที่ยังขาด ให้ทำบันทึกข้อความมา 
7. ให้น้ำปูนทำงานทะเบียนตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1/59 เป็นต้นไปเพราะผมมีบางอย่างให้น้องเขาทำ
8.คำสั่งการจัดโครงการ ไม่มีอีกแล้ว

ทำแผนตั้งงบประมาณซ่อมแซมห้องสมุดประชาชน"เฉลิมราชกุมารี" ร่วมกับบุคลากร กศน.และแผนจังหวัด พัสดุจังหวัด และเจ้าหน้าที่งานอัธยาศัยจังหวัด เพื่อบรรจุไว้ในแผนงบลงทุนปีงบประมาณ 2561
วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม 59
ปฏิบัติงานในสำนักงาน
วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม 59     
    
ปฏิบัติงานในสำนักงาน

วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม 59
-

วันอาทิยต์ที่ 31 กรกฎาคม 59
-

วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

แผนการปฎิบัติงานประจำสัปดาห์

วันที่
การปฎิบัติงาน

วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม 59

  
วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม 59


วันพุธที่ 20 กรกฎาคม 59


วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม 59

วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม 59     
    


วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม 59
-

วันอาทิยต์ที่ 24 กรกฎาคม 59
-

วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ครูผู้ช่วยได้นำคณะครู ร่วมประชุมการเตรียมการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ

เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2559 นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ครูผู้ช่วยได้นำคณะครู  กศน.ตำบล ร่วมประชุมการเตรียมการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ "กอ.รมน.ร่วมใจภักดิ์ รักษ์องค์ราชา องค์ราชินี" ณ ห้องประชุมเกาะหลัก ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นประธานในการประชุม 



วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

การปฏิบัติงาน กศน.อำเภอบางสะพาน ประจำเดือนกรกฎาคม 2559

การปฏิบัติงาน กศน.อำเภอบางสะพาน ประจำเดือนกรกฎาคม 2559

วัน เดือน ปี
การปฏิบัติงาน กศน.อำเภอบางสะพาน ที่สำคัญ
1 กรกฎาคม 2559
เรียนรู้ปนิธาน ตามรอยพระยุคลบาท
2 กรกฎาคม 2559
3 กรกฎาคม 2559
4 กรกฎาคม 2559


5 กรกฎาคม 2559

6 กรกฎาคม 2559

7 กรกฎาคม 2559

8 กรกฎาคม 2559


9 กรกฎาคม 2559
10 กรกฎาคม 2559

11 กรกฎาคม 2559

12 กรกฎาคม 2559

13 กรกฎาคม 2559

14 กรกฎาคม 2559

15 กรกฎาคม 2559
16 กรกฎาคม 2559
17 กรกฎาคม 2559
18 กรกฎาคม 2559
19 กรกฎาคม 2559
20 กรกฎาคม 2559
21 กรกฎาคม 2559

22 กรกฎาคม 2559
23 กรกฎาคม 2559
24 กรกฎาคม 2559
25 กรกฎาคม 2559
26 กรกฎาคม 2559
27 กรกฎาคม 2559

นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ครูผู้ช่วย ร่วมประชุมปรึกษาหารือกับบุคลากร กศน.อำเภอ เรื่อการขอจัดตั้งงบปรับปรุงซ่อมแซมห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี"อำเภอบางสะพาน

28 กรกฎาคม 2559
29 กรกฎาคม 2559
30 กรกฎาคม 2559
31 กรกฎาคม 2559


แผนการปฎิบัติงานประจำสัปดาห์ วันที่ 18 - 24 กรกฎาคม 2559

แผนการปฎิบัติงานประจำสัปดาห์

วันที่
การปฎิบัติงาน

วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม 59
วันหยุด
  
วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม 59
วันหยุด

วันพุธที่ 20 กรกฎาคม 59
วันหยุด

วันพฤหัสบดีที่21 กรกฎาคม 59
เข้าร่วมประชุมการดำเนินการจัดกิจกรรม "รวมใจภักดิ์ ปลูกต้นไม้ถวายองค์ราชา องค์ราชนี" ณ ห้องประชุมเกาะหลัก ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม 59     
    
ปฏิบัติงานในสำนักงาน

วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม 59
-

วันอาทิยต์ที่ 24 กรกฎาคม 59
-

วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

เอกสารประกอบการพิจารณา การคัดเลือกบ้านหนังสือชุมชนต้นแบบ ปีงบประมาณ 2559




คำนำ
ในปีงบประมาณ 2559 ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางสะพาน       ได้สานต่อโครงการ  บ้านหนังสืออัจฉริยะเป็นบ้านหนังสือชุมชนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้มีจิตอาสาที่มีบ้านในการดำเนินงานส่งเสริมการอ่านภายใต้ศักยภาพของตนที่มีอยู่ตามความสมัครใจ เพื่อจะสร้างนิสัยรักการอ่านให้เกิดขึ้นแก่ประชาชนในชุมชน โดยที่ สำนักงาน กศน.จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้เข้ามาร่วมส่งเสริมสนับสนุน ให้คำปรึกษา และแนะนำแนวทางการปฏิบัติ
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางสะพาน  หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารประกอบการพิจารณาการคัดเลือกบ้านหนังสือชุมชนต้นแบบเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าและเป็นแบบอย่างให้กับบ้านหนังสือชุมชนอื่น ๆ ได้นำไปใช้ในการขับเคลื่อนบ้านหนังสือชุมชนเพื่อส่งเสริมให้การอ่าน ให้เป็นส่วนหนึ่งของวิถีการดำเนินชีวิต และเกิดเป็นวัฒนธรรมการอ่านของชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป


กศน.อำเภอบางสะพาน















สารบัญ
หน้า
คำนำ
สารบัญ
1. ข้อมูลทั่วไป
2. ลักษณะกายภาพ
          2.1 มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการอ่านและการเรียนรู้  มีแสงสว่างที่เพียงพอ
          2.2 สะดวกต่อการใช้บริการ  เข้าใช้ได้ง่าย
          2.3 มีสิ่งอำนวยความสะดวก  มีที่นั่งเพียงพอ
3. การบริหารจัดการ
          3.1 มีผู้ดูแลและให้บริการ
          3.2 ผู้ให้บริการมีจิตบริการ
          3.3 มีการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม มีแนวทางการปรับปรุง พัฒนาเพื่อความเข้มแข็งและยั่งยืน
4. สื่อส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้
          4.1 มีจำนวนเพียงต่อผู้ใช้บริการ
          4.2 ตรงตามความต้องการ
          4.3 อยู่ในสภาพดี สามารถให้บริการได้
5. กิจกรรมและการให้บริการ
          5.1 เป็นกิจกรรมที่แนะนำ กระตุ้นให้เกิดการอ่านและเรียนรู้
          5.2 มีกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและเรียนรู้
6. ผลการดำเนินงาน
          6.1 ความต่อเนื่องในการให้บริการของผู้รับบริการ
          6.2 มีจำนวนผู้รับบริการเพิ่มในแต่ละช่วงเวลา
6.3 มีเครือข่ายร่วมดำเนินการ
ภาคผนวก
คณะผู้จัดทำ





เอกสารประกอบการพิจารณา
การคัดเลือกบ้านหนังสือชุมชนต้นแบบ
ปีงบประมาณ  2559

1. ข้อมูลทั่วไป
1.1 ที่ตั้ง 9/2  หมู่  5  ตำบลพงศ์ประศาสน์  อำเภอบางสะพาน  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
1.2 ชื่อ-สกุล นางกาญจนสิริ  เพ็ชรจะบุตร    วันเดือนปีเกิด 19  กรกฎาคม  2507 เจ้าของ/บ้านหนังสือชุมชน  อายุ  52  ปี อาชีพ ทำสวน  อยู่บ้านเลขที่  9/2  หมู่ 5 ตำบลพงศ์ประศาสน์อำเภอบางสะพานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์  รหัสไปรษณีย์ 77140 โทรศัพท์ 0822950667วุฒิการศึกษา ป.4  

2. ลักษณะกายภาพ
          2.1 บริเวณที่ตั้งของบ้านหนังสือชุมชน
ที่ตั้งของบ้านหนังสือชุมชน เป็นของ นางกาญจนสิริ  เพ็ชรจะบุตร หรือที่เพื่อนบ้านเรียกกันติดปาก ว่า ป้าเขียว นั้น มีลักษณะเป็นศาลาไม้ชั้นเดียว ไม้ปูพื้น หลังคามุงจาก เปิดโล่งเพื่อให้มีแสงสว่างที่เพียงพอและลมพัดผ่านตลอดเวลา ในตัวศาลาด้านหนึ่งมีการทำผนังโดยใช้ตับจากเป็นฉากกั้นและเปลือกมะพร้าวมาตกแต่งเป็นดอกไม้ ให้ดูสวยงาม ลักษณะเหมือนมองเข้าไปในกระจก บริเวณด้านหลังมีการขุดบ่อน้ำเลี้ยงปลา ซึ่งตัวบริเวณศาลาจะได้รับความชื่นจากบ่อ ทำให้อุณหภูมิภายในตัวศาลาไม่ร้อนเกินไป มี โทรทัศน์และระบบกล่องรับสัญญาณผ่านดาวเทียม มีชั้นวางหนังสือที่ได้รับบริจาคจากชุมชน และชั้นวางหนังสือพิมพ์ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนของ กศน.เอง  มีหนังสือมากมายหลากหลายสาระ ที่ได้รับบริจาคจากแหล่งต่าง ๆ เช่น หนังสือจากการให้นักศึกษา กศน.บริจาคโดยผ่านการทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต หนังสือหมุนเวียนจากห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” หนังสือที่ชาวบ้านบริจาคผ่านโครงการบรรณสัญจร เป็นต้น และบ้านของป้าเขียนยังเป็นแหล่งพบปะพูดคุยระหว่างผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านบริเวณนั้นอยู่เสมอ ๆ เพราะในพื้นที่ มีผู้คนเข้ามาอยู่อาศัยและประกอบอาชีพเกษตรกรรมและทำสวน  ดังนั้นทำสภาพสิ่งแวดล้อมทางกายภาพบริเวณบ้านหนังสือชุมชนมีความเหมาะสม ร่มรื่นเหมือนมีสวนปกคลุมโดยรอบ มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการอ่านและการเรียนรู้  ส่งผลถึงความรู้สึกของบุคคลที่มาใช้บริการที่ไม่สามารถอธิบายเป็นคำพูดได้  และยังสะท้อนสภาพชุมชนชนบท ที่ใครมาแวะถึงเรือนชาน เจ้าบ้านก็ต้อนรับขับสู้ เป็นอย่างดี




          2.2 ความสะดวกต่อการใช้บริการ  เข้าใช้ได้ง่าย
                มีความสะดวกต่อการใช้บริการของประชาชน  ประชาชนสามารถเข้าใช้ได้ง่าย ซึ่งวัตถุประสงค์ของบ้านหนังสือชุมชน เน้นกลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มเป้าหมายที่เรียนอยู่ในระบบการศึกษา เช่น เยาวชน นักเรียน นักศึกษา สามารถมาใช้บริการในสถานที่เอื้ออำนวยในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ และกลุ่มเป้าหมายที่ไม่ได้เรียนอยู่ในระบบการศึกษา เช่น ชาวสวน ชาวไร่ ประชาชนที่อยู่ในชนบท ที่ยังไม่มีแหล่งความรู้ ไม่มีแหล่งการอ่าน ไม่มีหนังสือดี ๆ ให้อ่าน ซึ่งบ้านหนังสือชุมชน จะส่งเสริมให้คนอ่านหนังสือ ทำให้ประชาชนจะเข้าถึงการอ่าน ด้วยความสะดวก และเท่าเทียมกัน มีหนังสือที่มีคุณภาพให้ประชาชนอ่าน จะเป็นการกระตุ้นและส่งเสริมนิสัยรักการอ่านให้กับประชาชน และผู้ที่อาศัยอยู่ในถิ่นทุรกันดาร จึงเน้นการส่งเสริมให้มีการสร้างบ้านหนังสือชุมชนให้ตั้งอยู่ศูนย์กลางของหมู่บ้านที่มีคนมาพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน ซึ่งบ้านหนังสือชุมชนของบ้านป้าเขียว    มีบริเวณที่ตั้งอยู่เป็นจุดศูนย์กลางของหมู่บ้านที่มีคนมาพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่หลากหลายรูปแบบ มีการจัดอาชีพตามความสนใจให้กับประชาชนในพื้นที่ และสะดวกต่อการมาใช้บริการเข้าใช้ได้ง่ายมีการให้บริการการอ่าน บริการยืม-คืน หนังสือ การหมุนเวียนสื่อทำให้ประชาชนมีโอกาสได้อ่านหนังสือ มากขึ้น

          2.3 มีสิ่งอำนวยความสะดวก  มีที่นั่งเพียงพอ
บ้านหนังสือชุมชน บ้านป้าเขียว มีสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับผู้มารับบริการบ้านหนังสือชุมชนอย่างเพียงพอทั้งเก้าอี้ โต๊ะอ่านหนังสือ ในบ้านหนังสือชุมชน และบริเวณศาลาที่พัก รวมทั้งทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ เช่นโทรทัศน์ระบบกล่องรับสัญญาณผ่านดาวเทียม เพื่อให้ผู้มารับบริการได้หาความรู้จากสื่อโทรทัศน์ พบปะ พูดคุยในด้านข่าวสารต่าง ๆ ที่บ้านของท่านอย่างเป็นกันเอง เรียบง่าย

3. การบริหารจัดการ
          3.1 มีผู้ดูแลและให้บริการ
ด้านการบริหารจัดการโครงการบ้านหนังสือชุมชนนี้ นางกาญจนสิริ  เพ็ชรจะบุตร หรือ ป้าเขียวเป็นผู้ดูแลบ้านหนังสือเป็นแกนหลัก  โดยมีอาสาสมัครบ้านหนังสือชุมชนที่คอยหมุนเวียนกันเข้าไปช่วยเหลือด้านการให้บริการ ด้านการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เสมอ ๆ เพราะบ้านหนังสือชุมชนบ้านป้าเขียว อยู่บนพื้นฐานในการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน คือ ไม่ต้องมีงบประมาณสร้างอาคารสถานที่ แต่เป็นการใช้ทรัพยากรที่มีในชุมชน ทั้งสถานที่ และบุคลากร  โดยทาง กศน.จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้ให้ความสำคัญกับการจัดกิจกรรมดังกล่าว จึงได้มอบหมายให้ กศน.อำเภอบางสะพาน ดูแลและรับผิดชอบบ้านหนังสือชุมชนในเขตอำเภอของตนเอง โดยมอบให้ กศน.ตำบล ทำหน้าที่ดูแล และประสานงาน ให้บ้านหนังสือชุมชนมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม โดยครูอาสาสมัคร กศน.ตำบล จะประสานงานกับอาสาสมัครในหมู่บ้านลงพื้นที่เพื่อจัดกิจกรรมให้เยาวชนและประชานชนในพื้นที่มีนิสัยรักการอ่านผ่านกิจกรรมส่งเสริมการอ่านต่าง ๆ ที่ กศน.จัดขึ้น เช่น    มีการประกวดการอ่าน การเขียน และการเล่าเรื่อง โดย ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี”  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ กศน.อำเภอบางสะพาน  เป็นศูนย์กลางในการหมุนเวียนหนังสือ ไปยังบ้านหนังสือชุมชนแต่ละแห่ง โดย กศน.ให้ความสำคัญกับหนังสือทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นหนังสือนิยาย อ่านนอกเวลา หนังสือธรรมะ ฯลฯ โดยจัดกิจกรรมการหมุนเวียนหนังสือในกับบ้านหนังสือชุมชน บ้านป้าเขียว  และยังจัดกิจกรรมบรรณสัญจร โดยรับบริจาคหนังสือจากบุคคลภายนอก และเพื่อนบ้านของป้าเขียวที่มักจะนำหนังสือต่าง ๆ ที่น่าสนใจมามอบให้กับบ้านหนังสือชุมชน บ้านป้าเขียว และการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านการรู้หนังสือ ทำให้ชาวบ้านได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ต่าง ๆ ที่ชาวบ้านควรได้รับ และในอนาคต กศน. คาดหวังว่าจะจัดตั้งห้องสมุดหมู่บ้านที่มีครบวงจร

          3.2 ผู้ให้บริการมีจิตบริการ
งานบริการเป็นหัวใจสำคัญของบ้านหนังสือชุมชน เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้ทุกระดับ สำหรับงานบริการของบ้านหนังสือ ด้วยความที่ป้าเขียวเป็นบุคคลที่ใจดี มีจิตอาสา แม้อาชีพของป้าเขียวคือการทำสวน แต่ท่านก็อุทิศเวลาส่วนตัวเป็น อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน และมีความยินดีมากตอนที่ทางครู กศน.ตำบล    พงศ์ประศาสน์ ได้ไปติดต่อให้บ้านท่านเป็นบ้านหนังสือชุมชน โดยป้าเขียวได้ช่วยจัดเตรียมสถานที่ จัดหาโต๊ะ  เก้าอี้ สำหรับนั่งอ่านหนังสือที่เพียงพอ  มีมุมโทรทัศน์  มีมุมกาแฟน้ำดื่มที่ให้บริการฟรีและแว่นตาสำหรับผู้สูงอายุเพื่ออ่านหนังสือด้วยความเต็มใจและไม่จำกัดเวลาในการเข้าใช้บริการ และมีส่วนสำคัญที่ทำให้เด็ก เยาวชนผู้ปกครองและชุมชน มาใช้บริการบ้านหนังสือมากขึ้น งานบริการเป็นงานที่ป้าเขียวทำเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ การอ่าน รวมทั้งการจัดอาชีพในกับกลุ่มสนใจ  และบางครั้งยังจัดนิทรรศการความรู้ที่น่าสนใจ ทันต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ให้ประชาชนเกิดการเรียนรู้ รู้จักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ใช้ประโยชน์จากการอ่านเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ตลอดจนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี  ซึ่งป้าเขียวเป็นเจ้าของบ้านที่มีจิตอาสา เสียสละบริเวณบ้านเพื่อใช้ดำเนินการในการจัดกิจกรรมของบ้านหนังสือชุมชนและยังให้บริการดูแลเอาใจใส่แก่ผู้รับบริการ และการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ  เห็นความสำคัญของการอ่านส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้กับผู้รับบริการอย่างเต็มที่ เมื่อท่านมีเวลามักจะจัดกิจกรรมหรือเชิญชวนให้ประชาชนในชุมชนมาทำกิจกรรมที่บ้านหนังสือของตนเองอยู่เสมอ



          3.3 มีการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม
มีแนวทางการปรับปรุง พัฒนาเพื่อความเข้มแข็งและยั่งยืน กระตุ้นให้เห็นความสำคัญของการอ่านมากขึ้น โดยมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ที่มีความหลากหลาย สนุกสนาน การใช้การเล่นเกม เพื่อตอบคำถามเมื่อการอ่านจบลงว่าผู้อ่านเข้าใจเนื้อเรื่องอย่างไรบ้าง  การทายภาพ การเล่านิทาน ฯลฯ ยกตัวอย่างเช่น สนทนาเกี่ยวกับหนังสือที่อ่าน ทำให้ผู้รับบริการเห็นว่าปัจจุบันนี้โลกได้มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก เราจะมาใช้ความรู้สึกเดิม ๆ ไม่ได้แล้ว ซึ่งกิจกรรมนี้จะทำให้ชาวบ้านรู้ เข้าใจ และปรับเปลี่ยนทัศนคติ การคิดของตนเองให้สนใจการอ่านมากขึ้น ถ้าเราปลูกฝังในส่วนนี้ จะทำให้เราพัฒนาคนโดยใช้ต้นทุนต่ำ แต่มีประโยชน์มหาศาล  โดยแนวทางการส่งเสริมการอ่านนี้ควรเริ่มตั้งแต่เด็กเล็ก ๆ ปลูกฝังการอ่านให้แก่เขา เพื่อที่จะทำให้มีนิสัยรักการอ่านจนเป็นความชอบ และอ่านหนังสือทุกประเภท ซึ่งป้าเขียวก็ได้ช่วยรณรงค์ให้ชาวบ้านหันมาอ่านหนังสือมากขึ้นด้วย

4. สื่อส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้
          4.1 มีจำนวนเพียงต่อผู้ใช้บริการ
          สื่อที่ให้บริการในบ้านหนังสือชุมชน เป็นสื่อที่ตรงกับความต้องการและเหมาะสมกับประชาชนในชุมชนที่มีความหลากหลาย เช่น หนังสือพิมพ์รายวัน นิตยสาร วารสาร หนังสือสำหรับเด็ก ผู้สูงอายุ หนังสือเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ สำหรับผู้ต้องการทำอาชีพ ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีสื่อที่คนในชุมชนควรรู้ เช่น หนังสือกฎหมายสำหรับประชาชนหนังสือเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย และมีการหมุนเวียนสื่ออยู่สม่ำเสมอเพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้รับบริการ อยู่ตลอด
          4.2 ตรงตามความต้องการ
สื่อที่ให้บริการที่บ้านหนังสือเป็นสื่อที่ตรงกับความต้องการและเหมาะสมกับคนในชุมชน เพราะได้จัดทำแบบสำรวจความต้องการสื่อ ให้กับคนในชุมชนได้สำรวจความต้องการ และกศน.จัดหาสื่อที่มีความหลากหลาย เช่น หนังสือพิมพ์รายวัน นิตยสาร วารสาร หนังสือสำหรับเด็ก ผู้สูงอายุ หนังสือเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ ฯลฯ มาหมุนเวียนสื่อสู่บ้านหนังสือชุมชน อยู่ตลอด
          4.3 อยู่ในสภาพดี สามารถให้บริการได้
          สื่อที่ให้บริการที่บ้านหนังสือต้องอยู่ในสภาพที่ดีพร้อมที่จะให้บริการตลอดเวลา  มีการซ่อมแซมสื่อที่ชำรุดก่อนการให้บริการ อยู่ตลอด


5. กิจกรรมและการให้บริการ
          5.1 เป็นกิจกรรมที่แนะนำ กระตุ้นให้เกิดการอ่านและเรียนรู้
          นอกจากการให้บริการการอ่านจากสื่อที่มีอยู่ในบ้านหนังสือชุมชนแล้ว ยังมีการจัดกิจกรรมสร้างเสริมการอ่านและการเรียนรู้เพิ่มเติมตามความต้องการของคนในชุมชน การสำรวจข้อมูลความต้องการสื่อ/อุปกรณ์ต่าง ๆ ผู้ใช้บริการแจ้งความต้องการกับผู้ให้บริการบ้านหนังสือชุมชนและมีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมบ้านหนังสือชุมชน โดยผู้ใหญ่บ้านแจ้งในที่ประชุมประจำเดือนนำผลงานการจัดกิจกรรมของบ้านหนังสือ/ชิ้นงานของกลุ่มเป้าหมายที่มาใช้บริการเผยแพร่ในกับประชาชนในพื้นที่ทราบ เช่น  กิจกรรมต้นไม้พูดได้ (สุภาษิตคำพังเพย) กิจกรรมศิลปะประดิษฐ์  การพับใบเตย การทำเหรียญโปรยทาน งานประดิษฐ์จากเศษวัสดุเหลือใช้ เป็นต้น

          5.2 มีกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและเรียนรู้
มีกิจกรรมที่เกิดขึ้นตามสภาพวิถีชีวิตของชุมชน จากการอ่าน และการฝึกปฏิบัติ กิจกรรมศิลปะประดิษฐ์  เช่น การพับใบเตย การทำเหรียญโปรยทาน งานประดิษฐ์จากเศษวัสดุเหลือใช้กิจกรรมส่งเสริมดูแลสุขภาพ  กิจกรรมส่งเสริมอาชีพการจัดมุมส่งเสริมการอ่าน จัดมุมส่งเสริมการอ่านอย่างหลากหลาย เช่น จัดซุ้มศาลาฯ ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” สนับสนุนหมุนเวียนหนังสือมาให้บริการ ตลอดจนการจัด/สนับสนุนการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน เช่น การเล่าเรื่องจากภาพ

6. ผลการดำเนินงาน
          6.1 ความต่อเนื่องในการให้บริการของผู้รับบริการ
จุดเด่นของบ้านหนังสือชุมชนของบ้านป้าเขียว คือเปิดให้บริการตลอดทั้งวัน สามารถมาใช้บริการได้ตลอดเวลา  มีการบริการยืม - คืนหนังสือ พบปะพูดคุย ดูรายการ สาระคดี ความรู้ต่าง ๆ ทางโทรทัศน์ผ่านกล่องรับสัญญาณดาวเทียม  มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านโดยการนำความรู้ที่อ่านจากนิยาย  วารสาร และยังมีการเรียนรู้ทำอาชีพที่น่าสนใจและเป็นที่ต้องการของตลาดและผู้บริโภค โดยผู้มารับบริการมาฝึกทำ จัดรวมกลุ่มทำอาหาร สิ่งประดิษฐ์  เมื่อเกิดความชำนาญก็มีทำออกจำหน่ายบ้างเป็นครั้งคราว ทำให้เกิดรายได้ต่อครอบครัวด้วย





          6.2 มีจำนวนผู้รับบริการเพิ่มในแต่ละช่วงเวลา
          จำนวนผู้รับบริการเฉลี่ยเดือนละ  50  คน

          6.3 มีเครือข่ายร่วมดำเนินการ
การดำเนินงานบ้านหนังสือชุมชน เกิดจากการความร่วมมือของชุมชนและเครือข่ายโดยแท้จริง โดยมี กศน. ให้การสนับสนุน ในทุกขั้นตอนของการดำเนินงาน เช่น การบริหารจัดการ การรับบริจาคสื่อ การหมุนเวียนสื่อการร่วมจัดกิจกรรม (ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมให้ข้อเสนอแนะ) การระดมทรัพยากร การประชาสัมพันธ์
7. ภาพประกอบ
ลักษณะทางกายภาพภายในบ้านหนังสือชุมชน
 
















ครูผู้ดูแลและเจ้าของบ้านผู้ใจดี




บรรยากาศในการใช้บริการ
 









บรรยากาศในการใช้บริการ
 








บรรยากาศในการใช้บริการ
 









ลักษณะทางกายภาพของบ้านหนังสือชุมชน
 

ผู้มาใช้บริการบ้านหนังสือชุมชนกับการดูแลอย่างดีและเป็นกันเองจากใจป้าเขียว
 




























มุมน่ารักๆ ภายในบ้านหนังสือชุมชน
ผู้มาใช้บริการบ้านหนังสือชุมชนกับการดูแลอย่างดีและเป็นกันเองจากใจป้าเขียว
 






















































กิจกรรมสร้างเสริมการเรียนรู้  “จัดอาชีพตามความต้องการของพื้นที่ 
หลักสูตรการทำน้ำพริกเผา”   ที่บ้านหนังสือชุมชน
 






























ภาคผนวก













คำสั่ง กศน.อำเภอบางสะพาน
เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกบ้านหนังสือชุมชนต้นแบบ ปนะจำปีงบประมาณ 2559


ประกาศผลประเมินการคัดเลือกบ้านหนังสือชุมชน ปีงบประมาณ 2559



จุดเด่น และ จุดที่ควรพัฒนา ของคณะกรรมการลงประเมินระดับจังหวัด















คณะผู้จัดทำ

ที่ปรึกษา
          นางโกศล         หลักเมือง                   รองผู้อำนวยการ สำนักงาน กศน.จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ สำนักงาน กศน.จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
นายปฐมพร      ธัมมาภิรัตตระกูล           ครูผู้ช่วยรักษาหารในตำแหน่งผู้อำนวยการ
                                                กศน.อำเภอบางสะพาน
นางมณีรัตน์      อัจริยพันธกุล              ศึกษานิเทศก์ กศน.จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
นายสมบรณ์      เขียนวาด                   ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา
                                                กศน.อำเภอบางสะพาน

                  
คณะทำงาน
          นายปฐมพร                ธัมมาภิรัตตระกูล          ครูผู้ช่วย
          นายมณี                    ปัตเมฆ                     พนักงานพิมพ์ดีด ระดับ ส ๓
          นางสาวทัณฑิมา           สุขเกษม                    ครูอาสาสมัคร
          นางสาวอรุณรัตน์          จิตรมั่น                     ครูอาสาสมัคร
          นายกำจัฐ                  กว้างขวาง                  ครู กศน.ตำบลกำเนิดนพคุณ
          นางสาวงามเพ็ญ           เจริญชีพ                             ครู กศน.ตำบลธงชัย
          นางสุชาวดี                 ใบภูทอง                    ครู กศน.ตำบลพงศ์ประศาสน์
          นางภารณี                  ก้านเหลือง                 ครู กศน.ตำบลแม่รำพึง
         
ข้อมูล
          นางสุชาวดี                 ใบภูทอง                    ครู กศน.ตำบลพงศ์ประศาสน์
          นางกาญจนสิริ             เพ็ชรจะบุตร               อาสาสมัครบ้านหนังสือชุมชน
รวบรวมข้อมูลและจัดพิมพ์
          นายปฐมพร                ธัมมาภิรัตตระกูล          ครูผู้ช่วย
          นางสาวอรุณรัตน์          จิตรมั่น                     ครูอาสาสมัคร
          นางสาวงามเพ็ญ           เจริญชีพ                             ครู กศน.ตำบลธงชัย