กศน. อำเภอบางสะพาน กับการขับเคลื่อน “สถานศึกษาพอเพียง”
ความเป็นมา
กศน. อำเภอบางสะพานได้นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
การบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติในทุกระดับได้อย่างมี
ประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลเกิดการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการดำเนินชีวิต
บนพื้นฐานของหลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่อง
วัตถุประสงค์
เพื่อนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาดำเนินการในกศน. อำเภอบางสะพานในด้านต่างๆ ด้านคือ
1. ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา
2. ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน
3. ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
4. ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา
วิธีดำเนินงาน
1. กำหนดโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไว้ในแผนปฏิบัติการประจำปี
2.แต่งตั้งมอบหมายงานมีผู้รับผิดชอบ
3.จัดกิจกรรมตามโครงการให้สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4.การติดตามประเมินผล
ผลการดำเนินงาน “สถานศึกษาพอเพียง” กศน. อำเภอบางสะพาน
1. ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา
1.1 การวางแผน
- เขียนโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
-จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ
- จัดทำแผนงาน/โครงการเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- จัดทำแผนการนิเทศกิจกรรม/โครงการ
1.2 วิชาการ
- จัดทำแผนการเรียนรู้บูรณาการระดับประถมศึกษา ม.ต้นและม.ปลาย
1.3 อาคารสถานที่
- จัดตั้งศูนย์เรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- มีการจัดภูมิทัศน์ที่สวยงามสะอาด
1.4 งบประมาณ
- ใช้โปรแกรม e-budget ควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณ
- รายงานการใช้จ่ายงบประมาณประจำเดือน
- รับบริจาควัสดุ อุปกรณ์เช่น ต้นไม้ ป้ายประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
1.5 ความสัมพันธ์กับชุมชน
- มีการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา
- จัดทำเวทีประชาคม
- จัดทำแผนปฏิบัติงานจัดการศึกษาสายอาชีพ
- ปลูกพืชผักสวนครัว
- เชิญผู้รู้/ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาเป็นวิทยากรวิชาชีพ
|
การจัดสวนหย่อมของ กศน.ตำบลเทศบาลตำบลกำเนิดนพคุณ |
2. ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน
2.1การบูรณาการสู่การเรียนการสอน
- กำหนดเนื้อหาเศรษฐกิจพอเพียงไว้ในหลักสูตรสถานศึกษา
- จัดทำแผนการเรียนรู้บูรณาการระดับประถมศึกษา ม.ต้นและม.ปลาย
2.2 จัดกิจกรรมการเรียนการสอน
- จัดทำแผนการเรียนรู้บูรณาการระดับประถมศึกษา ม.ต้นและม.ปลาย
- บันทึกหลังการสอน
2.3สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ชุดนิทรรศการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- แผ่นพับ แผ่นปลิว
- ใบความรู้
- วีดิทัศน์
- เอกสารเสริมความรู้
- ฐานการเรียนรู้อาชีพ
2.4 ผู้เรียนมีความรู้ การปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ประเมินผลจาก
- ใบงาน
- การทำบัญชีครัวเรือน
- พฤติกรรมการดำเนินชีวิต
3. ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
3.1 การแนะแนว
แนะแนวเรื่องต่างๆเช่นการศึกษาต่อการประกอบอาชีพเป็นต้น
3.2 กิจกรรมนักศึกษา
จัดทำโครงการพัฒนาผู้เรียน ดังนี้
-ปลูกฝังจิตสำนึกเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- ด้านคุณธรรม จริยธรรม
- ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- จัดกิจกรรมลูกเสือ
3.3 กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
- จัดตั้งองค์กรนักศึกษาระดับอำเภอ
- กำหนดให้นักศึกษาจัดทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต
4. ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา
การพัฒนาบุคลากรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- สร้างความรู้ ความเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- จัดส่งบุคลากรเข้ารับการอบรม สัมมนา และศึกษาดูงาน
- จัดทำบัญชีครัวเรือน
- มอบหมายให้รับผิดชอบฐานการเรียนรู้อาชีพ
- มอบหมายให้เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ฐานการเรียนรู้อาชีพ
- จัดทำโครงการตุ้มโฮมยามเที่ยง
|
ศน.มณีรัตน์
อัจฉริยพันธกุล จากสนง.กศน.จังหวัดประจวบฯ และคณะ นิเทศ
การจัดกระบวนการเรียนรู้ การสอนที่น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้
|
|
|
ศน.มณีรัตน์
อัจฉริยพันธกุล จากสนง.กศน.จังหวัดประจวบฯ และคณะ นิเทศ
การจัดกระบวนการเรียนรู้ การสอนที่น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้
|
|
|
ด้านที่ 5 ด้านผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ
5.1 คุณลักษณะของสถานศึกษา
- สะอาด ร่มรื่น เป็นระเบียบ ปลอดภัย เอื้อต่อการเรียนรู้
5.2 ผู้บริหารสถานศึกษา
- ใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงาน
- มีเหตุมีผล
- ใช้ชีวิตอย่างพอประมาณกับศักยภาพของตน
5.3 บุคลากรของสถานศึกษา
- มีการแบ่งปัน สามัคคี ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน
- ใช้ชีวิตอย่างพอประมาณกับศักยภาพของตน
5.4 ผู้เรียน
- มีการแบ่งปัน สามัคคี ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน
- ใช้ชีวิตอย่างพอประมาณกับศักยภาพของตน